คลังเก็บหมวดหมู่: ติดตั้งโซล่าเซลระบบต่างๆ

ใช้คัทเอ้ากระเบื้องทนกว่าเบรกเกอร์

บอกแล้วให้ใช้คัทเอ้ทแบบกระเบื้องก็ไม่เชื่อ

เริ่มแรกกับการติดตั้งโซล่าเซล ช่างโหน่งก็ใช้คัทเอ้าหรือสะพานไฟแบบกระเบื้อง จนถึงปัจจุบันนี้เปิดดูภาพการติดตั้งจากผู้ให้บริการหลายท่านจะเห็นว่านำคัทเอ้าแบบกระเบื้องมาใช้เป็นส่วนมากครับ.

ก็น่าดีใจที่เข้าใจกันถูกต้องครับ เพราะโซล่าเซลต้องการกระแสและแรงดันในการประจุแบต หากเราใช้การแตะกันของเบกเกอร์มีโอกาสที่จ่ายกระแสได้น้อยครับ ไม่เหมือนกับคัทเอ้าที่หนีบกันไว้ย่อมจะจ่ายกระแสได้มากกว่าใช่ไหมครับ แม้จะดูแบบบ้านนอกแต่ใช้งานได้ดีครับ.

………………………………………….

………………………………………….

ตอนนี้มีตราช้างที่ครองตลาดอยู่ครับ ราคาก็ไม่แพง ที่สำคัญใช้งานทนทานครับ ตากแดดตากฝน ก็ยังทนทานเหมือนเดิมครับ ผิดกับเบกเกอร์เมื่อใช้นานๆไปหน้าสัมผ้สก็ไม่เหนียวแน่นทองแดงก็เริ่มขึ้นสนิม บางยี่ห้อแรงกดก็อ่อนล้าทำให้จ่ายกระแสไม่เต็มที่ครับ.

…………………………………………….

……………………………………….

หน้าตาโบราณ แบนี้ครับ

………………………………………..

………………………………………..

ด้านบนตรงนี้ต้องแก้ไขขันให้แน่นครับ แกะปูนออกแล้วขันให้แน่นครับ

…………………………………………

………………………………………..

คัทเอ้าขนาด60แอมป์ แต่ใส่ฟิวส์ก้ามปูเป็น100แอมป์ครับ

ถึงไม่สวยแต่ทนทาน หากไปรับงานฝรั่งหรือหน่วยงานราชการก็คุยกันครับ แต่หากเขาไม่ยอมให้ติดก็ติดไปตามที่เขาต้องการแต่อย่ารับประกันนานนะครับเพราะในอนาคตไฟไม่พอจ่ายและเกิดปัญหาแน่นอนครับ.

สรุป

เลือกเอาครับจะเอาแบบหนีบหรือแบบแตะกันครับ แต่ถ้าทำใช้เองช่างโหน่งเลือกเอาแบบหนีบดีกว่าครับ

ติดระบบรดน้ำในสวนที่ควรรู้

การออกแบบระบบรดน้ำต้นไม้แบบสปิงเกอร์และน้ำหยดด้วยโซล่าเซล

หลายท่านมีโครงการที่จะปลูกพืชและรดน้ำด้วยโซล่าเซล แต่ละท่านแต่ละความคิดแตกต่างกันไปได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้างครับ ก่อนอื่นเราต้องศึกษาถึงพืชที่เราจะปลูกก่อนว่าต้องการน้ำมากหรือน้อยขนาดใหนครับ ต่อไปคือเงินลงทุนที่จะซื้อท่อ,วาวน้ำ,และอุปกรณ์ต่างๆ สุดท้ายคือออกแบบระบบโซล่าเซล การลงทุนควรแบ่งการลงทุนเป็นสองส่วนครับ คืออันแรกสำหรับระบบน้ำ อันที่สองระบบสูบและดันน้ำ

……………………………………………………

……………………………………………………

ขออนุญาติเจ้าของรูปด้วยนะครับ รูปข้างต้นเป็นระบบพ่นน้ำหรือเรียกว่าสปิงเกอร์ ระบบนี้ต้องใช้น้ำมากครับและที่สำคัญแรงดันน้ำต้องมากและรวดเร็วครับ หลายท่านนำเอาปัมชักมาดันน้ำ ซึ่งรอบจะช้าทำให้น้ำไม่หมุนหรือฉีดออกทั่วถึงซึ่งระบบนี้ต้องใช้ปั้มหอยโข่งหรือซัมเมริสจะดีกว่าครับ.

