เรื่องทั้งหมดโดย kajhonphol

ใช้คัทเอ้ากระเบื้องทนกว่าเบรกเกอร์

บอกแล้วให้ใช้คัทเอ้ทแบบกระเบื้องก็ไม่เชื่อ

เริ่มแรกกับการติดตั้งโซล่าเซล ช่างโหน่งก็ใช้คัทเอ้าหรือสะพานไฟแบบกระเบื้อง จนถึงปัจจุบันนี้เปิดดูภาพการติดตั้งจากผู้ให้บริการหลายท่านจะเห็นว่านำคัทเอ้าแบบกระเบื้องมาใช้เป็นส่วนมากครับ.

ก็น่าดีใจที่เข้าใจกันถูกต้องครับ เพราะโซล่าเซลต้องการกระแสและแรงดันในการประจุแบต หากเราใช้การแตะกันของเบกเกอร์มีโอกาสที่จ่ายกระแสได้น้อยครับ ไม่เหมือนกับคัทเอ้าที่หนีบกันไว้ย่อมจะจ่ายกระแสได้มากกว่าใช่ไหมครับ แม้จะดูแบบบ้านนอกแต่ใช้งานได้ดีครับ.

………………………………………….

………………………………………….

ตอนนี้มีตราช้างที่ครองตลาดอยู่ครับ ราคาก็ไม่แพง ที่สำคัญใช้งานทนทานครับ ตากแดดตากฝน ก็ยังทนทานเหมือนเดิมครับ ผิดกับเบกเกอร์เมื่อใช้นานๆไปหน้าสัมผ้สก็ไม่เหนียวแน่นทองแดงก็เริ่มขึ้นสนิม บางยี่ห้อแรงกดก็อ่อนล้าทำให้จ่ายกระแสไม่เต็มที่ครับ.

…………………………………………….

……………………………………….

หน้าตาโบราณ แบนี้ครับ

………………………………………..

………………………………………..

ด้านบนตรงนี้ต้องแก้ไขขันให้แน่นครับ แกะปูนออกแล้วขันให้แน่นครับ

…………………………………………

………………………………………..

คัทเอ้าขนาด60แอมป์ แต่ใส่ฟิวส์ก้ามปูเป็น100แอมป์ครับ

ถึงไม่สวยแต่ทนทาน หากไปรับงานฝรั่งหรือหน่วยงานราชการก็คุยกันครับ แต่หากเขาไม่ยอมให้ติดก็ติดไปตามที่เขาต้องการแต่อย่ารับประกันนานนะครับเพราะในอนาคตไฟไม่พอจ่ายและเกิดปัญหาแน่นอนครับ.

สรุป

เลือกเอาครับจะเอาแบบหนีบหรือแบบแตะกันครับ แต่ถ้าทำใช้เองช่างโหน่งเลือกเอาแบบหนีบดีกว่าครับ

ติดระบบรดน้ำในสวนที่ควรรู้

การออกแบบระบบรดน้ำต้นไม้แบบสปิงเกอร์และน้ำหยดด้วยโซล่าเซล

หลายท่านมีโครงการที่จะปลูกพืชและรดน้ำด้วยโซล่าเซล แต่ละท่านแต่ละความคิดแตกต่างกันไปได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้างครับ ก่อนอื่นเราต้องศึกษาถึงพืชที่เราจะปลูกก่อนว่าต้องการน้ำมากหรือน้อยขนาดใหนครับ ต่อไปคือเงินลงทุนที่จะซื้อท่อ,วาวน้ำ,และอุปกรณ์ต่างๆ สุดท้ายคือออกแบบระบบโซล่าเซล การลงทุนควรแบ่งการลงทุนเป็นสองส่วนครับ คืออันแรกสำหรับระบบน้ำ อันที่สองระบบสูบและดันน้ำ

……………………………………………………

……………………………………………………

ขออนุญาติเจ้าของรูปด้วยนะครับ รูปข้างต้นเป็นระบบพ่นน้ำหรือเรียกว่าสปิงเกอร์ ระบบนี้ต้องใช้น้ำมากครับและที่สำคัญแรงดันน้ำต้องมากและรวดเร็วครับ หลายท่านนำเอาปัมชักมาดันน้ำ ซึ่งรอบจะช้าทำให้น้ำไม่หมุนหรือฉีดออกทั่วถึงซึ่งระบบนี้ต้องใช้ปั้มหอยโข่งหรือซัมเมริสจะดีกว่าครับ.

