ผ่าเครื่องปั่นไฟจีน ใช้มอเตอร์BLDCประจุแบตสำรองสำหรับรถไฟฟ้า

ผ่าเครื่องปั่นไฟจีน ใช้มอเตอร์BLDCประจุแบต

แบตเตอรี่ยังจำเป็นสำหรับเก็บพลังงานไว้ใช้สำหรับผลิตพลังงานต่างๆ เช่นแสงสว่าง ระบบแอร์ รถไฟฟ้า ฯ การประจุแบตนอกจากพลังงานทางธรรมชาติแล้ว ยังไม่พ้นที่จะต้องใช้เครื่องยนต์มาประจุแบตซึ่งยังคงต้องใช้น้ำมันหรือก๊าซ ช่างโหน่งได้เครื่องนี้มาจากลูกค้าเพื่อทำชุดควบคุมใส่ เนื่องจากผู้ขายไม่ให้ชุดควบคุมมาด้วยด้วยเหตุผลทางการค้าหรืออะไรก็แล้วแต่ ช่างโหน่งเห็นเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่ใช้พลังงานทดแทนอยู่ เอาไว้ใช้ยามฉุกเฉินเมื่่อพลังงานไม่พอครับ.

……………………………………………

……………………………………………..

หลักการทำงาน

การทำงานไม่ต่างจากเครื่องปั่นไฟทั่วๆไป แต่เครื่องนี้จะใช้มอเตอร์ทำหน้าที่เป็นไดสตาร์ทและปั่นไฟกลับออกมาใช้งานครับ ลักษณะเด่นของมอเตอร์BLDCนี้ จะใช้แม่เหล็กถาวรความเข้มสูงตัดผ่านขดลวดที่พันเป็นแบบ3เฟสมีมุมหมุนสลับกันที่60องศาหรือ120องศา ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ากระแสสลับออกมาครับ ในเครื่องนี้ออกแบบใช้ไฟที่72โวลท์เพื่อปรจุแบตขนาด72โวลท์สำหรับรถไฟฟ้าครับ

ไฟที่ป้อนเข้าตอนสตาร์ทเป็นไฟDC 72โวลท์ โดยผ่านชุดควบคุมภายในเป็นชุดขับมอเตอร์และควบคุมความเร็วรอบของเครื่องยนต์ทำให้ไฟที่ออกมาคงที่ครับ.

…………………………………………………

…………………………………………………

จากภาพข้างบนจะเห็นมอเฟสขับมอเตอร์อยู่3ชุด คือชุดสายสีเหลือง สีเขียวและสีฟ้า และสายของมอเตอร์ยังต่อเข้ากับไดโอดบริดแบบสามเฟสแปลงไฟกลับออกมาเป็นไฟดีซี72โวลท์ครับ.

………………………………………………..

………………………………………………..

จากภาพข้างบนจะเห็นบริดไดโอดขนาดใหญ่แปลงไฟกลับออกมาเป็นไฟดีซีครับ

……………………………………………….

……………………………………………..

การควบคุมความเร็วของเครื่องยนต์ใช้มอเตอร์ขนาดเล็กปิดและเปิดวาวที่คาบูเรเตอร์เพื่อเร่งหรือลดรอบเครื่องยนต์ให้ไฟออกมาคงที่โดยใช้ชุดควบคุมและตรวจสอบแรงดันที่อยู่ในชุดขับมอเตอร์ครับ.

………………………………………………

………………………………………………

นับว่าเป็นไอเดียที่น่าสนใจนะครับ เนื่องจากเป็นเครื่องยนต์ขนาดเล็กและเสียงเงียบหากนำมาใสในรถไฟฟ้าขนาดเล็กเพื่อประจุแบตฉุกเฉินคงเป็นความคิดที่ดีอีกทางหนึ่งครับ.

สำหรับชาวโซล่าเซลเราอาจใช้แนวความคิดนี้ดัดแปลงเครื่องปั่นไฟที่เรามีอยู่หรือซื้อเครื่องปั่นไฟราคาถูกมาพันลวดใหม่ให้แรงดันที่ออกมาเพียงพอที่จะประจุแบต 12โวลท์หรือ 24โวลท์ โดยไม่ต้องผ่านหม้อแปลงให้มีการสูญเสียพลังงานเพิ่มขึ้นเอาไว้ใช้ยามฉุกเฉินเช่นหน้าฝนหรือต้องการใช้ไฟมากในการก่อสร้าง ซึ่งเราไม่ต้องไปยุ่งในระบบเดิมเพียงแต่เรารักษาแรงดันและกระแสในแบตให้คงที่ก็พอแล้วครับ.

หากมีเวลาในโอกาศต่อไปช่างโหน่งจะทำขึ้นมาทดลองใช้งานเพื่อเป็นแนวทางและความรู้สำหรับชาวบ้านต่อไปครับ.

ใส่ความเห็น