คลังเก็บหมวดหมู่: ซ่อมสร้างอินเวอร์เตอร์

วงจรบอร์ด drive pure sine ของTBE

วงจรบอร์ดTBE เพรียวซาย

สำท่านที่จะซ่อมบอร์ดของอินเวอร์เตอร์TBE ซึ่งบอร์ดที่สร้างความถี่เพรียวซาย ออกแบบไม่เหมือน

บอร์ด EGS002 ที่ใช้กันทั่วไปครับ ช่างโหน่งได้ทำการซ่อมให้ลูกค้าท่านหนึ่งซึ่งปรกติก็ไม่ได้รับซ่อม

ประจำหรอกครับ มีโอกาสก็เลยแกะวงจรขาต่างๆมาเป็นแนวทางการซ่อมสำหรับท่านผู้สนใจทั่วๆไปครับ.

ขาต่างๆรุ่นนี้เป็นรุ่น 17 ขาครับ รุ่น 16 ขาก็มีครับ แต่บางขาก็ไม่ได้ใช้งาน ส่วนชิพคอนโทลเลอร์ใช้

เบอร์ EG8010 ขาบางขาก็ไม่ได้เอามาใช้งานเช่นพัดลมครับ.

………………………..

…………………………………….

แนวทางการซ่อมและทดสอบบอร์ด

1.เมื่ออินเวอร์เตอร์พังถ้าพังที่ภาคจ่ายไฟออก220โวลท์AC ส่วนมากเพาเวอร์มอสเฟสก็จะพังและบอร์ดไดร์ตัวนี้ก็จะพังไปด้วยครับ ดังนั้นเราต้องตรวจสอบบอร์ดตัวนี้ก่อน

2.บอร์ตัวนี้จะมีIC Drive เบอร์ IR2110 อยู่ 2 ตัว หากไม่แน่ใจตัวใหนเสียใหนเปลี่ยนทั้ง 2 ตัวเลยครับ

3.เมื่อถอด IC Drive ตัวนี้ออกแลัว(ดูวิธีถอด)ให้วัดความถี่ที่ออกมาก่อนที่ขาIC ขา 12และ14 ก่อนใส่

IC เข้าไปเพื่อตรวจสอบว่าChip Eg8010 เสียหรือไม่ด้วยครับ.

ICตัวแรกขา 12และ14 ความถี่ที่ได้คือ 49.99Hz ICตัวที่2 ขา 12และขา14 ความถี่ที่ได้คือ

19-22Khzครับ เมื่อวัดได้ตรงตามนี้แล้วจึงใส่ IC Drive Ir2110 เข้าไปครับ.

4.หลังจากใส่เข้าไปแล้วอย่าพึ่งใส่บอร์ดลงไปในเครื่อง ให้ทดสอบก่อนโดยต่อไฟ12โวลท์และ

5โวลท์ไปเลี้ยงวงจรตามรูปครับ.

………………………………….

ดัดแปลงสวิทชิ่ง12โวลท์ให้ปรับโวลท์ได้

แปลงสวิทชิ่ง12โวลท์ให้เป็น24โวลท์

สวิทชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย เป็นอุปกรณ์ที่แปลงไฟจาก220โวลท์เป็น12หรือ24โวลท์ แต่เนื่องด้วยราคาของ24โวลท์จะแพงกว่า ช่างโหน่งจึงทดลองเปลี่ยนค่าอุปกรณ์บางตัวในสวิทชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายเพื่อให้ได้โวลท์สูงขึ้นหรือต่ำลงโดยการเปลี่ยนค่ารีซิตเตอร์ตามรูปครับ

…………………………..

…………………………..

R17ในวงจรค่าประมาณ10K ปรับโวลท์ได้สูงสุด12โวลท์ แต่เราเปลี่ยนค่าให้น้อยลงโวลท์จะเพิ่มขึ้น ในที่นี้ช่างโหน่งต้องการ13-15โวลท์ เปลี่ยนค่าเป็น6.8K ถ้าต้องการ23-24โวลท์เปลี่ยนค่าเป็น4.7kครับ

……………………………

…………………………..

สวิทชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย12โวลท์3แอมป์ หากโวลท์สูงกระแสจะลดลงครับ โปรดระมัดระวังไฟ220โวลท์ด้วยนะครับ

อินเวอร์เตอร์2000วัตต์จีนในสมัยก่อน

ผ่าอินเวอร์เตอร์แบบ Pure Sine Wave 2000 watt ราคา15,000บาท ทำไมถึงราคาแพงจัง ตัวนี้เป็นสมัยแรกๆที่ช่างโหน่งซื้อมาติดตั้งให้ลูกค้าเมื่อหลายปีที่แล้วครับ

เมื่อแกะออกดูข้างในไม่ได้มีอะไรแตกจากอินเวอร์เตอร์แบบโมดิฟายซายน์เวฟมากนัก เพราะวงจรส่วนที่แปลงจาก12โวลท์ดีซีไปเป็นไฮโวลท์ดีซี(Hvdc)เป็นการทำงานแบบโมดิฟายซายน์เวฟ โดยนำหม้อแปลงมาผลิตไฟช่วยกัน4ตัวใช้มอสเฟสขับชุดละ4ตัว(ความจริงแค่2ตัวต่อขนานเพิ่มอีก2ตัว) เมื่อได้ไฮโวลท์ดีซีแล้วจึงนำมาแปลงเป็น 220โวลท์ pure sine wave โดยใช้ตัวขับเบอร์FGH80N60 600Volt Field Stop IGBT ตัวนี้จ่ายกระแสได้ถึง40แอมป์

เมื่อเป็นเช่นนี้หากเราสามารถสร้างโมดูลผลิตความถี่แบบ Pure Sine Wave เราก็สามารถสร้างอินเวอร์เตอร์แบบ Pure Sine Wave ได้และประหยัดเงินในกระเป๋าของท่านอีกหลายพันบาท แต่หากทำเองไม่ได้ก็ไปซื้อ อินเวอร์เตอร์แบบ Pure Sine Wave ขนาด300วัตต์เอาแบบถูกที่สุด แล้วนำเอาโมดูล Pure Sine Wave มาทำใหม่ โดยเปลี่ยนต้วขับให้จ่ายกระแสได้มากขึ้น ยังไงงบก็ไม่ถึงหมื่นแต่ท่านสามารถสร้างเองได้ตั้งแต่1000-5000วัตต์

ตัวขับภาคไฮโวลท์ดีซี เป็นแบบโมดิฟายวายน์เวฟ ใช้ไอซีสร้างความถี่ทั่วๆเช่นเบอร์ TL494 หรืออาจจะใช้เบอร์ SG3525 ก็ได้ครับเพราะไอซีเบอร์นี้มีวงจร Soft Start ด้วยเหมาะสำหรับมอเตอร์

นี้คือวงจรแผนผังการทำงานโดยรวม ดูแล้วไม่น่าจะยากสำหรับท่านใช่ไหมครับ

ผ่ากริดไท600วัตต์จีนตอน2

ช่อมกริดไทจีนราคาถูก500วัตต์

gridtie รุ่นนี้การซ่อมไม่ยากครับหากระบบควบคุมไม่เสียระบบอื่นเสียเปลี่ยนอะหลัยได้ครับ

…………………………………………….

………………………………………

ไฟแสดงผลเป็นแบบLEDทำให้เราตรวจสอบการทำงานได้ง่ายครับ

……………………………………..

………………………………………….

การผลิตแม้จะผ่านการตรวจสอบคุณภาพติดสติกเกอร์อย่างดี(QC)แต่ยังลืมเจาะน๊อตยึดมอสเฟสติดแท่นระบายความร้อนครับ.

………………………………………….

…………………………………………..

ภาคควบคุมทำงานด้วยไมโครโปรเซสเซอร์ ตระกูลPIC ต้องขอบคุณคนเขียนโปรแกรมที่คิดค้นขึ้นมาทำให้เราได้ใช้ของราคาไม่แพงครับ แต่ถึงแม้โปรแกรมสามารถใส่รหัสผ่านป้องกันไว้ในตัวชิพ แต่คนเราสามารถcopyโครงสร้างภายในได้จึงทำให้จีนผลิตออกมาแพร่หลายครับ.

………………………………………….

…………………………………………….