…………………………………………….

…………………………………………….

อีกระบบหนึ่งคือระบบน้ำหยด น้ำจะไหลจากท่อเมนผ่านท่อสาขาไปหยดใส่ต้นไม้หรือพื้นดิน ระบบนี้ไม่เปลืองน้ำแต่มีปัญหาคือการอุดตันของท่อน้ำ เพราะฉะนั้นท่อจึงออกแบบเป็นสีดำเพื่อลดการเกิดตะไคร่น้ำ และระบบนี้เราต้องเดินท่อไปมากกว่าระบบสปิงเกอร์ครับ.

ไม่ว่าจะเป็นระบบสปิงเกอร์หรือระบบน้ำหยด สิ่งสำคัญที่สุดคือท่อเมนต้องมีขนาดใหญ่ครับ ซึ่งหมายถึงการลงทุนของท่านครับ บางที่ไม่ยอมลงทุนหรือไม่รู้ระบบใช้ท่อเล็กลงทุนไปแล้วไม่ได้ผลบางท่านก็ใช้ปั้มดันช่วย แต่ก็ไม่ดีขึ้นครับ เพราะฉะนั้นอันแรกเราต้องเดินท่อเมนขนาดใหญ่ก่อนครับ.

การออกแบบใช้กับโซล่าเซล

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาสูบและดันน้ำการออกแบบต้องคำนวนปริมาณการใช้น้ำก่อนครับหรือแบบชาวบ้านก็กะเอาครับโดยลงทุนขนาดเล็ก่อนแล้วค่อยเพิ่มระบบขึ้นจนพอเพียงครับ น้ำยังไงก็รวมและเสริมกันได้ตลอดครับเมื่อเราวางท่อเมนใหญ่ไว้แล้วต่อวาวน้ำไว้สำหรับซ่อมและต่อเพิ่มเติม จึงไม่ยากที่เราจะเสริมกำลังและแรงดันน้ำได้อีกครับ.

ในแต่ละสถานที่ไม่เหมือนกันมีสูงมีต่ำแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นไม่มีสูตรสำเร็จครับเจ้าของสถาณที่ต้องลองเอาเองครับ การสูบน้ำด้วยโซล่าเซลอาจสูบน้ำจากผิวดินแหล่งน้ำธรรมชาติหรือน้ำบาดาล เมื่อสูบน้ำได้แล้วจะกักเก็บไว้หรือนำไปใช้งานเลยแล้วแต่การออกแบบและความต้องการน้ำของพืชครับ.

วิธีต่อบริคไดโอดขนานกันเพิ่มกระแส

วิธีต่อบริดไดโิอดแบบขนานกัน

……………………………………

…………………………………..

บริดไดโอด คือไดโอดสำเร็จรูปที่ต่อกันเป็นแบบแบ่งทางเข้าและทางออกให้เป็นขั่วที่แตกต่างกัน กล่าวคือเราจะป้อนไฟเข้าทางใหนไม่ว่าจะเป็นไฟกระแสสลับ(AC)หรือไฟกระแสตรง(DC)ภายในบริดไดโอดจะบังคับให้ไฟนั้นออกไปเป็นไฟบวกและไฟลบเสมอครับ.

…………………………………………

………………………………………..

ตามรูปแสดงให้เห็นการทำงานของบริดไดโอด ซึ่งถึงแม้ว่าเราจะต่อไฟทางเข้าเป็นอย่างไร แต่ไฟทางออกก็เหมือนเดิมตลอด ดังนั้นเราสามารถต่อขนานกันได้โดยเอาขั่วที่เหมือนกันมารวมกัน ซึ่งหมายความว่าเราเอาแหล่งผลิตไฟที่เป็นไฮโวลท์จากแผงโซล่าเซลหรือจากอินเวอร์เตอร์จีนราคาถูกมาต่อร่วมกันหลายตัวเพื่อให้ได้ไฟไฮโวลท์ออกมามีกระแสมากขึ้นพอที่จะขับปั้มน้ำหรืออินเวอร์เตอร์แบบไฮโวลท์ไปใช้งานต่อไปครับ.

