ผ่าแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์ ไดกิ้น ตอนที่1
แอร์หรือเครื่องปรับอากาศมีบทบาทในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้แล้ว เพราะความร้อนของโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งใช้แอร์ลมร้อนที่ออกมาภายนอกก็ยิ่งทำให้บริเวณนั้นร้อนกว่าปรกติ เพราะฉะนั้นบริษัทที่ผลิตแอร์ขายจึงต้องพัฒนาเพื่อช่วยกันลดความร้อนของโลกลงในขณะที่เปิดแอร์ ไม่ว่าจะเกี่ยวกันน้ำยาหรือสารทำความเย็นของแอร์ หรือระบบการทำงานของแอร์ ซึ่งช่างโหน่งเห็นว่ามีประโยชน์และอยากเปลี่ยนความคิดกับท่านที่คิดว่าแอร์ระบบนี้เสียง่ายและซ่อมยากครับ.
ทำไมต้องผ่าแอร์รุ่นนี้(วะ)
แอร์รุ่นอื่นก็มีมากมายทำไมต้องเอารุ่นนี้หรือได้เงินจ้างมาให้เขียน เหตุผลครับเดิมมีลูกค้าให้ติดตั้งแอร์รุ่นนี้กับระบบโซล่าเซลซึ่งเราจำเป็นต้องศึกษาว่าจะใช้งานอย่างไรกับโซล่าเซล หากเขาเอารุ่นอื่นยี่ห้ออื่นมาให้ก็คงว่าไปตามนั้นครับ โดยส่วนตัวก็ไม่ได้เชียร์ใคร เมื่อได้มาแล้วก็ต้องศึกษาระบบให้เข้าใจ เมื่อทำงานร่วมกับโซล่าเซลแล้วจะทำงานได้มีประสิทธิ์ภาพยิ่งขึ้นครับ.
ระบบการทำงานในแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์
ระบบอินเวอร์เตอร์คืออะไรครับ ระบบอินเวอร์เตอร์อธิบายแบบช่างบ้านนอกเข้าใจง่ายๆก็คือเป็นระบบจัดการการทำงานของแอร์ทั้งระบบการทำงานทั้งหมดมีเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปรไปได้ตามสถาณะการณ์ต่างๆไม่จำกัดเหมือนแอร์ธรรมดาครับ กล่าวคือตั้งแต่ระบบภายในห้องจนถึงนอกห้องการทำงานจะสัมพันธ์กันทั้งหมด เพราะฉะนั้นการควบคุมหรือสมองกลมีทั้งในห้องและนอกห้องครับ ด้วยเหตุนี้หากเสียหายมาช่างบ้านนอกอย่างเราคงซ่อมไมได้จึงไม่แนะนำให้ติดตั้ง แต่สำหรับช่างบ้านนอกอย่างช่างโหน่งหากอยากรู้ก็ต้องรู้ให้ได้ครับพังเป็นพังจนเมียหนีไปหลายคนแล้วครับ(555)เพราะรื้ออย่างเดียวจนบ้านไม่มีที่เก็บรกรุ่งรังประสาช่าง แต่จัยมันรักก็ต้องลุยครับ.
ระบบการทำงานภายในห้อง
คอล์ยเย็นเป็นภาษาชาวบ้านเรียกกัน คือส่วนที่ทำให้ลมเย็นพัดออกมาและนำอากาศร้อนภายในห้องดูดมาผ่านคอล์ยเย็นนำความเย็นออกไปหมุนเวียนกันอยู่อย่างนี้จนกว่าเงื่อนไขที่ตั้งไว้คืออุณหภูมิของห้องได้ตามต้องการ เช่นที่21องศา ระบบก็จะหยุดการทำงานผลิตความเย็น ข้อแตกต่างกับระบบเก่าคือเมื่อความเย็นได้ตามต้องการคอมเพรสเซอร์ภายนอกห้องจะหยุดการทำงานทั้งหมดและจะเริ่มใหม่เมื่อภายในห้องสั่งงานมา เมื่อเริ่มทำงานใหม่คอมเพรสทำงานที่กำลังงานเท่าเดิมแต่อาจทำไม่นานเพราะความเย็นภายในห้องมีบ้างแล้ว แต่ตอนที่เริ่มทำงานจะกินไฟมากทุกครั้งครับ.