รายละเอียดอุปกรณ์ในภาคเอ้าพุท ค่าต่างๆแตกต่างที่เราเคยรู้กันเพื่อประโยชน์สำหรับช่างทั่วไปในการซ่อมหรือเปลี่ยนอะหลัย ช่างโหน่งจึงเขียนตำแหน่งอุปกรณ์ให้ดูครับ อุปกรณ์บางตัวเราใช้แทนได้เพราะไล่ดูตามวงจรแล้วไม่น่าแตกต่างกันมากครับ.

ลงมือซ่อมดีกว่าครับ

ก่อนอื่นgridtieนี้ต้องมีไฟ220มาป้อนเพื่อสร้างความถี่ให้ภาคไฟสูง300โวลท์ทำงานครับ เราอาจจะหาอินเวร์เตอร์อะไรก็ได้ที่ผลิตไฟ220ออกมาหรือจะใช้วิธีเสียบไฟฟ้าโดยตรงก็ได้ครับ ที่สำคัญโต๊ะทำงานต้องปูกระดาษหรือฉนวนไว้เพื่อความปลอดภัยครับ.

1.ขั่นแรกตรวจดูฟิวส์ขาดหรือไม่ ลักษณะฟิวส์กลมๆสีน้ำตาลขนาด5แอมป์ครับ หากขาดก็สันนิษฐานไว้ก่อนว่าภาคเอ้าพุทที่เกี่ยวกับไฟฟ้า220โวลท์มีปัญหาครับ.

…………………………………..

…………………………………..

2.ถอดมอสเฟสภาคเอ้าพุทออกครับ ถึงแม้วัดยังใช้ได้อยู่แต่เพื่อความแน่ใจเปลี่ยใหม่ใช้มอสเฟสเบอร์IRF740แทนครับไม่ต้องเสียเวลา เฟสตัวนี้ทนไฟได้400โวลท์10แอมป์ครับซึ่งเพียงพอสำหรับขนาด500วัตต์ครับ.

……………………………………

…………………………………….

3.วัดไดโอดตามสัญญาลักษ์ที่เขียนไว้ในตัวอะหลัยครับ แต่ส่วนมากไม่เสียครับ

4.ซ่อมภาคสร้างไฟสูง หากไม่แน่ใจให้ถอดออกวัดมอสเฟส ช่างโหน่งเองไม่เสียเวลาเปลียนใหม่ให้แอมป์สูงขึ้นใช้เบอร์IRF1404-1407แทนครับ.

5.เปลี่ยนภาคสร้างไฟสูงแล้วตรวจอีกทีว่ารอยตระกั่วที่ถอดออกมีรอยไหม้และช๊อตกันหรือไม่ครับ ใช้แว่นขยายส่องให้ละเอียดหากพลาดมางานเข้าอีกครับ.

เปลี่ยนเสร็จแล้วป้อนไฟดีซีจากแบตเข้าครับใช้ไฟ24โวลท์กำลังดี เมือเปิดสวิทไฟหลอดLEDจะทำงานติดไล่เรียงกันตามลำดับทำให้เราทราบว่าภาคควบคุมไม่เสียครับและสุดท้ายจะเหลือLED สีแดงติดอยู่สองตัวคือLOWและFAULTติดค้างอยู่ครับ แสดงว่าการซ่อมผ่าน50%แล้วครับ

………………………………………..

……………………………………….

6.ต่อไปทดสอบเสียบไฟฟ้า220โวลท์เพื่อป้อนความถี่ให้ภาคสร้างไฟสูงและวัดไฟดีซีแรงดันสูงให้ได้สูงกว่า220โวลท์ครับ ทำไมเราต้องใช้ไฟดีซีสูงกว่า220โวลท์ เหตุผลนี้ช่างโหน่งคิดเองครับโดยนิสัยของแรงดันไฟฟ้าตัวใหนที่มีแรงดันสูงกว่าจะไปดันตัวที่แรงดันต่ำกว่าครับ ซื่งระบบกริดไทก็ใช้หลักการเดียวกันต้องสร้างแรงดันไฟฟ้าให้สูงกว่าไฟบ้าน(กริด)จะสูงมากหรือน้อยแล้วแต่ออกแบบวงจรครับยิ่งแรงดันสูงมากยิ่งดันได้มากครับ แต่อย่างไรก็ตามเขาจะสร้างขีดจำกัดที่อุปกรณ์เช่น300,500,1000,วัตต์เป็นต้นครับเป็นเรื่องของการค้าขายครับ.