ไดโอดบริดที่มีขายตามท้องตลาดที่ช่างโหน่งเห็นอย่างมากไม่เกิน80แอมป์ครับ ดังนั้นการจ่ายกระแสอาจไม่ดีพอ ทางออกก็คือเราต้องขนานบริดไดโอดเพิ่มอีกครับ จะสังเกตุเห็นว่าในระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์หากเราต่อไฟจากแผงโดยตรงไฟจะแรงกว่าที่เราต่อผ่านบริดไดโอดครับ.

หากเราต้องการกระแสมากขึ้นทางออกอีกทางหนึ่งคือเราต้องใช้ได้โอดที่มีกระแสสูงมาต่อกันตามรูปแบบบริดเช่นไดโอดขันน๊อตที่ทนกระแสได้สูงๆแทนได้อีกทางเลือกหนึ่งครับ.

สูบน้ำได้ลึกขึ้นด้วยปั้มราคาถูก

เพิ่มรอบให้ปั้มน้ำเพื่อสูบน้ำลึก

ท่านที่มีบ่อน้ำหรือบ่อบาดาลอยู่ที่ระดับ10-15เมตร แต่ไม่อยากลงทุนมาก ช่างโหน่งขอแนะนำวิธีดัดแปลงเครื่องสูบน้ำราคาถูกที่มีขายทั่วไป ซึ่งปรกติแล้วปั้มรุ่นนี้จะสูบน้ำได้ลึกสุดที่9เมตรครับ แต่จากประสพการณ์ที่เคยเห็นการสูบน้ำเกลือจากใต้ดินลึกถึง70เมตรโดยใช้เครื่องตั้ดหญ้ามาต่อเข้ากับปั้มหอยโข่งขนาดเล็กและเร่งเครื่องให้รอบสูงถึง10000รอบก็สามารถสูบน้ำเกลือขึ้นมาได้ครับ แต่สำหรับบ่อที่มีระดับน้ำ10-15เมตร เราสามารถดัดแปลงปั้มตัวนี้โดยการเพิ่มคอนเดนเซอร์ให้มากขึ้น รอบก็ของปั้มก็จะมากเพิ่มขึ้นจึงทำให้สูบน้ำได้ลึกหรือในทางกลับกันเราสามารถดันน้ำขึ้นถังได้สูงขึ้นครับ.

……………………………………………….

ข้อควรระวัง!! เนื่องจากปั้มน้ำต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้นควรหาพัดลมระบายความร้อนช่วยหรือไม่ควรเปิดปั้มติดต่อกันเป็นเวลานานๆครับ

………………………………………….

………………………………………..

การต่อคอนเดนเซอร์

คอนเดนเซอร์หรือชาวบ้านร้านค้าเรียกว่าซี(C) สำหรับคอนเดนเซอร์ของปั้มน้ำจะไม่มีขั่วบวกหรือลบ ดังนั้นเมื่อแกะออกมาเราก็ต่อแบบขนานได้เลยครับ ไม่ต้องตัดสายแต่ปลอกสายออกข้างละเส้นแล้วเชื่อมต่อตัวใหม่ ส่วนค่าความจุเราอาจจะเอาเท่าเดิมหรือมากกว่าก็ได้ครับ.

ดัดแปลงเครื่องตั้งเวลาใช้ไฟ12โวลท์ดีซี

แปลงเครื่องตั้งเวลาของจีนให้ใช้สำหรับไฟ12โวลท์โดยตรง

เครื่องตั้งเวลาของจีนรุ่นนี้สามารถตั้งเวลาได้8โปรแกรมช่างโหน่งนำมาใช้งานกับงานโซล่าเซลจำเป็นที่เราจะต้องเปลี่ยนให้มาใช้งานได้กับไฟ12โวลท์ดีซีเห็นว่าเป็นประโยชน์จึงนำมาเผยแพร่ครับ เพียงแต่เราเปลี่ยนค่ารีซิตเตอร์ออกให้เป็น10Kและเปลี่ยนรีเลย์ให้เป็น9-12โวลท์ เชื่อมต่อสายไฟบวกและลบตามรูปก็สามารถใช้งานได้ครับ จุดเสียของเครื่องตั้งเวลารุ่นนี้แบตสำหรับเก็บข้อมูลที่ติดมากับเครื่องจะหมดเร็ว ช่างโหน่งจึงเปลี่ยนใหม่อายุอยู่ประมาณ3ปีครับ

…………………………………………………….