ส่วนการทำงานของระบบอินเวอร์เตอร์ตามที่กล่าวข้างต้นระบบจะทำงานตามเงื่อนไขต่างๆเช่นเมื่อเราตั้งไว้ที่21องศาเมื่อความเย็นภายในห้องได้แล้วจะสั่งงานไปยังภายนอกห้องชุดคอล์ยร้อนหรือคอมเพรสเซอร์ก็จะชะลอการทำงานเพื่อรอรับคำสั่งต่อไปซึ่งแตกต่างกับแอร์ระบบเก่าจะหยุดการทำงานทั้งหมดครับ
ระบบการทำงานภายนอกห้อง
เมื่อภายในห้องสั่งให้ชะลอการทำงานในระหว่างนี้ภายนอกห้องหรือส่วนของคอมเพรสเซอร์จะบริหารงานของตัวเองไประหว่างรอรับคำสั่ง
1.ปรับความดันน้ำยาภายในคอมเพรสเซอร์โดยคอมจะทำงานแต่รอบไม่สูงอัดฉีดสารทำความเย็นเข้าไปเรื่อยๆแต่ไม่มากจึงทำให้มีความเย็นสม่ำเสมอ หากความร้อนในห้องเพิ่มขึ้นมากคอมเพรสเซอร์ก็จะอัดฉีดสารทำความเย็นมากขึ้นครับ ซึ่งคอมเพรสเซอร์สำหรับนี้จะเป็นคอมเพรสเซอร์แบบ 3เฟส สามารถปรับความเร็วได้เช่นกันครับ.
………………………………………………
………………………………………………..
2.ปรับความดันน้ำยาโดยใช้วาวแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือฝรั่งเรียกว่า Electronic Expansion Valve อิเล็กทรอนิกส์ เอ็กแพนชั่น วาว ซึ่งวาวตัวนี้จะทำหน้าที่จ่ายน้ำยาแอร์อย่างเหมาะสมกับการทำงานของคอมเพรสเซอร์และตัวฉีดน้ำยาให้มีสถานะเป็นไอที่อยู่ในคอล์ยเย็น ให้น้ำยาไหลเวียนคงที่ไม่มากและไม่น้อยเกินไป การทำงานของคอมเพรสเซอร์ก็ไม่หนักจึงทำให้ประหยัดไฟครับ.
……………………………………………..
……………………………………………..
3.ตรวจความร้อนของแผงระบายความร้อนพัดลมที่เป่าคอล์ยร้อนตามปรกติระบบเก่าจะหมุนที่รอบเท่าเดิมกินไฟเท่าเดิม แต่ระบบอินเวอร์เตอร์จะตรวจสอบความร้อนหากร้อนมากก็จะหมุนเร็วหากร้อนน้อยก็จะหมุนช้าจึงทำให้กินไฟน้อยครับ ซึ่งพัดลมสำหรับคอล์ยร้อนเป็นมอเตอร์แบบแม่เหล็กไม่มีแปลงถ่านหรือเรียกย่อว่าBLDC(Brushless DC mortor)การทำงานจะปรับความเร็วรอบได้ตลอดครับ.
