เรื่องทั้งหมดโดย kajhonphol

ชุดศึกษาพัฒนาควบคุมมอเตอร์บัสเลส

ปัจจุบันมอเตอร์ชนิดหนึ่งกำลังเป็นที่นิยมกันซึ่งเป็นมอเตอร์ดีซีชนิดที่ไม่มีแปลงถ่านหรือที่เรียกว่ามอเตอร์ไร้แปลงถ่าน(บัสเรส bushless) มีการใช้งานแผ่หลายเช่นในปั้มน้ำ พัดลม ตู้เย็น แอร์ รถไฟฟ้าฯ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆเหล่านี้ปัจุบันล้วนแต่มาใช้งานมอเตอร์บัสเรสกันหมด ด้วยเหตุผลที่ว่ามอเตอร์ชนิดนี้กินไฟน้อยกว่ามอเตอร์ดีซีธรรมดาเพราะโครงสร้างภายในที่แตกต่างกันกับมอเตอร์ดีซีแบบใช้แปลงถ่าน คือในแกนกลางของมอเตอร์บัสเรสนี้จะมีแม่เหล็กถาวรติดตั้งอยู่ฉะนั้นเราเพียงแต่จ่ายไฟไปยังขดลวดภายนอกทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไปผลักดันให้แกนกลางหมุน จึงเกิดพลังงานขึ้นและนำไปใช้งานครับ.

ส่วนการควบคุมก็ต้องออกแบบแตกต่างจากมอเตอร์ทั่วๆไป โดยการควบคุมใช้ไฟดีซี(กระแสตรง)มาควบคุมจะเป็นตั้งแต่12ถึง300โวลท์ดีซีแล้วแต่การใช้งานแต่ละชนิดไป วงจรตัวควบคุมส่วนมากใช้ไมโครคอนโทลเลอร์ที่ออกแบบมาควบคุมการทำงาน ซึ่งแต่ละบริษัทก็ปิดเป็นความลับไม่มีออกมาเผยแพร่วงจรกันช่างโหน่งเองติดตามและพยายามค้นหาวงจรต่างๆเพื่อนำมาศึกษาการทำงานแต่ไม่มีส่วนมากมีแต่ไมโครคอนโทลเลอร์แบบง่ายๆเช่นArduino ซึงบอบบางและคลื่นรบกวนสูงทำให้การทำงานผิดพลาด แต่มีไอซีตัวนึงซึ่งเป็นไอซีสำเร็จรูปป้องกันคลื่รบกวนทางไฟฟ้าได้ดีและทนทานขนาดเล็กที่สำคัญคือราคาจับต้องได้ ผลิตมานานหลายปีแล้วแต่ก็ยังมีขายอยู่และมีคนนำมาใช้งานแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นชุดควบคุมจักรยานไฟฟ้า ไอซีเบอร์นั้นคือตะกูล

ไอซีแบบตะขาบหรือDip 24 ขา ซึ่งออกแบบง่ายสำหรับใช้งานจริงหรือทดลองโครงงานต่างๆที่เกี่ยวกับมอเตอร์บัสเรส หากเราไม่เริ่มต้นศึกษาและพัฒนาในตอนนี้แล้ว ในอนาคตเราต้องใช้แต่เงินซื้ออย่างเดียว ประเทศเราก็จะตกยุคล้าสมัยไม่ทันเพื่อบ้านเขา แต่หากเรามาเรียนรู้ถึงแม้จะเป็นพื้นฐานธรรมดาหากเราเข้าใจลึกๆในการทำงานของมันแล้วต่อไปแล้วไม่ยากที่จะพัฒนาให้ดีขึ้นได้ครับ.