……………………………………………………

เปลี่ยนรีซิตเตอร์และรีเลย์ครับ และแบตเตอรี่backup ไม่ต้องเปลี่ยน แต่ตัดรีซิตเตอร์1Kออก แต่การใช้งานไม่นานเท่ากับเปลี่ยนครับ

……………………………………………..

……………………………………………….

ดัดแปลงเสร็จลงกล่องใช้ปิดเปิดไฟส่องถนนครับ

เทคนิคติดตั้งโซล่าเซลใช้งานไม่ใช้แบต

เทคนิคการติดตั้งโซล่าเซลแบบไม่ใช้แบต

การติดตั้งโซล่าเซลอีกแบบหนึ่งที่ไม่ใช้แบตเตอรี่ ลลดค่าใช้จ่ายไปได้ส่วนหนึ่งครับ แต่ข้อเสียอาจจะทำงานไม่คงที่เมื่อแดดอ่อน แต่เราสามารถแก้ไขได้โดยการเพิ่มแผงเพื่อให้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นทำงานได้ แม้แดดอ่อนๆครับ.

การติดตั้งมี2ระบบ

1.ระบบแรงดันต่ำใช้หม้อแปลงแกนเหล็ก

ในที่นี้จะขอกล่าวถึงการใช้งานของแผง300วัตต์ แผงที่พบในปัจจุบัน จะจ่ายไฟได้ประมาณ35โวลท์อยู่ระหว่างนี้ ดังนั้นเราต้องออกแบบตัวแปลงไฟให้ทำงานได้อยู่ที่24-40โวลท์ครับ ในทางปฎิบัติเมื่อเราต้องโหลดหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้าไป จะพบว่าแรงดัน(โวลท์)และกระแสจะลดลง แผงส่วนมากจะจ่ายกระแสได้ที่4-5แอมป์ แม้ฉลากในแผงจะระบุว่า8แอมป์ก็ตาม เมื่อต่อโหลดเข้าแรงดันและกระแสจะต้องลดลงครับ.

คำนวนการใช้ไฟจากแผงระบบแรงดันต่ำ

ตามสูตรของช่างโหน่งจะเป็น1ต่อ15 คือหากต้องการใช้ไฟเอซีที่กินกระแส 1 เราต้องใช้ไฟดีซสามารถจ่ายกระแสได้ 15 แอมป์ครับ อันนี้บอกไว้ก่อนนะครับจะถูกหรือผิดหรือไม่ตรงตามทฤษฎีก็หาข้อมูลเอาเอง แต่ตามที่เคยทดลองมาประมาณนี้ครับ ดังนั้นแผง300 วัตต์ 1 แผงจะจ่ายไฟเอซี220โวลท์ได้ที่ 5*1/15=0.4 หรือเ่ทากับ 400มิลแอมป์ของเอซีครับ.

เครื่องใช้ไฟฟ้าเรากินกระแสที่3แอมปเอซี ก็เท่ากับว่าเราต้องใช้ไฟดีซีที่จ่ายกระแสได้ 15*3=45 แอมป์ แผง300วัตต์คำนวนจ่ายกระแสได้ที่ 5 แอมป์ ดังนั้นเราต้องใชแผงขนานกันเท่ากับ 45/5=9แผงครับ อันนี้ช่างโหน่งคำนวนที่ต่ำสุด ในทางปฎิบัติเราอาจจะทดลองที่น้อยแผงก่อนแล้วค่อยเพิ่มจนเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นทำงานได้ดีที่สุดครับ.

ซึ่งระบบแรงดันต่ำนี้เหมาะสำหรับงานที่ไม่ต้องการกระแสมาก อาจจะใช้สัก2-3แผงก็พอ สำงานสูบน้ำขนาดเล็ก หรือเปิดพัดลมในคอกปศุสัตว์เป็นต้นครับ.