……………………………………………
……………………………………………
4.ตรวจสอบความร้อนนอกห้อง ปรกติแอร์ระบบเก่าไม่มีการตรวจสอบความร้อนนอกห้องจะร้อนมากหรือน้อยกูทำงานอย่างเดียว ส่วนระบบอินเวอร์เตอร์จะมีเงื่อนไขต่างๆเข้ามาสัมพันธ์กันมากมายจนช่างปวดหัว การตรวจสอบอุณหภูมินอกห้องเพื่อเป็นข้อเปรียบเทียบเพื่อการทำงานของพัดลมคอล์ยร้อนทำงานถูกต้องอย่างแม่นยำบางครั้งคอล์ยร้อนความร้อนไม่มากพัดลมจึงไม่จำเป็นต้องทำงาน คืออากาศข้างนอกอาจะร้อนมึงก็ร้อนไป แต่คอล์ยร้อนกูไม่ร้อนพัดลมก็ไม่ทำงานหรือทำงานน้อยลง(อย่ามาหลอกกันเสียให้ยากเฟ้ย..) แต่ถ้าระบบเสียมาช่างปวดหัวแน่ๆ
…………………………………………..
…………………………………………..
5.ตรวจอุณหภูมิความร้อนสถานะของน้ำยาแอร์ ที่ออกจากคอมเพรสเซอร์ก่อนเข้าคอลย์ร้อนเพื่ออัดฉีดจากคอมเพรสเซอร์สถานะแก๊สแรงดันสูงไปยังคอล์ยร้อนระบายความร้อนและให้เปลี่ยนสถานะแก๊สเป็นของเหลวแรงดันต่ำผ่านตัวฉีดหรือเรียกว่าแค๊ปทิ้วในคอยเย็นในห้อง พัดลมในคอล์ยเย็นก็พัดเอาความเย็นออกไปและหมุนเวียนเอาความร้อนในห้องเข้ามาครับ.
…………………………………………..
…………………………………………..
การทำงานของแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์นอกห้อง(ชุดคอมเพรสเซอร์)
แอร์ระบบอินเวอร์เตอร์นี้จำเป็นต้องใช้สมองกลมาควบคุมดังนั้นต้องมีวงจรอิเล็กทรอนิกส์มาเกี่ยวข้องครับ ช่างแอร์ที่ไม่มีความชำนาญไม่ศึกษาเพิ่มเติมในอนาคตก็จะลำบากครับ แต่อย่างไรก็ตามแต่ละยี่ห้อเขามีตรางโค๊ด (Error Code)ซึ่งเมื่อการทำงานของแอร์ขัดข้องก็จะแสดงผลที่แผ่นวงจรควบคุมอาจจะแสดงด้วยตัวเลขหรือการกระพริบของไฟ ทำให้ช่างพอที่จะรู้บริเวณที่เสียได้โดยง่าย หรือสอบถามบริษัทเกี่ยวกับอาการได้ง่ายขึ้นครับ.
………………………………………..
……………………………………….
ตามรูปแผงวงจรก็ไม่ต่างจากวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ประกอบด้วยหน่วยประมวลผลกลาง(CPU)ภาคตรวจสอบ ภาคขับมอเตอร์ ภาคจ่ายไฟ ซึ่งหากเราแบ่งการศึกษาออกเป็นส่วนๆแล้วจะเข้าในการทำงานมากขึ้นครับ และเมื่อเกิดปัญหามาเรารู้จุดที่จะต้องตรวจซ่อมครับ ไม่ใช่เอะอะ อะไรก็เปลี่ยนเปลี่ยนบอร์ด เปลี่ยนอย่างเดียวเบิกเงินลูกค้าไปแทบจะซื้อแอร์ใหม่ได้ก็มีครับ บางรายซ่อมไม่ได้ก็ทิ้งงานไปก็มีครับ.
ส่วนที่ 1 ตามรูปเป็นหัวใจสำคัญในการสั่งการต่างให้คอมเพรสเซอร์ทำงานหรือพัดลมทำงานหรือวาวปิดเปิดน้ำยา และยังรับข้อมูลทั้งจากในห้องจากตัวเซ็นเซอร์ตรวจสอบต่างๆมาประมวลผลไว้ที่นี่ครับ โดยปรกติเสียยากถ้าไม่ถูกฟ้าผ่าและบนแผ่นวงจรยังเคลือบเรซินกันความชื้นและละอองน้ำไว้อีกครับ.