บอร์ควบคุมต้นแบบ
smart
smart

รูปด้านบนนี้ช่างโหน่งได้ออกแบบบอร์ดต้นแบบง่ายๆสำหรับทดลองการทำงานซึ่งได้ผลดีและได้เรียนรู้ถึงการใช้ตัวขับ(Drive)มอสเฟสที่จ่ายกำลังให้มอเตอร์ ในที่นี้ใช้ตัวขับ(Drive)เบอร์ Ir2103 dip8 ขา 3ตัวขับมอสเฟส3ชุดที่จะไฟต่อเข้ามอเตอร์อีกที วงจรนี้สามารถใช้ไฟได้ตั้งแต่12ถึง300โวลท์ดีซีซึ่งมอสเฟสและภาคจ่ายไฟก็ต้องใช้เบอร์ที่แตกต่างออกไปตามขนาดของแรงดันไฟ ส่วนไฟเลี้ยงวงจรใช้ไฟ12โวลท์ดีซี หากเราใช้ไฟเลี้ยงมอสเฟสสูงกว่านี้เราก็ต้องมีภาคจ่ายไฟเลี้ยงวงจรต่างหากครับ.

บอร์ดคอนโทลรุ่นล่าสุด เพิ่มไอซีMc33039 เพื่อตรวจสอบและชดเชยการทำงานของฮอลเซ็นเซอร์ มีผลทำให้มอเตอร์ทำงานได้เสถียรและกินกระแสน้อยลงครับ.

Mc33035+Mc33039 New Version
บอร์ดต้นแบบช่างโหน่ง

 ชมคลิปการทดสอบครับ

ติดตั้งกล้องไร้สายระบบโซล่าเซล

ติดตั้งกล้องไร้สาย Solar IP Camera

บทความนี้เขียนมานานแล้วครับปัจจุบันมีกล้องที่สามารถใส่หน่วยความจำและซิมโทรได้ในตัว ดูเป็นกรณีศึกษานะครับ

เมื่อเราต้องการรักษาความปลอดภัย กล้องเป็นส่วนหนึ่งที่บันทึกเหตุการณ์ต่างๆไว้โดยตลอดและสามารถเปิดดูย้อนหลังได้อีก เราชาวโซล่าเซล อยากใช้งานแบบไร้สายและมีแบตเตอรี่แบบพึ่งพาตัวเอง ช่างโหน่งจึงทดลองโดยเลือกใช้กล้องแบบไร้สายหรือที่เรียกว่าIP Camera อ่านว่าไอพีคามีร่าครับ กล้องประเภทนี้ปัจจุบันราคาถูกลง ช่างโหน่งสั่งซื้อมาจากจีนราคาเพียง1600บาท ภาพคมชัดมากครับ.

……………………………………..

………………………………………

หน้าตาเป็นแบบนี้ครับ ภายในกล่องไม่มีอะไรยุ่งยากครับ มีแบตเตอรี่แห้งขนาด7.2แอมป์12โวลท์1ลูก และวงจรรักษาแรงดันไฟ1ชุดเพื่อจ่ายไฟให้กล้องที่12โวลท์ครับ ส่วนแผงใช้แผงขนาด10วัตต์แบบโมโนเพียงพอสำหรับ24ชั่วโมงครับ.

………………………………………..

………………………………………..

………………………………………..

ใช้กล่องกันน้ำที่มีขายทั่วๆไป ในที่นี้ช่างโหน่งออกแบบวางแนวนอนครับเพราะจะได้ติดตั้งแผงบนตัวกล่องได้อีกครับ.

……………………….

…………………………………….

การทำงานของกล้องชนิดนี้ส่งสัญญาณไร้สายแบบไวฟายWIFI (อ่านว่าไวฟายนะครับบางท่านไปอ่านวิฟิ ช่างโหน่งก็งงครับ) เราสามารถรับสัญญาณได้ด้วยมือถือหรือคอมพิวเตอร์ที่สามารถรับสัญญาณwifiได้ ซึ่งปัจจุบันนี้ติดตั้งมาด้วยหมดแล้วครับ

…………………………………….

……………………………………….