………………………………………

………………………………………

เมื่อเสียบไฟฟ้าLED 50Hzติดแสดงว่าผ่านอีก10%แล้วครับ

7.วัดไฟดีซีแรงดันสูงโดยวัดค่อมคอนเดนเซอร์ตัวนี้ครับจะต้องได้ไฟมากกว่า220โวลท์ดีซีครับ แสดงว่าภาคสร้างไฟสูงผ่านครับ.

……………………………………….

……………………………………………………………………………………………….

8.ใส่มอสเฟสภาคเอ้าพุทเป็นขั้นตอนสุดท้ายครับ ตรวจสอบรอยบัดกรีให้ดี ต่อหลอดไฟ100วัตต์แทนฟิวส์ก่อนครับป้องกันความผิดพลาด

เปิดไฟดีซี24โวล์ทเข้าเลี้ยงวงจร เสียบไฟฟ้า220โวลท์เข้า(เตรียมตัวถอดออกได้อย่างรวดเร็วด้วยครับ)หากไม่มีอะไรผิดพลาดหลอดจะไม่ติดสว่างเมื่อปล่อยไปสักพักหลอดจะเริ่มแดงขึ้นให้ถอดดปลั๊กออกครับแสดงว่าเครื่องเริ่มดึงกระแสการทำงานสมบูรณ์แล้วครับ ถอดหลอดไฟออกต่อฟิวส์5แอมป์แทนก็เป็นอันเสร็จสิ้นการซ่อมครับ.

วิธีถอดอุปกรณ์บนแผ่นวงจรครับ.

เนื่องจากแผ่นวงจรในปัจจุบันออกแบบเป็นแบบมีทองแดงสองด้านการถอดด้วยลวดซับตระกั่วหรือเครื่งดูดตระกั่วจะยากครับ เทคนิคก็คือพอกตระกั่วไปบนขาอุปกรณ์แล้วดึงออกจะง่ายครับเพราะความร้อนกระจายไปทั่วทุกขาครับ.

…………………………………………

ผ่ากริดไท500วัตต์จีนสีฟ้า

ผ่ากริไท500วัตต์จีน

ความเดิมจากตอนที่แล้ว เราซ่อมGrid Tieที่ใช้แรงดัน 10-28โวลท์ ตอนนี้จะกล่าวถึงการซ่อมGrid Tieที่ใฃ้แรงดันแบบAutoแรงดันได้สูงกว่าเดิมครับคือ 22-60โวลท์ดีซีครับหรือฝรั่งเรียกว่า MPPT Range (maximum power point tracking (MPPT) range)ระบบจะควบคุมและรักษาแรงดันคงที่ไม่เหมือนรุ่นที่ผ่านมาใช้mosfetรักษาแรงดันไว้ ซึ่งเป็นคอขวดที่กั้นกระแสและแรงดันถูกจำกัดด้วยmsofetครับ เมื่อซ่อมเสร็จแล้วทดสอบการทำงานด้วยแบต24โวลท์ทำงานได้ดีมากครับ ซึ่งก็หมายความว่าเราสามารถต่อกับแผงโซล่าเซลขนาด280-300วัตต์ได้อย่างสบายครับเพราะแรงดันอยู่ที่35โวลท์ นับว่าเป็นGrid Tieขนาดเล็กที่ออกแบบมาสมบูรณ์และราคาถูกด้วยครับ.

……………………………………………..

……………………………………………..

หน้าตาตัวที่ซ่อมและทดลองการทำงานครับ MPPT range DC 24-48V

……………………………………………

…………………………………………

ควบคุมการทำงานด้วยChip ตระกูลPIC ของบริษัท Microchip เบอร์ยอดนิยม 16F877 ครับ รุ่นนี้มีลูกเล่นในการแสดงผลบอกความถี่ของไฟที่เป็นGrid แบบออโต50Hzหรือ60Hz บอกOut Put ว่ามีระดับเพิ่มขึ้นหรือลดลงด้วยครับ.

………………………………………….

…………………………………………

Grid Tieตัวนี้ลูกค้าเก่าให้มาซ่อมครับ เลยได้มีโอกาสศึกษาการทำงานด้วยครับ เรามาเริ่มผ่าตัดกันดีกว่าครับ.