…………………………………………….

…………………………………………….

อีกระบบหนึ่งคือระบบน้ำหยด น้ำจะไหลจากท่อเมนผ่านท่อสาขาไปหยดใส่ต้นไม้หรือพื้นดิน ระบบนี้ไม่เปลืองน้ำแต่มีปัญหาคือการอุดตันของท่อน้ำ เพราะฉะนั้นท่อจึงออกแบบเป็นสีดำเพื่อลดการเกิดตะไคร่น้ำ และระบบนี้เราต้องเดินท่อไปมากกว่าระบบสปิงเกอร์ครับ.

ไม่ว่าจะเป็นระบบสปิงเกอร์หรือระบบน้ำหยด สิ่งสำคัญที่สุดคือท่อเมนต้องมีขนาดใหญ่ครับ ซึ่งหมายถึงการลงทุนของท่านครับ บางที่ไม่ยอมลงทุนหรือไม่รู้ระบบใช้ท่อเล็กลงทุนไปแล้วไม่ได้ผลบางท่านก็ใช้ปั้มดันช่วย แต่ก็ไม่ดีขึ้นครับ เพราะฉะนั้นอันแรกเราต้องเดินท่อเมนขนาดใหญ่ก่อนครับ.

การออกแบบใช้กับโซล่าเซล

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาสูบและดันน้ำการออกแบบต้องคำนวนปริมาณการใช้น้ำก่อนครับหรือแบบชาวบ้านก็กะเอาครับโดยลงทุนขนาดเล็ก่อนแล้วค่อยเพิ่มระบบขึ้นจนพอเพียงครับ น้ำยังไงก็รวมและเสริมกันได้ตลอดครับเมื่อเราวางท่อเมนใหญ่ไว้แล้วต่อวาวน้ำไว้สำหรับซ่อมและต่อเพิ่มเติม จึงไม่ยากที่เราจะเสริมกำลังและแรงดันน้ำได้อีกครับ.

ในแต่ละสถานที่ไม่เหมือนกันมีสูงมีต่ำแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นไม่มีสูตรสำเร็จครับเจ้าของสถาณที่ต้องลองเอาเองครับ การสูบน้ำด้วยโซล่าเซลอาจสูบน้ำจากผิวดินแหล่งน้ำธรรมชาติหรือน้ำบาดาล เมื่อสูบน้ำได้แล้วจะกักเก็บไว้หรือนำไปใช้งานเลยแล้วแต่การออกแบบและความต้องการน้ำของพืชครับ.

วิธีต่อบริคไดโอดขนานกันเพิ่มกระแส

วิธีต่อบริดไดโิอดแบบขนานกัน

……………………………………

…………………………………..

บริดไดโอด คือไดโอดสำเร็จรูปที่ต่อกันเป็นแบบแบ่งทางเข้าและทางออกให้เป็นขั่วที่แตกต่างกัน กล่าวคือเราจะป้อนไฟเข้าทางใหนไม่ว่าจะเป็นไฟกระแสสลับ(AC)หรือไฟกระแสตรง(DC)ภายในบริดไดโอดจะบังคับให้ไฟนั้นออกไปเป็นไฟบวกและไฟลบเสมอครับ.

…………………………………………

………………………………………..