การทำงานต้องตากแดดตากฝน ทำงานตลอด24ชั่วโมงครับ ภายในตัวกล้องเองก็กันน้ำเข้า และกันน้ำออก เราไม่ต้องเดินสายไฟไกลๆอีกต่อไปครับ เนื่องจากกล้องตัวนี้สามารถกำหนดIP หรือเรียกง่ายๆว่ากำหนดตัวตนเป็นระบบแลนLAN เช่นเดียวกับอินเตอร์เน็ตที่ท่านใช้อยู่นั่นเองครับ เพราะฉะนั้นเราสามารถใช้กล้องได้เป็นร้อยๆตัวครับ แต่ตัวขีดจำกัดในการส่งข้อมูลระบบเน็ตเวอค(Network)ต้องทำงานด้วยความเร็วสูง แต่ปัจุบันอุปกรณ์เกี่ยวกับระบบนี้มีระบบที่ความเร็วสูงขึ้นและราคาไม่แพงครับ.

เมื่อคอมรับสัญญาณจากล้องได้แล้ว มีโปรแกรมมากมายสำหรับบันทึกภาพไว้ครับ ในที่นี้ช่างโหน่งใช้โปรแกรมที่แถมมาจากกล้องครับ.

…………………………………………..

………………………………………….

ก่อนอื่นเราต้องเชื่อมต่อกับกล้องก่อนครับ ในที่นี้ช่างโหน่งไม่ได้เชื่อมต่อกล้องโดยตรงแต่เราเชื่อมต่อผ่านเครื่องขยายสัญญาณหรือที่เรียกว่าเร้าเตอร์(router)ทั้งนี้เพื่อขยายสัญญาณรับส่งที่อยู่ไกลเป็นหลายร้อยเมตรเข้ามายังเครื่องบันทึกครับ ซึ่งจากเร้าเตอร์เราสามารถต่อสายแลน(Lan)เข้ากับตัวแยกและรวมสัญญาณที่เรียกว่าสวิทชิ่งฮับ(switchinghub)ได้หลายกล้อง หลังจากนั้นต่อเข้ากับตัวบันทึกแบบLANหรือที่เรียกว่าNVR ปัจจุบันราคาไม่แพงหาซื้อได้ง่ายครับ.

……………………………………………

……………………………………..

ข้อดีอีกประการหนึ่งของกล้องชนิดนี้คือ เราไม่ต้องเดินสายไฟ และสามารถส่งสัญญาณได้ไกลเป็นกิโลครับโดยใช้ตัวช่วยขายสัญญาณwifi ซึ่งมีขายทั่วไปครับ.

การติดตั้งหลายตัวในเครื่องบันทึกเดียวกันระบบจะทำงานช้าครับเนื่องจากการสื่อสารกันระหว่างกล้องกับตัวบันทึกจะต้องทำงานด้วยความเร็วสูงภาพจึงไม่กระตุกครับ แต่หากมีหลายกล้องภาพจะส่งมาช้าลงทำให้ดูเหมือนกระตุก หากจำเป็นต้องใช้หลายกล้องเพื่อบันทึกภาพให้ทันเหตุการณ์ควรแยกเครื่องบันทึกต่อกล้อง1-2ตัวก็จะดีกว่าครับ ซึ่งปัจจุบันราคาไม่แพงครับ.

โรงไฟฟ้าพลังน้ำระดับต่ำ

โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำแบบชาวบ้าน

น้ำกับแสงแดดเกิดขึ้นมาก็เห็นแล้วใช่ไหมครับ มนุษย์เราคิดค้นการใช้พลังงานมานานแล้ว มาถึงในปัจจุบันเราสามารถคิดทำให้พลังงานน้ำมีพลังงานมากขึ้นด้วยตัวมันเองและไม่จำเป็นต้องใช้แรงดันจากที่สูง หากท่านอยู่ใกล้แม่น้ำลำคลองจะได้เปรียบเราสามารถนำ้พล้งงานน้ำมาหมุนกังหันได้ตลอดเวลาครับ

…………………………

………………………..

