ซ่อมแอร์รถยนต์ด้วยตัวเอง

ซ่อมแอร์รถยนต์ด้วยตัวเอง(โดยไม่มีความรู้เรื่องแอร์)

รถก็เก่าคนก็แก่ ช่างโหน่งเองไม่ร่ำรวยเหมือนเขาจะได้นั่งรถใหม่ป้ายแดงเปิดแอร์ให้เย็นสบายอุรา แต่ถึงกระนั้นก็จำเป็นต้องมีรถไว้ใช้เดินทาง จะไปยืมใครๆเขาก็เกรงใจ จะไปผ่อนก็เงินมีบ้างไม่มีบ้างดีไม่ดีผ่อนไม่ได้ถูกยึดไปช้ำใจกันอีก เงินที่เก็บรวมรวมมาจึงตัดสินใจซื้อรถตู้เก่ามาคันหนึ่ง ปีเกิดของรถคันนี้เมื่อ20ปีที่แล้วชื่อโตโยต้าหน้าจรวด เขาเรียกกันแบบนั้ครับตอนจอดอยู่อู่เขาตั้งราคาไว้55,000ครั้งแรกไปดูราคาก็ไม่ลด ตอนหลังโทรมาตามช่างโหน่งเขาให้50,000ช่างโหน่งเลยขอลดอีก1000เป็นอันว่าซื้อมาราคา49,000เลขสวยครับ.

………………………………

………………………………

ซื้อมาปีแรกไม่มีเวลาซ่อมเลยใช้เป็นโกดังเก็บของ หลังจากว่างเว้นการงานต่างๆได้เวลาออกมาปัดฝุ่นใหม่(ปัดฝุ่นจริงๆ) ขับไปหาช่างร้านใหนก็ส่ายหน้า ซ่อมไม่ไหวครับต้องใช้เวลาเป็นปีช่างเขาคงหาแต่งานง่ายๆครับซ่อมง่ายได้เงินไวใครบ้างไม่อยากทำจริงไหมครับ.

เราไม่โทษใครครับสรุปต้องซ่อมเองแน่นอน วางแผนการซ่อมเร่ิมตั้งแต่ช่วงล่างมุดเข้าไปดูต้องตกใจขี่ได้งัย(วะ)ยางก็หมดสภาพและหลวมไปหมดงานนี้ต้องหมดเป็นหมื่นแน่นอน ซ่อมเบรคเปลี่ยนลูกยางเปลี่ยนโช๊คเปลี่ยนยางหมดหมื่นพอดี มุดเข้าๆออกๆในเวลาหนึ่งเดือนเต็มๆครับ แต่ก็เสร็จจนได้วันใหนว่างก็ทำวันใหนมีงานก็หยุด แต่ที่หยุดนานคือต้องนวดสมุนไพรเป็นอาทิตย์ครับ งานที่ลำบากหมดแล้วภูมิใจครับ(แต่เกือบตาย555)

ต่อไปคือช่วงบนได้แก่ระบบความเย็นตกแต่งภายใน ระบบความเย็นคือสาเหตุที่เจ้าของเก่าเขาขายเพราะซ่อมแล้วก็ไม่เย็น ช่างโหน่งตรวจดูระบบต่างๆตั้งแต่พัดลมระบายความร้อน คอล์ยร้อน คอมเพรสเซอร์ปรากฏว่าทำงานไม่ได้ สรุปจำเป็ต้องเปลี่ยนใหม่หมด งานเข้าแล้วครับต้องหมดเป็นหมื่นแน่ ระบบเดิมใช้คอมที่ติดมากับเครื่องเดิมเป็นยี่ห้อND รุ่น10PA ใช้น้ำยาเบอร์R12 ระบบความเย็นของรถตู้เดิมต้องใช้คอล์ยร้อน2ตัวอยู่ข้างหน้าและใต้ท้อง มุดดูแล้วบันทุกดินไว้เต็มเลยครับอย่างนี้ซ่อมอีก10ร้านก็ไม่เย็นแน่นอนครับ ช่างโหน่งหาข้อมูลจากเน็ตระบบแอร์รถยนต์ทำงานอย่างไร ก็ไม่มีข้อมูลที่ละเอียดพอพูดแต่วิชาการศัพท์ทางเทคนิคแอร์ต่างๆฟังและอ่านอย่างไรก็ไม่เข้าใจครับ จะไปถามร้านแอร์เขาคงจะตอบให้หละครับท่าน อาชีพเขาหาอยู่หากิน(กู)คงบอกใครไม่ได้แน่นอนครับ.