ตามรูปแสดงให้เห็นการทำงานของบริดไดโอด ซึ่งถึงแม้ว่าเราจะต่อไฟทางเข้าเป็นอย่างไร แต่ไฟทางออกก็เหมือนเดิมตลอด ดังนั้นเราสามารถต่อขนานกันได้โดยเอาขั่วที่เหมือนกันมารวมกัน ซึ่งหมายความว่าเราเอาแหล่งผลิตไฟที่เป็นไฮโวลท์จากแผงโซล่าเซลหรือจากอินเวอร์เตอร์จีนราคาถูกมาต่อร่วมกันหลายตัวเพื่อให้ได้ไฟไฮโวลท์ออกมามีกระแสมากขึ้นพอที่จะขับปั้มน้ำหรืออินเวอร์เตอร์แบบไฮโวลท์ไปใช้งานต่อไปครับ.

ไดโอดบริดที่มีขายตามท้องตลาดที่ช่างโหน่งเห็นอย่างมากไม่เกิน80แอมป์ครับ ดังนั้นการจ่ายกระแสอาจไม่ดีพอ ทางออกก็คือเราต้องขนานบริดไดโอดเพิ่มอีกครับ จะสังเกตุเห็นว่าในระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์หากเราต่อไฟจากแผงโดยตรงไฟจะแรงกว่าที่เราต่อผ่านบริดไดโอดครับ.

หากเราต้องการกระแสมากขึ้นทางออกอีกทางหนึ่งคือเราต้องใช้ได้โอดที่มีกระแสสูงมาต่อกันตามรูปแบบบริดเช่นไดโอดขันน๊อตที่ทนกระแสได้สูงๆแทนได้อีกทางเลือกหนึ่งครับ.

สูบน้ำได้ลึกขึ้นด้วยปั้มราคาถูก

เพิ่มรอบให้ปั้มน้ำเพื่อสูบน้ำลึก

ท่านที่มีบ่อน้ำหรือบ่อบาดาลอยู่ที่ระดับ10-15เมตร แต่ไม่อยากลงทุนมาก ช่างโหน่งขอแนะนำวิธีดัดแปลงเครื่องสูบน้ำราคาถูกที่มีขายทั่วไป ซึ่งปรกติแล้วปั้มรุ่นนี้จะสูบน้ำได้ลึกสุดที่9เมตรครับ แต่จากประสพการณ์ที่เคยเห็นการสูบน้ำเกลือจากใต้ดินลึกถึง70เมตรโดยใช้เครื่องตั้ดหญ้ามาต่อเข้ากับปั้มหอยโข่งขนาดเล็กและเร่งเครื่องให้รอบสูงถึง10000รอบก็สามารถสูบน้ำเกลือขึ้นมาได้ครับ แต่สำหรับบ่อที่มีระดับน้ำ10-15เมตร เราสามารถดัดแปลงปั้มตัวนี้โดยการเพิ่มคอนเดนเซอร์ให้มากขึ้น รอบก็ของปั้มก็จะมากเพิ่มขึ้นจึงทำให้สูบน้ำได้ลึกหรือในทางกลับกันเราสามารถดันน้ำขึ้นถังได้สูงขึ้นครับ.

……………………………………………….

ข้อควรระวัง!! เนื่องจากปั้มน้ำต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้นควรหาพัดลมระบายความร้อนช่วยหรือไม่ควรเปิดปั้มติดต่อกันเป็นเวลานานๆครับ

………………………………………….

………………………………………..

การต่อคอนเดนเซอร์

คอนเดนเซอร์หรือชาวบ้านร้านค้าเรียกว่าซี(C) สำหรับคอนเดนเซอร์ของปั้มน้ำจะไม่มีขั่วบวกหรือลบ ดังนั้นเมื่อแกะออกมาเราก็ต่อแบบขนานได้เลยครับ ไม่ต้องตัดสายแต่ปลอกสายออกข้างละเส้นแล้วเชื่อมต่อตัวใหม่ ส่วนค่าความจุเราอาจจะเอาเท่าเดิมหรือมากกว่าก็ได้ครับ.