ตามรูปข้างบนเราจะเห็นแรงน้ำวนหมุนกังหันแล้วนำมาปั่นไฟเป็นการก่อสร้างที่ไม่สลับซับซ้อน แล้วปล่อยน้ำลงด้านล่าง

……………………….

…………………………

เราสามารถมีไฟใช้ตลอดปีหากมีน้ำไหลตลอดครับ

………………………..

…………………………..

อีกระบบหนึ่งเป็นนวัตกรรมของช่างโหน่งเอง ก็คือเราสามารถใช้ได้ทั้งสองอย่างทั้งแสงแดดและน้ำสำหรับที่น้ำไหลไม่แรงหรือต้องการใช้ทั้งแสงแดดผลิตไฟในตอนกลางวันและใช้พลังงานน้ำในตอนกลางคืน โดยเราสูบน้ำด้วยพลังงานแสงแดดขึ้นไปเก็บไว้แล้วปล่อยน้ำลงมาผลิตไฟในยามค่ำคืนก็ได้ครับ

ติดตั้งระบบไฟไฮโวลท์ที่ลาว

ติดตั้งระบบไฟดีซีแรงดันสูง(ไฮโวลท์)ที่ลาว

ติดตั้งที่ประเทศลาว 22-24 ธันวาคม 2557

……………………………

…………………………..

รุ่งอรุณที่ลาวยามเช้าอากาศดีมาก บริเวณที่ติดตั้งล้อมรอบไปด้วยภูเขา

………………………….

……………………………

แบตขนาด 150 แอมป์ 20 ลูก แผงใช้280วัตต์ 20 แผง เป็นระบบไฟดีซีแรงดันสูง 300 โวลท์ ประจุด้วยชุดประจุของช่างโหน่งจาก 300 โวลท์ดีซีลดลงเหลือ 24และ12โวลท์ 100 แอมป์

……………………………

………………………………

ชุดอินเวอร์เตอร์สำหรับไฟดีซีแรงสูง(300โวลท์)ขนาด 10 KW จ่ายไฟแรงดัน 220 โวลท์ทั้งแคมป์ คนงานประมาณ 10 ครัวเรือน สิ่งที่ประทับใจที่สุดคือประเพณีและวัฒนธรรมของประเทศเขายังคงรักษา เอกลักษณ์ไว้ไม่ว่าจะไปที่ใหนจะเห็นผู้หญิงที่เป็นนักเรียนหรือข้าราชการ พนักงานจะใส่ผ้าซิ่นลาวพร้อมหน้าพร้อมตากันครับ

……………………………..

……………………………..

ช่วงเดินทางนักเรียนกำลังต้อนรับเจ้านาย ทำให้รถติดเป็นเวลานาน แต่คนลาวเขาให้ความสำคัญกับเจ้านายมากเลยไม่บ่น

…………………………….

…………………………….

ที่พักคนงานเพื่อปลูกต้นปาล์มบนพื้นที่ประมาณ5000ไร่ เป็นพันปาล์มนำไปจากฝั่งไทย

……………………………

………………………….

มีแหล่งน้ำจากธรรมชาติใช้ได้ตลอดปีครับ

………………………………………………

………………………………………………

……………………….

สำรวจแหล่งน้ำเพื่อสูบน้ำขึ้นภูเขาเอามารดต้นปาล์ม ประมาณ400เมตร สูง 80-100 เมตร

ดูภาพการติดตั้งระบบสูบน้ำที่ลาวเมื่อ 10-12 มีนาคม 2558ครับ

การติดตั้งระบบสูบน้ำด้วยไฟดีซีแรงดันสูงที่ประเทศลาว ระดับความสูงที่250เมตรจากระดับน้ำทะเล ตำแหน่งแผนที่18,33,24,73n 102,14,24,94e ความสูงในแนวดิ่งอยู่ที่25เมตร ระยะทางจากแหล่งน้ำถึงถัง300เมตร ความจุของถัง20000ลิตร อัตตราการไหลอยู่ที่1200-3000ลิตรต่อชั่วโมงครับ ใช้ท่อPEขนาด40มิล แรงดันอยู่ที่2-3บาร์ หากใช้ท่อ ขนาด25มิลจะดันน้ำได้แรงและสูงกว่านี้อีกเท่าตัวครับ

………………………………………

……………………………………..

