เรียนรู้วิธีต่อตัวหน่วงเวลารุ่นW-2PS |
![]() |
![]() |
![]() |
เขียนโดย Administrator |
วันพฤหัสบดีที่ 03 กันยายน 2015 เวลา 08:00 น. |
เรียนรู้วิธีต่อตัวหน่วงเวลารุ่นW-2PS ตัวหน่วงเวลาหรือTimeDelay มีไว้สำหรับหน่วงเวลาไว้ก่อนสักระยะหนึ่ง 1วินาทีถึง5นาที เหตุผลก็เพื่อป้องกันการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องทำงานเร็วเกินไป เช่นมอเตอร์ของแอร์หรือตู้เย็น เมื่อมอเตอร์หยุดทำงานอาจเป็นเพราะไฟดับหรือปิดสวิทไฟ ถ้ามอเตอร์เริ่มทำงานใหม่แรงดันน้ำยาที่อยู่ภายในยังมีแรงดันสูงอยู่ การทำงานของมอเตอร์จะหนักมากอาจสต๊าทไม่ไหวทำให้มอเตอร์ไหม้ได้ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องหน่วงเวลาไว้สักพักเพื่อให้แรงดันภายในลดลงก่อนครับ ช่างโหน่งลองหาตัวหน่วงเวลาที่มีขายทั่วไปมาทดลองใช้งานมี่ราคาที่ไม่แพงอยู่คือรุ่นW-2PSหรือลักษณะใกล้เคียงกัน ลองแกะออกดูภายในมีวงจรอิเลคทรอนิกส์ควบคุมการทำงาน แต่เมื่อศึกษาหลักการทำงานแล้วลักษณะวงจำทำงานเชื่อมต่อเป็นสะพานไฟโดยใช้ตัวSCRเป็นสวิทปิดและเปิด ก่อนที่จะเปิดจะมีวงจรหน่วงเวลาโดยใช้คอนเดนเซอร์และรีซิตเตอร์ต่ออุกรมกันเพื่อตั้งค่าเวลาที่ต้องการหน่วงครับ. ............................................... ............................................... รีซิตเตอร์ค่าเดิมอยู่ที่680Kหน่วงเวลาอยู่ที่3นาที ซึ่งนานเกินไปสำหรับการใช้งานของช่างโหน่ง เราจึงเปลี่ยนค่ารีซิตเตอร์ตัวนี้ใหม่เป็น100Kหน่วงเวลาที่30วินาที่ครับ. ................................................ ................................................ การต่อสายไฟ ตัดสายไฟออกด้านหนึ่งแล้วต่อเข้ากับตัวหน่วงเวลาครับ คือต่อเป็นแบบอนุกรมกับโหลดที่ตัองการใช้งานครับ ห้ามนำไฟเข้าทั้งสองเส้นนะครับเมื่อวงจรทำงานไฟจะช๊อตกันทันที่ .............................................. .............................................. ตัวหน่วงเวลารุ่นนี้ทนกระแสได้ที่2แอมป์ SCR เบอร์ 2P4M หากเราต้องการให้จ่ายกระแสได้มากขึ้นก็เปลี่ยนSCRเบอร์ที่ทนกระแสได้มากขึ้นครับ. ตัวหน่วงเวลาตัวนี้จะทำงานในครั้งที่2ครับ(delay on break)หมายความว่าเมื่อเริ่มเสียบไฟครั้งแรกวงจรจะยังไม่หน่วงเวลา แต่เมื่อไฟดับมอเตอร์หยุดทำงานและมอเตอร์จะทำงานใหม่ภายใน3นาทีหากยังไม่ถึง3นาทีมอเตอร์ยังทำงานไม่ได้ครับ. หากเรานำมาใช้กับระบบแอร์โซล่าเซลเพื่อหน่วงเวลาพัดลมคอลย์ร้อนต้องดัดแปลงใหม่ครับ โดยเราต้องกำหนดให้หน่วงเวลาตั้งแต่ไฟเข้าครั้งแรกเลยครับ ช่างโหน่งจะนำเสนอต่อไปครับ. ............................................. ............................................. วงจรที่ดัดแปลงมาจากตัวหน่วงเวลาด้านบนครับ การหน่วงเวลากำหนดด้วย C2และ C3 ครับ วงจรนี้ต่อตรงกับไฟโปรดระมัดระวังและหุ้มห่อให้ดีครับ รายละเอียดอยู่ในหน้าสมาชิกครับ ดูวงจรครับ |
แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 22 กันยายน 2017 เวลา 07:53 น. |