…………………………………………

………………………………………….

รูปของเก่าถอดทิ้งรอชั่งกิโล

สรุปต้องซ่อมเองอีกแน่นอน ทำอย่างไรดีช่างโหน่งเกิดมาไม่เคยรู้เลยมันจะระเบิดไหม? แล้วมันจะเย็นไหม? แล้วจะต้องมีอะไรบ้าง? หาข้อมูลอีกรวบรวมเขียนผังวงจรระบบที่รื้อออกมา เปรียบเทียบข้อมูลในเน็ตน้ำยามันไปทางใหน? ไปถึงตรงนั้นมันทำหน้าที่อะไร? ในที่สุดก็เข้าใจระดับหนึ่งครับ50%อีกที่เหลือต้องทดลองครับ.

………………………………………..

………………………………………….

รูปข้างบนเป็นระบบแอร์ในรถตู้คันนี้ครับ

จะเห็นว่าก่อนที่น้ำยาแรงดันสูงจะไปเข้าคอลย์เย็นจะมีวาวปิด/เปิดเนื่องจากหากไม่มีคนอยู่ข้างหลังก็เปิดเฉพาะข้างหน้าก็ได้ครับและจากตัวกรองน้ำยา(เขาเรียกกันว่าไดเออร์)จะแยกไปคอล์ยเย็นในสถานะของเหลวซึ่งเราจะสังเกตุจากตัวกรองหรือที่เรียกว่าไดเออร์มองเห็นน้ำยาแอร์ว่าขาดหรือมากเกินไปครับ.

เมื่อเข้าใจระบบการทำงานแอร์ในรถคันนี้แล้ว ช่างโหน่งเริ่มวางแผนการติดตั้งทำอย่างไรเราจะเย็นทั้งข้่างหน้าและข้างหลัง

1.วางแผนตัดคอล์ยร้อนออกเอาไปไว้ด้านหน้า เพื่อให้การระบายจากสถานะแก็สเป็นของเหลวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงเลือกขนาดคอล์ยร้อนให้ใหญ่ขึ้นและใส่พัดลมเป่าขนาด10นิ้ว2ตัว งานนี้กินไฟเพิ่มขึ้นอีกครับ เพื่อแก้ปัญหาระยะยาวเราใช้รีเลย์ขนาด30แอมป์เป็นสะพานไฟให้จ่ายกระแสได้แบบสบาย โดยการควบคุมมาจากการสั่งงานเมื่อคอมเพรสเซอร์จะสั่งงานให้รีเลย์ทำงานพัดลมก็จะหมุนครับ.

…………………………………………

…………………………………………

2.เปลี่ยนคอมเพรสเซอร์ใหม่เป็นคอมที่ใช้น้ำยาR-134a รุ่นเดิมเพราะไม่ต้องทำแท่นใหม่ครับ แต่เนื่องจากช่างโหน่งไม่มีประสบการณ์ไปซื้อคอมมาคล้ายกันแท่นลงกันได้แต่หัวยาวออกมาอีกเกือบติดพัดลมหม้อน้ำแต่โชคดีหาวิธีต่อแกนออกมาตรงล่องสายพานล่องใหม่ได้พอดีแต่ห่างพัดลมหม้อน้ำเพียง2เซ็นต์หากพัดลมเกิดบิดเบี้ยวแน่นอนครับแตกละเอียดแน่นอนแต่ท่ี่น่าเจ็บใจตรงที่ไม่ใช่ยี่ห้อของND ซื้อมาแล้วติดตั้งแล้วคงคืนไม่ได้แต่กลับไปถามลูกจ้างคนขายเขา(มัน)บอกว่าของแท้ก็มีแพงกว่านิดหน่อยแต่ไม่มีจานแม่เหล็กให้(อ้าว….แล้วมึงทำไมไม่บอก)ต้องใช้แม่เหล็กตัวเก่า ช่างโหน่งเสียเวลากับการต้องต่อแท่นตรึงสายพานแอร์ใหม่เป็นวัน นี่แหละครับโง่มาก่อนฉลาดไม่เป็นไรหากพังก็เปลี่ยนใหม่คิดอะไรมากครับ

…………………………………………….