การทำงานเป็นที่พอใจของผู้ว่าจ้างเพราะได้น้ำไว้ใช้มากคุ้มกับการลงทุนและไม่ต้องใช้น้ำมันสูบน้ำให้ลำบากอีกต่อไปครับ

โครงการทดลองติดตั้งกังหันน้ำแรงดันต่ำ

จากการเริ่มต้นเมื่อ 7 ปีก่อน เราได้รับงานโปเจคแรกจากเขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนสิริธร ในการใช้แผงโซล่าเซลประจุแบตเตอรรี่สำหรับไฟกระพริบหน้าเขื่อนเพื่อป้องกันเรือเข้ามาหาปลา อาจเกิดอันตรายได้ ในสมัยนั้นแผงโซล่าเซลยังไม่แพร่หลายและราคาแพงอยู่ แผงขนาด 40 วัตต์แบบโมโนคริสตัลไลน์ราคาอยู่ที่ 17,000บาท จึงยังไม่มีใครกล้าลงทุนนอกจากหน่วยงานราชการ ต่อมารับงานซ่อมอินเวอร์เตอร์ของหน่วยงานราชการ(ตัวสีส้ม)ซึ่งทางราชการแจกให้กับประชาชนที่อยู่ในสวนที่ไม่มีไฟใช้ จะเป็นแผงโซล่าเซลแบบกระจกอมอฟัส ใช้ขนาด 40วัตต์ จำนวน 3 แผงก็ใช้งานได้ดีมาเรื่อยๆ แต่เมื่อถึงปีที่ 5 อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์บางตัวก็หมดอายุเช่น คอนเดนเซอร์ จึงทำให้วงจรทำงานผิดพลาดและเกิดไหม้เสียหายใช้งานไม่ได้ ชาวบ้านจึงนำมาคืนทางการ และในช่วงนี้งานซ่อมมีมาก แต่เกิดปัญหาในการหาอะหลัยและอุปกรณ์บางตัวได้ลบเบอร์ทิ้งมิหน่ำซ้ำสายไฟที่ต่อเข้าเครื่องก็ทำเครื่องหมายวางยาไว้โดยการสลับสายขั่วบวกเป็นสีดำ ขั่วลบเป็นสายสีแดง เมื่อซ่อมเสร็จแล้วชาวบ้านนำกลับไปต่อโดยไม่ได้ทำเครื่องหมายไว้ เครื่องก็พังอีกรอบสอง เวรกรรมของชาวบ้านแท้ๆ ทั้งหมดประมาณ 20 เครื่องพังเกือบหมด ที่ไม่พังเพราะคนรอบคอบทำเครื่องหมายไว้ ช่างโหน่งเข้าไปดูจึงเข้าใจหลังจากนั้นก็หาวิธีประจุแบตจากแผงที่เหลืออยู่ นี้คือการเริ่มต้นเข้าวงการโซล่าเซล

…………………………………………………………………….

การติดตั้งล่าสุดเมื่อ 15 -17 กุมภาพันธ์ 2556 ที่คลองส่งน้ำโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะลำปาง เป็นระบบฉุดกังหันน้ำระดับพื้นดิน การออกแบบโครงสร้างโดยคณะวิศวกรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉุดกังหันน้ำเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตรมีแรงบิดมากสามารถฉุดเจนเนอร์เรเตอร์แบบแม่เหล็กถาวรขนาด 3 กิโลวัตต์ได้อย่างสบาย โครงการนี้เป็นการทดลองแต่นับว่าเป็นความคิดที่เยี่ยมเพราะแรงน้ำที่ไหลมาเกิดพลังน้ำวนหมุนกังหันได้สบาย ช่างโหน่งเองรับหน้าที่เกียวกับระบบไฟฟ้าทั้งหมด

…………………………………………………………………..