………………………………………..

………………………………………..

ตัวนี้ตามสภาพที่เสียหายมีฟิวระเบิดมาก่อน ช่างโหน่งจึงเริ่มซ่อมที่ภาพoutput ก่อนครับ เราถอดmosfet ออกทั้งหมดแล้ววัดดู ปรากฏว่าเสียอยู่1 ตัวครับ

ขั้นตอนการซ่อม

1.ถอดมอสเฟสเอ้าพุทออก

2.ต่อไฟดีซีเข้า ถ้าหลอดไฟติด วัดไฟดีซีแรงดันสูงที่คอนเดนเซอร์แบบเซรามิค ไฟที่ได้ประมาณ350โวลท์ แสดงว่าภาคผลิตไฟดีซีแรงดันสูงโอเคครับ

3.ไฟดีซีแรงดันสูงจะไม่ทำงานหากเราไม่เสียบไฟบ้าน ในขั้นตอนนี้โปรดระวัง ห้ามแตะต้องแผ่นวงจรครับ

4.เปิดไฟดีซีเข้า ต่อไฟบ้าน ไฟหน้าปัดกระพริบตามคู่มือ แสดงว่า CPU ยังทำงานอยู่ครับ

5.ใส่มอสเฟสที่ดีเข้าไป เปิดไฟดีซี เสียบไฟฟ้า ฟิวที่ขาดให้ต่อหลอดไฟใส้100วัตต์แทนก่อน เมื่อเปิดไฟแล้วหลอดไฟจะไม่สว่างทันทีจะค่อยสว่างขึ้นเรื่อยๆครับ แสดงว่าวงจรทำงานแล้ว แต่ถ้าจ่ายไฟฟ้าเข้ามาแล้วหลอดไฟสว่างทันที่แสดงว่ายังมีอุปกรณ์ภาคOUTPUTเสียอยู่ ตรวจสอบใหม่ให้ละเอียดอีกครั้งครับ.

…………………………………….

…………………………………….

อาการเสียฟิวส์ระเบิด แสดงว่าอุปกรณ์Grid Tie ไม่สามารถทนแรงดันไฟได้ สู้เขาไม่ได้ตัวเองเลยพังครับ

……………………………………

……………………………………

การผลิตไฟดีซีแรงดันสูงยังคงใช้สูตรเดิมอยู่ครับ ใช้หม้อแปลง3ตัวต่ออนุกรมกัน ใช้ความถี่อ้างอิงจากไฟบ้านผลิดไฟดีซีแรงดันสูงเช่นเดิม แต่เปลี่ยการควบคุมการทำงานให้โวลท์กว้างขึ้นครับโดยแม้แรงดันไฟที่เข้ามาจะสูงหรือต่ำอยู่ในช่วง20-60โวลท์แต่แรงดันเอ้าพุทก็คงที่ครับ มอสเฟสที่ใช้เป็นเบอร์ที่ทนแรงดันสูงขึ้นและจ่ายกระแสได้มากขึ้นครับ

ข้อควรระวังในการซ่อม

เนื่องจากเราต่อต่อไฟบ้านเข้ามาทดสอบด้วย ดังนั้นต้องระวังการทำงานโต๊ะทำงานและอุปกรณ์ในการตรวจวัดเป็นพิเศษครับ.

ผ่ากริดไท2000วัตต์จีน

ผ่าGridTie 2000W จีน

………………………………..

หน้าตาแบบนี้จ่ายไฟได้2000วัตต์ อาจารย์จากเมืองชลท่านซื้อมา ยังไม่ทันได้ใช้เลยครับ มันไม่ยอมทำงานตั้งแต่แรก ประกันก็ไม่มี จะทิ้งก็เสียดาย ลำบากถึงช่างโหน่งต้องผ่าตัดดูอีกแล้วครับท่าน

…………………………………

…………………………………

ด้านหลังออกแบบวงจรเรียบร้อยและใส่ลวดเสริมในรอยเชื่อมเพื่อจ่ายกระแสได้มากขึ้นครับ

…………………………………

………………………………………..