…………………………………………….

3.ใหนๆก็ใหนๆแล้วรื้อมันออกทั้งหมดล้างคอล์ยเย็นทั้งสองชุดสะอาดลมผ่านสบายใช้เวลาสามวัน

4.เมื่อประกอบเข้าเดินท่อน้ำยาใหม่ตัวใหนสั้นก็ต่อตัวใหนยาวก็ตัด บานหัวแล้วขันน๊อตให้แน่นๆๆๆๆ ตอนไปซื้อสายและหัวน๊อตก็ได้ความรู้อีกครับท่าน อยู่อุบลก็มีร้านขายอุปกรณ์แอร์ที่ใหญ่อยู่ร้านหนึ่ง มันใหญ่มากครับมีทุกอย่างอยู่งานพรียบครับ เจ้าของนี่อย่าได้ไปคุยด้วยเลยครับเขาจะคุยกับเราหรือเปล่าก็ไม่รู้เพราะเราไม่ใช่ช่างแอร์(ไม่ใช่ตัวเงินตัวทองที่ทำเงินให้เขาประจำ)อย่างดีก็ได้แต่มองๆช่างโหน่งเห็นอาการไม่รับลูกค้าแล้วเปลี่ยนเป้าหมายไปถามลูกจ้างที่ขายของดีกว่า เขา(มัน)เดินออกมาจากร้านเห็นเราเขาก็หันข้างให้ เอไม่ใช่ช่างขาประจำนี่หว่าคุยกันคงไม่รู้เรื่องแน่จึงหันข้างให้(ช่างโหน่งคิดเอง555)พอดีเอาของเก่าไปเปรียบเทียบจึงใช้ภาษามือมากกว่า(เฮ้อ..โล่งอกไปที)นี่ขนาดเอาเงินไปให้นะเนี่ยกลัวแทบหัวหดร้านเขาใหญ่จริงๆ

ต่อมาเป็นการซื้อท่อน้ำยาซึ่งเราก็ทำการบ้านอย่างดีค้นในเน็ตครึ่งวันเตรียมที่จะไปซื้อท่อร้านนี้อีก มีทั้งขนาด4หุนและ6หุนจดไปอย่างดีไปถึงร้านเจอคนเก่าเขา(มัน)ก็หันข้างให้อีกบอกขนาดที่ต้องการเป็นแบบมาตราฐานที่เขาเรียกกัน ปรากฏว่าเขาหาว่าเรารู้มากกว่าเขาอีกเขาบอกว่าที่ร้านนี่มีขายอยู่สามขนาดคือขนาดเล็กขนาดกลางขนาดใหญ่ ช่างโหน่งตกใจอะไรของเขา(มันวะ)กูเตรียมมาอย่างดีมึงไม่รู้จักก็เลยถึงบางอ้อ ลูกจ้างคนนี้คงทำงานมานานแต่อาจไม่มีความรู้ศัพท์ทางด้านช่างหากเราถามมากไปกลัวจะปล่อยไก่ ก็เลยจบกว่าจะเข้าใจหมอนี่ได้เกือบช๊อคตายก่อน ในที่สุดก็ต้องเดาหละครับขนาดเล็กของเขาน่าจะ4หุนและขนาดกลาง6หุน เฮ้อ…..