เป็นวิทยากร อบรมชาวบ้านใช้งานโซล่าเซล

อบรมโซล่าเซลที่บึงกาฬ

การอบรมโซล่าเซลบ้านชัยพร บึงกาฬ วันที่1-3ธันวาคม 2557

…………………………

………………………….

สส.สงกรานต์ คำพิสัย เป็นประธานเปิดอบรม ผู้ให้ความสนใจเข้าอบรมฟรี 3 วัน มีทั้งผู้สูงอายุและคนหนุ่มที่ต้องการมีความรู้ในการติดตั้งโซล่าเซลเพื่อ ใช้ในชีวิตประจำวันและประกอบอาชีพครับ ช่างโหน่งเองมีความภูมิใจที่ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากร โดยไม่รู้จักกับหน่วยงานนี้มาก่อนครับ ได้ค่าเหนื่อชั่วโมงละ600บาทครับ.

………………………….

…………………………….

………………………….

แผงโซล่าเซลสำหรับการอบรม มีหลายรุ่นหลายขนาด พร้อมด้วยชุดการเรียนรู้ชองช่างโหน่ง

………………………….

……………………..

ลงมือทำกันด้วยตัวเองทุกๆคนและถามปัญหาต่างที่ข้องใจ ช่างโหน่งให้ความรู้แบบไม่มีปิดบังเป็นวิทยาทานครับ

………………………..

……………………..

ช่างโหน่งกำลังเตรียมสถานที่อบรมสำหรับผู้สนใจ โปรดติดตามข้อมูลครับ

ชุดทดลองการสอนช่างโซล่าเซล เข้าใจระบบการทำงานแบบง่ายและได้ผลดี ไม่ว่าจะเป็นชุดประจุแบตและชุดแปลงไฟครับ

………………………..

…………………………….

หลังจากอบรมกันแล้วก็ไปดูงานจากสถานที่จริงในสวนโซล่าเซลแบบพึงตนเองของท่านดาบสัมฤทธิ์(คาบเดือน)ที่บุงคล้าบึงกาฬครับ

ผลงานที่ลุยมาเมื่อ10ปีก่อน

ช่างโหน่งพลังงานแสงอาทิตย์เริ่มงานตั้งแต่ปี2551ที่จังหวัดบึงกาฬเริ่มติดตั้งให้ชาวสวนยากด้วยแผ่นโซล่าเซลแบบอมอฟัส

ที่ทำการใหม่ 621 หมู่1 ต.บ้านทุ่ม อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000

ขอบเขตการทำงาน: รับติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากธรรมชาติทุกชนิด ออกแบบระบบสำรองไฟฉุกเฉินเมื่อไฟฟ้าดับมากกว่า10ชั่วโมง รับทำงานสิ่งประดิษฐ์ โครงงานคิดค้นต่างเกี่ยวกับพลังงานทดแทน

ความชำนาญงาน:ศึกษาและทำงานเกี่ยวกับโซล่าเซลและระบบสำรองไฟ ระบบสูบน้ำ โดยเฉพาะ

สโลแกน:“ใช้งานได้นานทนทาน หาอะหลัยง่าย ทำงานง่ายๆแบบชาวบ้าน “

อุดมการณ์:“ผู้นำแสงสว่างสู่บ้านท่าน”

เบอร์ติดต่อ: 088-7666003

เวลาติดต่อ:08.00-19.00

e-mail: solarwato@gmail.com

ระบบการทำงาน:

**ระบบผลิตพลังงานใช้แผงโซล่าเซลตามท้องตลาดทั่วไป

**ระบบประจุุแบต ออกแบบเองไม่มีขายในท้องตลาด  เป็นระบบที่ประจุแบตแบบรวดเร็ว จ่ายกระแสได้สูงไม่มีขีดจำกัดทันต่อการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่นเครื่องสูบน้ำ ไม่เสียง่ายเพราะเราออกแบบให้ใช้ตัวเก็บประจุน้อยที่สุดและเลือกตัวเก็บประจุ(คอนเดนเซอร์)ที่คุณภาพดีที่สุด วงจรใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์น้อยที่สุดเพื่อป้องกันไฟฟ้าสถิตย์จากฟ้าผ่า มั่นใจเมื่อใช้ระบบผลิตไฟฟ้าของช่างโหน่ง อายุใช้งานเกิน5ปีแน่นอน