วงจรความคุมแบบเดิมๆด้วยChip Atmel ซ่อมยากพอสมควร พอจะรู้สาเหตุที่ทำให้พังแล้วครับ

………………………………………..

……………………………………….

เจ้า2ตัวนี้หละครับเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เสีย ไฟลบจากแผงจะต้องผ่านด่านนี้ก่อน ตามสเปคของครื่องกำหนดให้ใช้ไฟได้ตั้งแต่40-400โวลท์ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลทางการค้าครับ ต้องการขายให้ได้กับทุกๆท่านที่มีแผงทุกรุ่นทุกขนาดทุกๆโวลท์ ผลออกมาผู้ซื้อไปใช้งานก็เลยแย่ครับ พังตามกันเป็นแถบๆ ท่านลองคิดดูซิครับเฟส2ตัวนี้เป็นคอขวดอย่างเห็นได้ชัด ช่างโหน่งเลยตัดทิ้งแถมเอาค้อนทุบๆๆๆๆๆๆให้แตกกระจายเสร็จแล้วก็เผาทำลายแล้วเอาน้ำกรดราดอีกให้สิ้นซากครับ แค่ความคิดที่ต้องการให้การใช้งานได้โวลท์กว้างขึ้นกลับเป็นคอขวดไปปิดกั้นพลังงานที่จะนำมาใช้งาน (คิดกันไปได้หนอ…เวรจริงๆ) ตัดออกแล้วต่อไฟลบเข้าโดยตรง กำหนดให้ใช้ไฟไม่เกิน 35 โวลท์ครับ

………………………………………….

………………………………………

รูปนี้เป็นภาคจ่ายไฟสูงที่ผลิตได้จากโซล่าเซลโดยสร้างความถี่ที่อ้างอิงและสอดคล้องกันกับไฟบ้านครับ ดูแล้วก็เหมือนสวิทชิ่งอินเวอร์เตอร์ธรรมดาใช่ไหมครับ ไม่น่าจะยากสำหรับท่านนะครับ

…………………………………….

……………………………………..

รูปนี้เป็นภาคแปลงเป็นไฟตรงด้วยไดโอดทนต่อความถี่สูงครับ มีคอยล์กรองความถี่สูงอีกชั้นหนึ่งครับ กันไว้ทั้งด้านไฟบวกและไฟลบครับ

…………………………………….

…………………………………………

แผงวงจรเพิ่มเติมติดกาวไว้ในกล่องน่าจะเป็นตัวไฟป้อนกลับเพื่อตรวจสอบการทำงานครับ ขนาดโรงงานเองแท้ๆยังมีเก้าอี้เสริมอีกนะครับ

ผ่ากริดไทอินเวอร์เตอร์ข้างในมีอะไร

grid tie inverter หรืออินเวอร์เตอร์เสริมไฟบ้าน

ช่างโหน่งได้รับความอนุเคราะห์จากท่าน พ.อ.สัมพันธ์ ที่โคราช ได้ส่งกริดอินเวอร์เตอร์ขนาด 500 วัตต์มาให้ช่วยซ่อม อาการก็คือใช้งานไประยะหนึ่งฟิวส์ก็ขาดและพังใช้งานไม่ได้ ช่างโหน่งเองก็ไม่ทราบสาเหตุ อาจมีหลายสาเหตุเช่นไฟที่เข้าจากโซล่าเซลเกินกำหนด หรือ เชื่อมต่อไฟไม่ถูกเฟส ได้แต่สันนิฐาน เรามาดูการทำงานของวงจรกันครับ

วงจรทำงานก็ไม่ต่างกันกับอินเวอร์เตอร์ทั่วไปประกอบด้วยภาคผลิตความถี่เพื่อแปลงไฟจาก10-28โวลท์ดีซีให้เป็นไฟกระแสสลับโดยผ่านหม้อแปลงความถี่สูง และเปลี่ยนเป็นกระแสตรงด้วยไดโอดความถี่สูง หลังจากนั้นทำให้เป็นกระแสสลับด้วยมอสเฟส4ตัว ทั้งนี้การทำงานทั้งหมดควบคุมด้วยโมดูลตั้งแต่ภาคผลิตความถี่จนถึงดีซีเป็นไฮโวลท์ดีซี ตามผังด้านล่างครับ

