ติดตั้งกล้องไร้สายระบบโซล่าเซล

ติดตั้งกล้องไร้สาย Solar IP Camera

บทความนี้เขียนมานานแล้วครับปัจจุบันมีกล้องที่สามารถใส่หน่วยความจำและซิมโทรได้ในตัว ดูเป็นกรณีศึกษานะครับ

เมื่อเราต้องการรักษาความปลอดภัย กล้องเป็นส่วนหนึ่งที่บันทึกเหตุการณ์ต่างๆไว้โดยตลอดและสามารถเปิดดูย้อนหลังได้อีก เราชาวโซล่าเซล อยากใช้งานแบบไร้สายและมีแบตเตอรี่แบบพึ่งพาตัวเอง ช่างโหน่งจึงทดลองโดยเลือกใช้กล้องแบบไร้สายหรือที่เรียกว่าIP Camera อ่านว่าไอพีคามีร่าครับ กล้องประเภทนี้ปัจจุบันราคาถูกลง ช่างโหน่งสั่งซื้อมาจากจีนราคาเพียง1600บาท ภาพคมชัดมากครับ.

……………………………………..

………………………………………

หน้าตาเป็นแบบนี้ครับ ภายในกล่องไม่มีอะไรยุ่งยากครับ มีแบตเตอรี่แห้งขนาด7.2แอมป์12โวลท์1ลูก และวงจรรักษาแรงดันไฟ1ชุดเพื่อจ่ายไฟให้กล้องที่12โวลท์ครับ ส่วนแผงใช้แผงขนาด10วัตต์แบบโมโนเพียงพอสำหรับ24ชั่วโมงครับ.

………………………………………..

………………………………………..

………………………………………..

ใช้กล่องกันน้ำที่มีขายทั่วๆไป ในที่นี้ช่างโหน่งออกแบบวางแนวนอนครับเพราะจะได้ติดตั้งแผงบนตัวกล่องได้อีกครับ.

……………………….

…………………………………….

การทำงานของกล้องชนิดนี้ส่งสัญญาณไร้สายแบบไวฟายWIFI (อ่านว่าไวฟายนะครับบางท่านไปอ่านวิฟิ ช่างโหน่งก็งงครับ) เราสามารถรับสัญญาณได้ด้วยมือถือหรือคอมพิวเตอร์ที่สามารถรับสัญญาณwifiได้ ซึ่งปัจจุบันนี้ติดตั้งมาด้วยหมดแล้วครับ

…………………………………….

……………………………………….

การทำงานต้องตากแดดตากฝน ทำงานตลอด24ชั่วโมงครับ ภายในตัวกล้องเองก็กันน้ำเข้า และกันน้ำออก เราไม่ต้องเดินสายไฟไกลๆอีกต่อไปครับ เนื่องจากกล้องตัวนี้สามารถกำหนดIP หรือเรียกง่ายๆว่ากำหนดตัวตนเป็นระบบแลนLAN เช่นเดียวกับอินเตอร์เน็ตที่ท่านใช้อยู่นั่นเองครับ เพราะฉะนั้นเราสามารถใช้กล้องได้เป็นร้อยๆตัวครับ แต่ตัวขีดจำกัดในการส่งข้อมูลระบบเน็ตเวอค(Network)ต้องทำงานด้วยความเร็วสูง แต่ปัจุบันอุปกรณ์เกี่ยวกับระบบนี้มีระบบที่ความเร็วสูงขึ้นและราคาไม่แพงครับ.

เมื่อคอมรับสัญญาณจากล้องได้แล้ว มีโปรแกรมมากมายสำหรับบันทึกภาพไว้ครับ ในที่นี้ช่างโหน่งใช้โปรแกรมที่แถมมาจากกล้องครับ.

…………………………………………..

………………………………………….

ก่อนอื่นเราต้องเชื่อมต่อกับกล้องก่อนครับ ในที่นี้ช่างโหน่งไม่ได้เชื่อมต่อกล้องโดยตรงแต่เราเชื่อมต่อผ่านเครื่องขยายสัญญาณหรือที่เรียกว่าเร้าเตอร์(router)ทั้งนี้เพื่อขยายสัญญาณรับส่งที่อยู่ไกลเป็นหลายร้อยเมตรเข้ามายังเครื่องบันทึกครับ ซึ่งจากเร้าเตอร์เราสามารถต่อสายแลน(Lan)เข้ากับตัวแยกและรวมสัญญาณที่เรียกว่าสวิทชิ่งฮับ(switchinghub)ได้หลายกล้อง หลังจากนั้นต่อเข้ากับตัวบันทึกแบบLANหรือที่เรียกว่าNVR ปัจจุบันราคาไม่แพงหาซื้อได้ง่ายครับ.

……………………………………………

……………………………………..

ข้อดีอีกประการหนึ่งของกล้องชนิดนี้คือ เราไม่ต้องเดินสายไฟ และสามารถส่งสัญญาณได้ไกลเป็นกิโลครับโดยใช้ตัวช่วยขายสัญญาณwifi ซึ่งมีขายทั่วไปครับ.

การติดตั้งหลายตัวในเครื่องบันทึกเดียวกันระบบจะทำงานช้าครับเนื่องจากการสื่อสารกันระหว่างกล้องกับตัวบันทึกจะต้องทำงานด้วยความเร็วสูงภาพจึงไม่กระตุกครับ แต่หากมีหลายกล้องภาพจะส่งมาช้าลงทำให้ดูเหมือนกระตุก หากจำเป็นต้องใช้หลายกล้องเพื่อบันทึกภาพให้ทันเหตุการณ์ควรแยกเครื่องบันทึกต่อกล้อง1-2ตัวก็จะดีกว่าครับ ซึ่งปัจจุบันราคาไม่แพงครับ.

ใส่ความเห็น