ส่วนที่ 2 ตามรูปเป็นไอซีสำหรับขับพัดลมคอล์ยร้อนครับ หากพัดลมไม่หมุนก็ตรวจสอบสัญญาณที่นี่ครับ
ส่วนที่ 3 ตามรูปเป็นโมดูลขับคอมเพรสเซอร์ ซึ่งเป็นมอเตอร์แบบ 3 เฟสครับ สามารถปรับความเร็วได้คอมเพรสเซอร์ทำงานตลอดแต่ไม่กินไฟมากครับเพราะเดินอัดน้ำยาไปเรื่อยๆ
ส่วนที่ 4 ตามรูปเป็นส่วนของการแปลงไฟจากไฟฟ้าในบ้านให้เป็นไฟกระแสตรงแบบแบตเตอรรี่ แรงดันที่ได้อยู่ประมาณ300-350โวลท์ครับ จากการที่แอร์ทำงานด้วยไฟดีซีแรงดันสูงหากนำมาใช้กับโซล่าเซลโดยตรงก็จะกินกระแสน้อยลง ซึ่งช่างบ้านนอกต้องทดลองต่อไปครับ.
……………………………………………
…………………………………………..
ในภาคจ่ายไฟนี้จะมีหม้อแปลงขดเดียวทำหน้าที่เป็นโช๊คเหนี่ยวนำไฟฟ้าให้เกิดความยืดหยุ่นการกระชากของไฟไฟตกไฟเกินเป็นการป้องกันแบบง่ายๆไม่ซับซ้อนครับ.
ส่วนที่ 5 ตามรูปเป็นส่วนป้องกันจากฟ้าผ่าและคลื่นรบกวนที่จะเข้ามาจากไฟฟ้าครับเราต่อไฟ220โวลท์เข้าที่นี่โดยตรง
ส่วนที่ 6 ตามรูปเป็นส่วนสื่อสารกันระหว่างภายในห้องกับภายนอกห้องโดยภายสายไฟฟ้าที่เดินเข้าหากันใช้สายไฟเพียงเส้นเดียวครับ การเชื่อมต่อสายไฟต้องระมัดระวังห้ามผิดเด็ดขาด
…………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………..
แผนผังวงจรไฟฟ้าแสดงการต่อสายไฟไปยังจุดต่างๆ
การทำงานของระบบโดยทั่วไป
เมื่อเราจ่ายไฟเข้าเครื่องพัดลมคอล์ยเย็นจะทำงาน ตรวจสอบระบบต่างได้ด้วยรีโมทซึ่งรีโมทนี้มีความสำคัญมากหากชำรุดไปการสั่งงานบางอย่างอาจทำไม่ได้ครับ เมื่อเวลาผ่านไป3-5นาทีพัดลมคอล์ยร้อนก็ค่อยหมุนและแรงขึ้น ความเย็นในห้องค่อยๆเย็นขึ้นตามลำดับครับ
สำหรับการกินกระแสไฟแอร์รุ่นนี้เท่าที่ทดลองมามี 2 ขนาดคือ 9800 Btu จะกินเต็มที่ที่ 3 แอมป์ และขนาด 12000ฺ Btu จะกินไฟเต็มที่ ที่ 7 แอมป์ครับ หลังจากความเย็นในห้องมีมากขึ้นการกินไฟก็จะลดลง ในตอนกลางคืนเหลือไม่ถึง 1 แอมป์ครับ ซึ่งประหยัดไฟมาก
เนื่องจากช่างโหน่งไม่ใช่ช่างแอร์ไม่มีความรู้ด้านแอร์มาก่อนอาศัยการทดลองเท่านั้นครับ หากในบทความผิดพลาดตามหลักวิชาการไปก็ต้องขออภัยท่านผู้รู้ด้วยครับ คงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับมือใหม่พอคำทางได้โดยไม่เสียเวลามากครับ.
ในตอนต่อไปจะอธิบายระบบในห้องคอล์ยเย็นและการใช้งานร่วมกับโซล่าเซลระบบไฮบริดครับ