5.เมื่อต่อระบบท่อเรียบร้อยแล้วขั่นตอนสำคัญคือแอร์เราเป็นของเก่าจำเป็นต้องล้างภายในด้วยครับในสมัยศรีธนญชัยก็ล้างท้องล้างใส้หละครับแล้วเราจะใช้น้ำยาอะไรล้างก็ถามคนหันข้างอีกเขาบอกว่าใช้น้ำยาF-11 ช่างโหน่งก็ซื้อมา2ขวด กลับมาถึงบ้านจะอัดเข้าอย่างไรวะหากระปุกมาอัดให้แม่บ้านช่วยจับไว้มันอัดเข้ายากครับที่แย่ก็คือเวลาปล่อยสายออกลมที่ดันเข้ามันย้อนกลับออกมาวิ่งหนีใครหนีมันครับเลอะเทอะดำไปหมด(นั่งหัวเราะกันหน้าดำ555) คิดหาวิธีใหม่เอาน้ำยาไว้สูงกว่าคอล์ยสำหรับรถตู้ต้องเอาไว้บนหลังคาครับ หลังจากนั้นปลายอีกด้านหนึ่งก็ต่อสายยางใสๆเพื่อที่จะดูว่าน้ำยาไหลมายังโดยใช้เครื่องดูดที่เราใช้สำหรับดูดแอร์ให้เป็นสูญญากาศนั่นแหละครับ พอน้ำยาไหลลงมาก็หยุดดูดแล้วรอแป็ปเดียวเพื่อให้น้ำยาF-11ละลายคราบน้ำมันที่ค้างอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ หลังจากนั้นก็อัดลมเข้าไปเต็มที่เลยครับและหาที่รองน้ำยาที่ไหลออกมาด้วยจะเห็นว่ามีสีดำหากไม่มั่นใจก็ทำเช่นนี้อีกจนน้ำยาที่ออกมาไม่ดำก็พอแล้วครับดีกว่าไม่ล้าง.อัดลมกลับไปกลับมาจนแน่ใจว่าน้ำยาระเหยหมดแล้ว ทิ้งไว้ประมาณชั่วโมงแล้วค่อยประกอบเข้าคอมเพรสเซอร์ครับ.

6.คอมเพรสเซอร์ซื้อมาใหม่เราต้องเติมน้ำมันคอมด้วยครับ เติมตรงใหน?เติมเท่าไหร่?ไปหาข้อมูลในเน็ตก็ไม่มี งานเข้าอีกแล้วครับท่าน แต่ที่รู้ๆเราต้องใช้นำ้มันชนิดเดียวกันที่เข้ากับน้ำยาแอร์ครับ ในที่นี้ช่างโหน่งใช้น้ำยาเบอร์R-134aก็ต้องใช้น้ำมันชุดนี้ด้วยครับ ไม่ยากครับถามคนขายหันข้างเขาก็จัดมาให้กระปุกเล็กร้อยกว่าบาท ช่างโหน่งไม่กล้าถามอีกว่าต้องเดิมเท่าไหร่แค่นี้ก็กลัวหัวหดแล้วเอาละวะเป็นไงเป็นกัน การเติมให้เติมที่ช่องดูดแล้วจะรู้ได้อย่างไรวะตรงในมันดูดตรงใหนมันดัน ไปค้นในเน็ตอีกประกอบกับดูลูกศรที่ชี้ไว้ในคอมเพรสเซอร์ครับ หากไม่มีจริงก็ดูตรงที่ท่อใหญ่หละครับหากท่อขนาดเท่ากันก็ลองหมุนดูเอานิ้วอุดตัวใหนดูดก็ตัวนั้นหละครับ.

แล้วเติมน้ำมันเท่าไหร่หละช่างโหน่งก็ไม่แน่ใจขวดมันก็ไม่ใหญ่ใส่มันสัก80%ก็พอ อ้าวทำไมไม่ใส่หมด คำตอบคือก็ไม่รู้เหมือนกันครับกะเอาแต่ถึงอย่างไรมันก็ไม่ขาดและอาจจะไม่เกินใช่ไหมครับ.

7.ขันท่อทั้งหมดให้แน่นตรวจหาจุดรั่วโดยใช้แชมพูทาบริเวณจุดต่อต่างๆครับ ทำอย่างไรให้มีแรงดันอาจมีหลายวิธีครับแต่เราช่างบ้านนอกไม่มีอะไรนอกจากปั้มลม ช่างโหน่งอัดเข้าไปนิดหน่อยพอให้มีแรงดันหลังจากนั้นก็พบจุดรั่วขันให้แน่นๆหรือทำหัวใหม่ให้ดีกว่าเดิมครับ.

8.ทุกอย่างในระบบท่อเรียบร้อยต่อไปเป็นระบบไฟ ก็เดินตามระบบเดิมตรงใหนต้องเดินสายใหม่ก็หาฉนวนมาหุ้มสายไฟอีกทีครับกันความร้อนที่จะทำลายสายไฟครับ เมื่อเรียบร้อยแล้วเดินเครื่องเปิดให้แอร์ทำงานพัดลมทำงานก็จบครับ.