**แบตเตอรี่เลือกใช้ได้กับแบตทุกชนิดไม่มีขีดจำกัดไม่ต้องกลัวระเบิดและไม่ต้องกลัวแบตเสื่อมเร็ว ทดลองมาเกินกว่า5ปียังใช้งานได้ดี ผลงานที่ผ่านมาถ้าไม่ดีจริงวันนี้คงไม่มีช่างโหน่ง

**การบริการหลังขายบริการรวดเร็วและซื่อตรง ที่ผ่านมาไม่ปรากฎว่าอุปกรณเสียหายเพราะการทำงานตามปรกติ แต่เสียหายเพราะลูกค้าใช้เกินกำหนด เหตุเพราะอยากทดลองกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นที่เกินกำลังการผลิต แต่เราก็รับผิดชอบและซ่อมให้ในราคาทุนไม่บวกราคาเพิ่ม

……………………………….

………………………………..

……………………………….

………………………………

………………………………

………………………………

………………………………

……………………………..

…………………………….

…………………………….

…………………………….

…………………………….

………………………………….

………………………………….

……………………………….

……………………………….

ผลงานที่ผ่านมามากมาย ขึ้นเขาลงห้วย ในป่าเขาลำเนาไพร ทีมงานเราไม่ย่อท้อ ขอขอบพระคุณทุกๆท่านที่ให้ความเชื่อถือการทำงานของช่างโหน่งครับ

ไดโอดขั้นน๊อตขนาด80แอมป์1000โวลท์

ไดโอดแบบขันน๊อต

ตัวประจุแบตที่ได้ผลดีและประหยัดที่สุดง่ายที่สุด แบบชาวบ้านไม่ยุ่งยากช่างโหน่งแนะนำให้ใช้ไดโอดแบบขันน๊อตครับ ขนาด 80 แอมป์ 1200โวลท์ หลายท่านลำบากในการซื้อการหา ไม่สะดวกหรือบางท่านก็ถูกคนฉวยโอกาสขายราคาแพงมาก ช่างโหน่งคิดเห็นความสำคัญในการช่วยกันพัฒนาและเรียนรู้เกี่ยวกับระบบประจุแบตแบบง่ายๆแบบชาวบ้านๆ จึงนำมาขายให้ในราคาที่ไม่แพงครับพร้อมน๊อตยึดครับ.

……………………………………….

……………………………………….

รูปร่างหน้าตาเป็นแบบนี้ครับ ด้านไฟบวกออกจะเป็นรูน๊อตเบอร์10 ไม่ต้องบัดกรีใส่หางปลาแล้วต่อสายไฟเส้นใหญ่ต่อตรงเข้าแบตได้เลยครับ.

……………………………………….

……………………………………..

เจาะรูขนาด10มิลที่แผ่นระบายความร้อนแล้วขันน๊อตให้แน่น เท่านี้ก็จ่ายกระแสได้มากขึ้นแล้วครับ.