2.ระบบแรงดันสูง

ระบบนี้ต่อแผงแบบอนุกรมกันครับ ตามที่ได้ทดลองการต่ออนุกรม9แผง ได้ไฟ325โวลท์หรือมากกว่านี้ เรานำไฟนี้มาเข้าอินเวอร์เตอร์แบบไฮโวลท์เพรียวซายเวพซึ่งช่างโหน่งออกแบบไว้สามารถจ่ายกระแสได้ถึง10แอมป์ ข้อดีของระบบนี้คืออัตตราการกินกระแสทางด้านอินพุทน้อยกว่าแบบแรก เช่นทางด้านเอ้าพุทที่แปลงเป็นAC แล้วกินกระแสที่4แอมป์ แต่ทางด้านดีซีอินพุทจะกินกระแสประมาณ1.2แอมป์ดีซีครับ ซึ่งยังมีกระแสเหลือที่จะจ่ายได้อีก3-4แอมป์ดีซีที่325โวลท์ แต่เราต้องเผื่อไว้เมื่อตอนแดดอ่อนด้วยนะครับ.

ระบบนี้เป็นไฟแรงดันสูงการติดตั้งต้องระวังเรื่องการกระโดดเข้าหากันของไฟแรงสูงด้วยนะครับ ข้อเสียคือใช้แผงเยอะ แต่เนื้องจากแผงราคาถูกลงและไม่ต้องยุ่งยากกับแบตซึ่งต้องดูแลรักษา เผลอลืมเติมน้ำกลั่นแบตก็พัง บ้านช่างโหน่งใช้ระบบนี้สะดวกกว่าเดิมมาก ในตอนกลางคืนใช้แบตเพียง2ลูก เพื่อเปิดแสงสว่าง,พัดลม,ทีวี ก็พอเพียงครับ.

เราใช้พลังงานเฉพาะกลางวันครับ

มีหลายท่านไม่เข้าใจถามต่อมาอีกว่าแล้วกลางคืนหละจะใช้อย่างไร อันนี้ท่านต้องไปหาอ่านบทความต่างๆทช่างโหน่งเขียนไว้ ในที่นี้จะเน้นเฉพาะกลางวันครับ

ตัวอย่างการใช้งาน

…………………………………………………….

…………………………………………………….

สนใจระบบสอบถาม ช่างโหน่ง โทร.0887666003

Line ID 0887666003

วงจรบอร์ด drive pure sine ของTBE

วงจรบอร์ดTBE เพรียวซาย

สำท่านที่จะซ่อมบอร์ดของอินเวอร์เตอร์TBE ซึ่งบอร์ดที่สร้างความถี่เพรียวซาย ออกแบบไม่เหมือน

บอร์ด EGS002 ที่ใช้กันทั่วไปครับ ช่างโหน่งได้ทำการซ่อมให้ลูกค้าท่านหนึ่งซึ่งปรกติก็ไม่ได้รับซ่อม

ประจำหรอกครับ มีโอกาสก็เลยแกะวงจรขาต่างๆมาเป็นแนวทางการซ่อมสำหรับท่านผู้สนใจทั่วๆไปครับ.

ขาต่างๆรุ่นนี้เป็นรุ่น 17 ขาครับ รุ่น 16 ขาก็มีครับ แต่บางขาก็ไม่ได้ใช้งาน ส่วนชิพคอนโทลเลอร์ใช้

เบอร์ EG8010 ขาบางขาก็ไม่ได้เอามาใช้งานเช่นพัดลมครับ.

………………………..

…………………………………….

แนวทางการซ่อมและทดสอบบอร์ด

1.เมื่ออินเวอร์เตอร์พังถ้าพังที่ภาคจ่ายไฟออก220โวลท์AC ส่วนมากเพาเวอร์มอสเฟสก็จะพังและบอร์ดไดร์ตัวนี้ก็จะพังไปด้วยครับ ดังนั้นเราต้องตรวจสอบบอร์ดตัวนี้ก่อน

2.บอร์ตัวนี้จะมีIC Drive เบอร์ IR2110 อยู่ 2 ตัว หากไม่แน่ใจตัวใหนเสียใหนเปลี่ยนทั้ง 2 ตัวเลยครับ

3.เมื่อถอด IC Drive ตัวนี้ออกแลัว(ดูวิธีถอด)ให้วัดความถี่ที่ออกมาก่อนที่ขาIC ขา 12และ14 ก่อนใส่

IC เข้าไปเพื่อตรวจสอบว่าChip Eg8010 เสียหรือไม่ด้วยครับ.