……………………………………………………………………………………

มาเริ่มซ่อมกันดีกว่าครับ

ก่อนอื่นเริ่มซ่อมภาคไฟต่ำก่อนโดยถอดอุปกรณ์ภาคไฟสูงออกทั้งหมด และวัดดูว่าอุปกรณ์เสียหายหรือไม่ หลักการนี้ทำเช่นเดียวกับการซ่อมอินเวอร์เตอร์ แต่เพื่อความแน่ใจให้ถอดอุปกรณ์ออกเช็คทั้งหมด การทำงานของกริดรุ่นนี้จะอาศัยความถี่ไฟบ้านเข้ามาอ้างอิงในการผลิตความถี่ของโมดูลเพื่อจ่ายให้ภาคไฟต่ำทำงานผลิตความถี่จ่ายผ่านหม้อแปลงโดยหม้อแปลงต่ออนุกรมกันไฟออกประมาณ300โวลท์หลังจากนั้นผ่านไดโอดความถี่สูงแปลงเป็นไฟตรงหรือไฮโวลท์ดีซีนั้นเองซึ่งในจุดนี้เราสามารถดัดแปลงเอาไฮโวลท์ดีซีจากแผงโซล่าเซลเข้าโดยตรงได้ ท่านคงมองเห็นทางที่จะเพิ่มวัตต์ให้กับกริดตัวนี้แล้วใช่ไหมครับแต่ต้องระวังนะครับภาคไฟสูงนี้เชื่อมต่อกับไฟบ้านโดยตรงต้องระวังครับ

……………………………………………………………………………………………

การซ่อมภาคไฟแรงดันต่ำ

อันดับแรกเชื่อมต่อสวิทไฟโดยตรงหลังจากนั้นเชื่อมต่อไฟบ้านเข้ากับวงจรฟิวส์เราใช้หลอดไฟขนาด100วัตต์ต่อเข้าแทนก่อนเมื่อตรวจอุปกรณ์ภาคไฟต่ำเรียบร้อยแล้วจ่ายไฟเข้าวงจรจากแบตหรือแหล่งจ่ายไฟต่างๆ วัดไฟเอซีที่ออกจากหม้อแปลงแต่ละขดว่าไฟออกครบหรือไม่เราต้องใชมิเตอร์แบบเข็มนะครับเพราะความถี่สูงมิเตอร์ดิจิตอลอาจไม่ทำงาน เมื่อไฟออกครบแล้วให้วัดไฟดีซีจากบริดไดโอดไฟออกประมาณ300โวลท์หรือกว่านี้เป็นอันว่าภาคไฟต่ำทำงานปรกติครับ

การซ่อมภาคไฟแรงดันสูง

มอสเฟสภาคไฟสูงต้องทนแรงดันไฟได้ไม่ต่ำกว่า400โวลท์ส่วนทนกระแสได้มากหรือน้อยแล้วแต่ท่านจะหาได้ ในกริดตัวนี้ใช้เบอร์F30NW60Nซึ่งทนกระแสได้25แอมป์600โวลท์ กริดตัวนี้ภาคไฟสูงช๊อท3ตัวแต่เพื่อความแน่ใจช่างโหน่งเลยเปลี่ยนให้ทั้งหมด เมื่อตรวจสอบความเรียบร้อยแล้วป้อนไฟเข้าตามขั้นตอน จะเห็นหลอดไฟใส้แดงเล็กน้อยไม่สว่างแสดงว่าวงจรทำงานปรกติลองถอดไฟดีซีออกจากแหล่งจ่ายไฟ หลอดไฟจะดับ กลับกันลองป้อนเข้าไฟใหม่ หลอดจะเริ่มแดงขึ้นเป็นอันว่าการซ่อมเรียบร้อยครับ

………………………………………………………………………………

……………………………………………..

รูปนี้ของคุณชาตรี สมุทรปราการ ไหม้เสียหายมาก ช่างโหน่งเลยขอไว้ศึกษา แกะวงจรออกมาแล้วน่าจะสามารถสร้างเองได้เพราะการทำงานไม่ยาก ไม่ต่างจากอินเวอร์เตอร์ทั่วไปครับ ดูวงจรภาคไฮโวลท์ดีซีเป็นเอซีแล้วเชื่อมต่อไฟบ้านครับ

……………………………………………