ราคาพร้อมค่าส่ง190บาท น้ำหนัก25กรัมครับ

ชุดทดสอบบอร์ดEGS002จีน

ชุดทดสอบซ่อมบอร์ดเพรียวซายEGS002

บอร์ดจีนที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย เป็นบอร์ดสร้างความถี่เพรียวซาย(puresine)มีรหัสEGS002 เริ่มแรกที่ช่างโหน่งหัดทำอินเวอร์เตอร์ก็อาศัยบอร์นี้เป็นครูและพัฒนาการออกแบบและประกอบมามากมายครับ บอร์ดตัวนี้ใช้ชิพเบอร์EG8010 ถึงแม้จะผ่านมาหลายปีแล้วบอร์ดนี้ยังได้รับความนิยมมากขึ้นนำมาประกอบเป็นอินเวอร์เตอร์จำหน่ายกันมากมายครับ แต่เมื่อเกิดการใช้งานที่เกินกำลังของอินเวอร์เตอร์และใช้บอร์ดตัวนี้ขับ เมื่อภาคเพาเวอร์ช๊อตตัวDriveในบอร์นี้ก็จะเสียด้วยคือไอซีเบอร์Ir2110หรือIr2113ซึ่งเราต้องเปลี่ยนออก แต่เมื่อเราเปลี่ยนออกแล้วก็ไม่แน่ใจว่าชิพEG8010เสียด้วยหรือไม่ ดังนี้เพื่อง่ายต่อการทดสอบช่างโหน่งจึงออกแบบชุดทดสอบบอร์ดนี้การทดสอบและวิธีถอดให้ติดตามชมในคลิปได้ครับ

ชุดทดสอบEGS002

บอร์ดEGS002ใช้แพร่หลายกันมากในปัจุปัน ในการสร้างอินเวอร์เตอร์แปลงไฟจากแบตเตอรี่เป็นไฟฟ้าโดยหัวใจสำคัญคือชิพเบอร์EG8010 เราสามารถสร้างเครื่องแปลงไฟใช้ได้เองครับ แต่เมื่อเกิดการผิดพลาดในการใช้งานตัวเพาเวอร์มอสเฟสจะพังและทำให้driverในบอร์นี้พังไปด้วย หากจะสั่งจากจีนก็ใช้เวลานาน และบอร์ดที่มีขายในเมืองไทยก็ราคาสูง ด้วยเหตุนี้หากเราซ่อมบอร์ดนี้เองได้ก็จะประหยัดเงินและเวลา พังอีกกี่ครั้งก็ซ่อมได้ครับ.

smart

ตามรูปจุดทดสอบต่างจะเป็นจั้มเปอร์ใช้เสียบและถอดออกเพื่อตรวจสอบการทำงานภาคต่างๆของบอร์ดว่ามีข้อผิดพลาดหรือไม่ ก่อนที่จะนำบอร์ดไปใช้งานต่อไปครับ.

การกระพริบของLEDแสดงว่าเกิดอะไรขึ้นกับชิพ

1.กระพริบ 2 ครั้ง กระแสเกินที่ขา S ของมอสเฟส (0.5มิลิโวลท์บนบอร์ด) IFB

2.กระพริบ 3 ครั้ง ไฟเอซี220ที่ป้อนกลับมาเกิน (3 โวลท์บนบอร์ด)VFB

3.กระพริบ 4 ครั้ง ไฟเอซี220ที่ป้อนกลับมาต่ำกว่า (3 โวลท์บนบอร์ด) VFB

4.กระพริบ 5 ครั้ง อุณหภูมิเกินมากกว่า 80 องศา (ไฟเกิน 4.2 โวลท์บนบอร์ด) TFB


โมดูลคอนเวอร์เตอร์TM51

โมดูลคอนเวอตเตอร์TM51 24-48vdc out 300vdc

โมดูลแปลงไฟจากแผงโดยตรงเป็นไฟไฮโวลท์ครับใช้แผง280-330วัตต์แปลงเป็นไฟไฮโวลท์ดีซีได้เลยครับ ไฟเข้า24ถึง48โวลท์ จะใช้แบตก็ได้ครับ ซื้อเก็บไว้นานจนลืม จัดเก็บของในบ้านใหม่เลยเจอจึงนำออกมาแบ่งปันกันใช้งานครับ สามารถใช่งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นสวิทชิ่ง220โวลท์ได้เลยครับ.

………………………………………..

วงจรTm51

…………………………………………

โมดูลแปลงไฟจากแผงโดยตรง ใช้แผง 280-330วัตต์ ไฟออก 300 โวลท์ดีซี พร้อมคอย์และวงจร