ICตัวแรกขา 12และ14 ความถี่ที่ได้คือ 49.99Hz ICตัวที่2 ขา 12และขา14 ความถี่ที่ได้คือ

19-22Khzครับ เมื่อวัดได้ตรงตามนี้แล้วจึงใส่ IC Drive Ir2110 เข้าไปครับ.

4.หลังจากใส่เข้าไปแล้วอย่าพึ่งใส่บอร์ดลงไปในเครื่อง ให้ทดสอบก่อนโดยต่อไฟ12โวลท์และ

5โวลท์ไปเลี้ยงวงจรตามรูปครับ.

………………………………….

ดัดแปลงสวิทชิ่ง12โวลท์ให้ปรับโวลท์ได้

แปลงสวิทชิ่ง12โวลท์ให้เป็น24โวลท์

สวิทชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย เป็นอุปกรณ์ที่แปลงไฟจาก220โวลท์เป็น12หรือ24โวลท์ แต่เนื่องด้วยราคาของ24โวลท์จะแพงกว่า ช่างโหน่งจึงทดลองเปลี่ยนค่าอุปกรณ์บางตัวในสวิทชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายเพื่อให้ได้โวลท์สูงขึ้นหรือต่ำลงโดยการเปลี่ยนค่ารีซิตเตอร์ตามรูปครับ

…………………………..

…………………………..

R17ในวงจรค่าประมาณ10K ปรับโวลท์ได้สูงสุด12โวลท์ แต่เราเปลี่ยนค่าให้น้อยลงโวลท์จะเพิ่มขึ้น ในที่นี้ช่างโหน่งต้องการ13-15โวลท์ เปลี่ยนค่าเป็น6.8K ถ้าต้องการ23-24โวลท์เปลี่ยนค่าเป็น4.7kครับ

……………………………

…………………………..

สวิทชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย12โวลท์3แอมป์ หากโวลท์สูงกระแสจะลดลงครับ โปรดระมัดระวังไฟ220โวลท์ด้วยนะครับ

อินเวอร์เตอร์2000วัตต์จีนในสมัยก่อน

ผ่าอินเวอร์เตอร์แบบ Pure Sine Wave 2000 watt ราคา15,000บาท ทำไมถึงราคาแพงจัง ตัวนี้เป็นสมัยแรกๆที่ช่างโหน่งซื้อมาติดตั้งให้ลูกค้าเมื่อหลายปีที่แล้วครับ

เมื่อแกะออกดูข้างในไม่ได้มีอะไรแตกจากอินเวอร์เตอร์แบบโมดิฟายซายน์เวฟมากนัก เพราะวงจรส่วนที่แปลงจาก12โวลท์ดีซีไปเป็นไฮโวลท์ดีซี(Hvdc)เป็นการทำงานแบบโมดิฟายซายน์เวฟ โดยนำหม้อแปลงมาผลิตไฟช่วยกัน4ตัวใช้มอสเฟสขับชุดละ4ตัว(ความจริงแค่2ตัวต่อขนานเพิ่มอีก2ตัว) เมื่อได้ไฮโวลท์ดีซีแล้วจึงนำมาแปลงเป็น 220โวลท์ pure sine wave โดยใช้ตัวขับเบอร์FGH80N60 600Volt Field Stop IGBT ตัวนี้จ่ายกระแสได้ถึง40แอมป์

เมื่อเป็นเช่นนี้หากเราสามารถสร้างโมดูลผลิตความถี่แบบ Pure Sine Wave เราก็สามารถสร้างอินเวอร์เตอร์แบบ Pure Sine Wave ได้และประหยัดเงินในกระเป๋าของท่านอีกหลายพันบาท แต่หากทำเองไม่ได้ก็ไปซื้อ อินเวอร์เตอร์แบบ Pure Sine Wave ขนาด300วัตต์เอาแบบถูกที่สุด แล้วนำเอาโมดูล Pure Sine Wave มาทำใหม่ โดยเปลี่ยนต้วขับให้จ่ายกระแสได้มากขึ้น ยังไงงบก็ไม่ถึงหมื่นแต่ท่านสามารถสร้างเองได้ตั้งแต่1000-5000วัตต์

