จากการเริ่มต้นเมื่อ 7 ปีก่อน เราได้รับงานโปเจคแรกจากเขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนสิริธร ในการใช้แผงโซล่าเซลประจุแบตเตอรรี่สำหรับไฟกระพริบหน้าเขื่อนเพื่อป้องกันเรือเข้ามาหาปลา อาจเกิดอันตรายได้ ในสมัยนั้นแผงโซล่าเซลยังไม่แพร่หลายและราคาแพงอยู่ แผงขนาด 40 วัตต์แบบโมโนคริสตัลไลน์ราคาอยู่ที่ 17,000บาท จึงยังไม่มีใครกล้าลงทุนนอกจากหน่วยงานราชการ ต่อมารับงานซ่อมอินเวอร์เตอร์ของหน่วยงานราชการ(ตัวสีส้ม)ซึ่งทางราชการแจกให้กับประชาชนที่อยู่ในสวนที่ไม่มีไฟใช้ จะเป็นแผงโซล่าเซลแบบกระจกอมอฟัส ใช้ขนาด 40วัตต์ จำนวน 3 แผงก็ใช้งานได้ดีมาเรื่อยๆ แต่เมื่อถึงปีที่ 5 อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์บางตัวก็หมดอายุเช่น คอนเดนเซอร์ จึงทำให้วงจรทำงานผิดพลาดและเกิดไหม้เสียหายใช้งานไม่ได้ ชาวบ้านจึงนำมาคืนทางการ และในช่วงนี้งานซ่อมมีมาก แต่เกิดปัญหาในการหาอะหลัยและอุปกรณ์บางตัวได้ลบเบอร์ทิ้งมิหน่ำซ้ำสายไฟที่ต่อเข้าเครื่องก็ทำเครื่องหมายวางยาไว้โดยการสลับสายขั่วบวกเป็นสีดำ ขั่วลบเป็นสายสีแดง เมื่อซ่อมเสร็จแล้วชาวบ้านนำกลับไปต่อโดยไม่ได้ทำเครื่องหมายไว้ เครื่องก็พังอีกรอบสอง เวรกรรมของชาวบ้านแท้ๆ ทั้งหมดประมาณ 20 เครื่องพังเกือบหมด ที่ไม่พังเพราะคนรอบคอบทำเครื่องหมายไว้ ช่างโหน่งเข้าไปดูจึงเข้าใจหลังจากนั้นก็หาวิธีประจุแบตจากแผงที่เหลืออยู่ นี้คือการเริ่มต้นเข้าวงการโซล่าเซล
…………………………………………………………………….
การติดตั้งล่าสุดเมื่อ 15 -17 กุมภาพันธ์ 2556 ที่คลองส่งน้ำโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะลำปาง เป็นระบบฉุดกังหันน้ำระดับพื้นดิน การออกแบบโครงสร้างโดยคณะวิศวกรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉุดกังหันน้ำเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตรมีแรงบิดมากสามารถฉุดเจนเนอร์เรเตอร์แบบแม่เหล็กถาวรขนาด 3 กิโลวัตต์ได้อย่างสบาย โครงการนี้เป็นการทดลองแต่นับว่าเป็นความคิดที่เยี่ยมเพราะแรงน้ำที่ไหลมาเกิดพลังน้ำวนหมุนกังหันได้สบาย ช่างโหน่งเองรับหน้าที่เกียวกับระบบไฟฟ้าทั้งหมด
…………………………………………………………………..