9.ขั้นตอนสำคัญคือการเติมน้ำยาครับเมื่อเราดูดภายในระบบให้เป็นสูญญากาศทิ้งไว้สักครึ่งชั่วโมงแล้วแต่ความสามารถของแต่ละเครื่องนะครับ ปิดเครื่องทิ้งไว้สัก10นาทีดูว่าเข็มที่เราดูดอยู่ตำแหน่งเดิมหรือไม่ครับ ถ้าอยู่ตำแหน่งเดิมแสดงว่าไม่รั่ว เตรียมตัวเดิมน้ำยาครับ.

การเติมน้ำยาจะเติมเข้าทางช่องดูดซึ่งในช่องดูนี้จะมีสถานะเป็นแก็สเพราะฉะนั้นเราต้องเติมแก็สเข้าไปครับ แล้วในถังมีน้ำยาเขย่ามันไหลไปไหลมามันจะเข้าหรือครับ? โดยทั่วไปเราไปให้ช่างเติมน้ำยาจะเห็นช่างคว่ำด้วยเหตูผลใดไม่รู้แต่น่าจะเดาได้ว่าต้องการความรวดเร็วที่บริการให้ลูกค้าครับ ค้นดูในเน็ตแล้วจะทำให้คอมเพรสเซอร์เสียหายได้เพราะเกิดแรงดันมากเกินไปครับ.

แก็สก็แก็สครับตั้งถังไว้ใกล้คอมเพรสเซอร์ติดเครื่องเปิดแอร์ให้ทำงานไม่ต้องเร่งเครื่องครับ เปิดแก็ส(R-134a)เปิดวาวสีแดงไล่อากาศออกเล็กน้อยหลังจากนั้นเปิดวาวสีน้ำเงินจะสังเกตุช่องกระจกที่วาวมีน้ำยาไหลผ่านทั้งๆที่เราตั้งถังไว้ครับ เราเองไม่เคยทำมาก่อนใช้วิธีค่อยๆเดิมเอาครับ เดิมแล้วก็ปิดถังแก็สปิดวาวสีฟ้า ดูตรงไดเออรว่ามีอะไรเกิดขึ้นหรือไม่ครับจะสังเกตุเห็นฟองอากาศขุ่นๆยังไม่ใสและที่ช่องลมแอร์เริ่มมีความเย็น ก็ยิ้มได้แล้วครับ เติมน้ำยาเข้าไปอีกแล้วก็ปิดตรวจดูตรงไดเออร์จะเห็นว่าน้ำยาเริ่มใสขึ้นความเย็นก็เพิ่มขึ้นครับ ตรวจที่คอล์ยร้อนจะมีความร้อนออกมาแสดงว่ามาถูกทางแล้วครับ เมื่อเติมเข้าไปอีกแต่เข็มที่ดูดไม่กระดิกเลยเราต้องใช้เทคนิคแล้วหละครับ อันแรกคือฉีดน้ำเข้าที่คอล์ยร้อนเร่งเครื่องและเปิดน้ำยาเข้าอีก สังเกตุเห็นเข็มลดลงแสดงว่าน้ำยาเข้าแล้วครับ ดูไดเออร์อีกที่จะเห็นน้ำยาเริ่มใสและความเย็นเพิ่มขึ้น โดยหลักการที่ค้นมาให้มีฟองอากาศเล็กน้อยก็โอเคแล้วครับ แต่ช่างโหน่งไม่กล้าทำต่อรู้สึกแอร์เย็นเป็นที่พอใจแล้วก็หยุดคับเรากะเอาครับไม่ต้องไปสนใจว่าแรงดันที่เท่าไหร่เอาที่เราพอใจและพอดีก็พอแล้วครับ ถามใครๆก็ไม่บอกทำเองได้ดีเท่านี้ก็โอเคแล้วใช่ไหมครับ.

…………………………………………………

…………………………………………………

คำศัพท์ช่างแอร์แปลแบบบ้านนอก

1.คอมเพรสเซอร์ คือตัวดูดและอัดแก็สอาศัยการฉุดด้วยสายพานจากเครื่องยนต์ครับ จะทำการฉุดเมื่อจ่ายไฟให้คอล์ย12โวลท์ดีซีทำให้เกิดสนามแม่เหล็กดูดเพลาให้ลูกสูบข้างในหมุนครับ การควบคุมสั่งงานมาจากตัวตรวจสอบความเย็นภายในห้องโดยสารครับ.

……………………………………………….