ตัวขับภาคไฮโวลท์ดีซี เป็นแบบโมดิฟายวายน์เวฟ ใช้ไอซีสร้างความถี่ทั่วๆเช่นเบอร์ TL494 หรืออาจจะใช้เบอร์ SG3525 ก็ได้ครับเพราะไอซีเบอร์นี้มีวงจร Soft Start ด้วยเหมาะสำหรับมอเตอร์

นี้คือวงจรแผนผังการทำงานโดยรวม ดูแล้วไม่น่าจะยากสำหรับท่านใช่ไหมครับ

ผ่ากริดไท600วัตต์จีนตอน2

ช่อมกริดไทจีนราคาถูก500วัตต์

gridtie รุ่นนี้การซ่อมไม่ยากครับหากระบบควบคุมไม่เสียระบบอื่นเสียเปลี่ยนอะหลัยได้ครับ

…………………………………………….

………………………………………

ไฟแสดงผลเป็นแบบLEDทำให้เราตรวจสอบการทำงานได้ง่ายครับ

……………………………………..

………………………………………….

การผลิตแม้จะผ่านการตรวจสอบคุณภาพติดสติกเกอร์อย่างดี(QC)แต่ยังลืมเจาะน๊อตยึดมอสเฟสติดแท่นระบายความร้อนครับ.

………………………………………….

…………………………………………..

ภาคควบคุมทำงานด้วยไมโครโปรเซสเซอร์ ตระกูลPIC ต้องขอบคุณคนเขียนโปรแกรมที่คิดค้นขึ้นมาทำให้เราได้ใช้ของราคาไม่แพงครับ แต่ถึงแม้โปรแกรมสามารถใส่รหัสผ่านป้องกันไว้ในตัวชิพ แต่คนเราสามารถcopyโครงสร้างภายในได้จึงทำให้จีนผลิตออกมาแพร่หลายครับ.

………………………………………….

…………………………………………….

รายละเอียดอุปกรณ์ในภาคเอ้าพุท ค่าต่างๆแตกต่างที่เราเคยรู้กันเพื่อประโยชน์สำหรับช่างทั่วไปในการซ่อมหรือเปลี่ยนอะหลัย ช่างโหน่งจึงเขียนตำแหน่งอุปกรณ์ให้ดูครับ อุปกรณ์บางตัวเราใช้แทนได้เพราะไล่ดูตามวงจรแล้วไม่น่าแตกต่างกันมากครับ.

ลงมือซ่อมดีกว่าครับ

ก่อนอื่นgridtieนี้ต้องมีไฟ220มาป้อนเพื่อสร้างความถี่ให้ภาคไฟสูง300โวลท์ทำงานครับ เราอาจจะหาอินเวร์เตอร์อะไรก็ได้ที่ผลิตไฟ220ออกมาหรือจะใช้วิธีเสียบไฟฟ้าโดยตรงก็ได้ครับ ที่สำคัญโต๊ะทำงานต้องปูกระดาษหรือฉนวนไว้เพื่อความปลอดภัยครับ.

1.ขั่นแรกตรวจดูฟิวส์ขาดหรือไม่ ลักษณะฟิวส์กลมๆสีน้ำตาลขนาด5แอมป์ครับ หากขาดก็สันนิษฐานไว้ก่อนว่าภาคเอ้าพุทที่เกี่ยวกับไฟฟ้า220โวลท์มีปัญหาครับ.

…………………………………..

…………………………………..

2.ถอดมอสเฟสภาคเอ้าพุทออกครับ ถึงแม้วัดยังใช้ได้อยู่แต่เพื่อความแน่ใจเปลี่ยใหม่ใช้มอสเฟสเบอร์IRF740แทนครับไม่ต้องเสียเวลา เฟสตัวนี้ทนไฟได้400โวลท์10แอมป์ครับซึ่งเพียงพอสำหรับขนาด500วัตต์ครับ.

……………………………………

…………………………………….

3.วัดไดโอดตามสัญญาลักษ์ที่เขียนไว้ในตัวอะหลัยครับ แต่ส่วนมากไม่เสียครับ

4.ซ่อมภาคสร้างไฟสูง หากไม่แน่ใจให้ถอดออกวัดมอสเฟส ช่างโหน่งเองไม่เสียเวลาเปลียนใหม่ให้แอมป์สูงขึ้นใช้เบอร์IRF1404-1407แทนครับ.

5.เปลี่ยนภาคสร้างไฟสูงแล้วตรวจอีกทีว่ารอยตระกั่วที่ถอดออกมีรอยไหม้และช๊อตกันหรือไม่ครับ ใช้แว่นขยายส่องให้ละเอียดหากพลาดมางานเข้าอีกครับ.

เปลี่ยนเสร็จแล้วป้อนไฟดีซีจากแบตเข้าครับใช้ไฟ24โวลท์กำลังดี เมือเปิดสวิทไฟหลอดLEDจะทำงานติดไล่เรียงกันตามลำดับทำให้เราทราบว่าภาคควบคุมไม่เสียครับและสุดท้ายจะเหลือLED สีแดงติดอยู่สองตัวคือLOWและFAULTติดค้างอยู่ครับ แสดงว่าการซ่อมผ่าน50%แล้วครับ

………………………………………..

……………………………………….

6.ต่อไปทดสอบเสียบไฟฟ้า220โวลท์เพื่อป้อนความถี่ให้ภาคสร้างไฟสูงและวัดไฟดีซีแรงดันสูงให้ได้สูงกว่า220โวลท์ครับ ทำไมเราต้องใช้ไฟดีซีสูงกว่า220โวลท์ เหตุผลนี้ช่างโหน่งคิดเองครับโดยนิสัยของแรงดันไฟฟ้าตัวใหนที่มีแรงดันสูงกว่าจะไปดันตัวที่แรงดันต่ำกว่าครับ ซื่งระบบกริดไทก็ใช้หลักการเดียวกันต้องสร้างแรงดันไฟฟ้าให้สูงกว่าไฟบ้าน(กริด)จะสูงมากหรือน้อยแล้วแต่ออกแบบวงจรครับยิ่งแรงดันสูงมากยิ่งดันได้มากครับ แต่อย่างไรก็ตามเขาจะสร้างขีดจำกัดที่อุปกรณ์เช่น300,500,1000,วัตต์เป็นต้นครับเป็นเรื่องของการค้าขายครับ.

………………………………………

………………………………………

เมื่อเสียบไฟฟ้าLED 50Hzติดแสดงว่าผ่านอีก10%แล้วครับ

7.วัดไฟดีซีแรงดันสูงโดยวัดค่อมคอนเดนเซอร์ตัวนี้ครับจะต้องได้ไฟมากกว่า220โวลท์ดีซีครับ แสดงว่าภาคสร้างไฟสูงผ่านครับ.

……………………………………….

……………………………………………………………………………………………….

8.ใส่มอสเฟสภาคเอ้าพุทเป็นขั้นตอนสุดท้ายครับ ตรวจสอบรอยบัดกรีให้ดี ต่อหลอดไฟ100วัตต์แทนฟิวส์ก่อนครับป้องกันความผิดพลาด

เปิดไฟดีซี24โวล์ทเข้าเลี้ยงวงจร เสียบไฟฟ้า220โวลท์เข้า(เตรียมตัวถอดออกได้อย่างรวดเร็วด้วยครับ)หากไม่มีอะไรผิดพลาดหลอดจะไม่ติดสว่างเมื่อปล่อยไปสักพักหลอดจะเริ่มแดงขึ้นให้ถอดดปลั๊กออกครับแสดงว่าเครื่องเริ่มดึงกระแสการทำงานสมบูรณ์แล้วครับ ถอดหลอดไฟออกต่อฟิวส์5แอมป์แทนก็เป็นอันเสร็จสิ้นการซ่อมครับ.

วิธีถอดอุปกรณ์บนแผ่นวงจรครับ.

เนื่องจากแผ่นวงจรในปัจจุบันออกแบบเป็นแบบมีทองแดงสองด้านการถอดด้วยลวดซับตระกั่วหรือเครื่งดูดตระกั่วจะยากครับ เทคนิคก็คือพอกตระกั่วไปบนขาอุปกรณ์แล้วดึงออกจะง่ายครับเพราะความร้อนกระจายไปทั่วทุกขาครับ.

…………………………………………