…………………………………………………

2.อีวาโปราเตอร์(Evaporatot)หรือเรียกแบบชาวบ้านว่าคอล์เย็น อยู่ในห้องโดยสารพัดลมเป่าเอาไอเย็นออกมา ในคอยล์เย็นนี้จะมีตัวฉีดหรือที่เรียกว่าเอ็กเพนชั่นวาว(Expansion Valve)อุปกรณ์ตัวนี้จะควบคุมการฉีดของน้ำยาที่มีสถานะเป็นของเหลวที่มาจากไดเออร์(ตัวกรองความชื้น)จะฉีดให้เป็นแก็สจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเย็นที่ได้ออกมาอีกทางด้านหนึงของคอล์ยเย็น

…………………………………………………………….

………………………………………………………….

3.เอ็กเพนชั่นวาว(Expansion Valve)หรือเรียกแบบชาวบ้านว่าวาวฉีดน้ำยา ทำไมเราต้องฉีดและควบคุมน้ำยาที่ถูกอัดมาด้วยความดันสูงเมื่อฉีดออกมาเป็นแก็สจะเกิดการเปลี่ยนสถานะเป็นไอและเกิดความเย็นขึ้นอย่างรวดเร็วครับและความเย็นในสถานะแก็สนี้ไหลผ่านคอล์ยไป พัดลมก็พัดเอาความเย็นออกมาทำให้ห้องโดยสารเย็นครับ หากตัวนี้เสียหรืออุดตันก็เป็นสาเหตุทำให้แอร์ไม่เย็นได้ครับ.

…………………………………………………………………..

………………………………………………………………..

4.คอนเดนเซอร์(Condenser)หรือเรียกแบบชาวบ้านว่าคอล์ยร้อน ส่วนนี้จะอยู่นอกตัวรถครับทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำยาในสถานะแก็สที่ออกจากคอมเพรสเซอร์มาทำให้เย็นลงจะกลายสถานะเป็นของเหลวไหลผ่านไดเออร์ ทำให้เรารู็ว่าน้ำยาปรกติหรือไม่ครับ.

…………………………………………………………………………

………………………………………………………………………….

5.ไดเออร์(Drier)ภายในบรรจุสารดูดซับความชื้นที่เป็นของเหลวมาจากคอล์ยร้อนและยังกรองสิ่งสรกปกให้น้ำยาสอาดมากขึ้นก่อนที่จะส่งน้ำยาไปยังตัวฉีดและคอล์ยเย็นครับ.

…………………………………………………………………..

………………………………………………………………….

6.น้ำยาแอร์ รหัส R-134a เขาว่าให้ความเย็นสูงกว่า R-12 และไม่ฉุดกำลังเครื่องครับ เขาอยู่บนหัวควายหากเราไปเชื่อเขามากไม่หาความรู้เอง เราก็จะอยู่ภายใต้เขานั้นคือหัวควายครับ….

……………………………………………………………………

………………………………………………………………….

สรุป การทำงานโดยที่เราไม่เคยเรียนรู้มาก่อนเราต้องค่อยๆหาความรูู้ไปทีละขั่นตอนครับ วิชาหากินไม่ค่อยมีใครบอกใครสอนให้ง่ายๆหรอกครับ.

ในยุคที่การทำมาหากินไม่แน่นอนเดี๋ยวมีงานเดี๋ยวไม่มีงาน จะไปผ่อนเงินดาวก็พอมีแต่ก็ต้องบากหน้าไปหาคนค้ำประกัน ถึงเวลาจ่ายงวดจ่ายไม่ทันบริษัทก็โทรมาทวง ระบบนี้ดีที่สุดสำหรับช่างบ้านนอกอย่างเรา ขี่รถเก่าไม่เป็นหนี้ดีที่สุดครับ มีเงินก็ซ่อมไปไม่มีเงินก็หยุดไว้ก่อน ชีวิตไม่ต้องรีบเร่งขอให้ตื่นมาไม่มีหนี้ก็พอแล้วครับ.

งานนี้อธิบายผิดพลาดประการใดต้องอภัยท่านผู้รู้ด้วยครับ ช่างโหน่งเขียนตามที่ตัวเองเข้าใจและลงมือทำแอร์เองทั้งหมดจากไม่มีความรู้มาก่อนเลยและแอร์ทำงานจนเย็นฉ่ำก็พอใจแล้วครับ.

ไม่เข้าใจโทรสอบถามได้นะครับไม่ปิดบัง

โทร.0887666003

ใส่ความเห็น