เรื่องทั้งหมดโดย kajhonphol

ผ่ากริดไท500วัตต์จีนสีฟ้า

ผ่ากริไท500วัตต์จีน

ความเดิมจากตอนที่แล้ว เราซ่อมGrid Tieที่ใช้แรงดัน 10-28โวลท์ ตอนนี้จะกล่าวถึงการซ่อมGrid Tieที่ใฃ้แรงดันแบบAutoแรงดันได้สูงกว่าเดิมครับคือ 22-60โวลท์ดีซีครับหรือฝรั่งเรียกว่า MPPT Range (maximum power point tracking (MPPT) range)ระบบจะควบคุมและรักษาแรงดันคงที่ไม่เหมือนรุ่นที่ผ่านมาใช้mosfetรักษาแรงดันไว้ ซึ่งเป็นคอขวดที่กั้นกระแสและแรงดันถูกจำกัดด้วยmsofetครับ เมื่อซ่อมเสร็จแล้วทดสอบการทำงานด้วยแบต24โวลท์ทำงานได้ดีมากครับ ซึ่งก็หมายความว่าเราสามารถต่อกับแผงโซล่าเซลขนาด280-300วัตต์ได้อย่างสบายครับเพราะแรงดันอยู่ที่35โวลท์ นับว่าเป็นGrid Tieขนาดเล็กที่ออกแบบมาสมบูรณ์และราคาถูกด้วยครับ.

……………………………………………..

……………………………………………..

หน้าตาตัวที่ซ่อมและทดลองการทำงานครับ MPPT range DC 24-48V

……………………………………………

…………………………………………

ควบคุมการทำงานด้วยChip ตระกูลPIC ของบริษัท Microchip เบอร์ยอดนิยม 16F877 ครับ รุ่นนี้มีลูกเล่นในการแสดงผลบอกความถี่ของไฟที่เป็นGrid แบบออโต50Hzหรือ60Hz บอกOut Put ว่ามีระดับเพิ่มขึ้นหรือลดลงด้วยครับ.

………………………………………….

…………………………………………

Grid Tieตัวนี้ลูกค้าเก่าให้มาซ่อมครับ เลยได้มีโอกาสศึกษาการทำงานด้วยครับ เรามาเริ่มผ่าตัดกันดีกว่าครับ.

………………………………………..

………………………………………..

ตัวนี้ตามสภาพที่เสียหายมีฟิวระเบิดมาก่อน ช่างโหน่งจึงเริ่มซ่อมที่ภาพoutput ก่อนครับ เราถอดmosfet ออกทั้งหมดแล้ววัดดู ปรากฏว่าเสียอยู่1 ตัวครับ

ขั้นตอนการซ่อม

1.ถอดมอสเฟสเอ้าพุทออก

2.ต่อไฟดีซีเข้า ถ้าหลอดไฟติด วัดไฟดีซีแรงดันสูงที่คอนเดนเซอร์แบบเซรามิค ไฟที่ได้ประมาณ350โวลท์ แสดงว่าภาคผลิตไฟดีซีแรงดันสูงโอเคครับ

3.ไฟดีซีแรงดันสูงจะไม่ทำงานหากเราไม่เสียบไฟบ้าน ในขั้นตอนนี้โปรดระวัง ห้ามแตะต้องแผ่นวงจรครับ

4.เปิดไฟดีซีเข้า ต่อไฟบ้าน ไฟหน้าปัดกระพริบตามคู่มือ แสดงว่า CPU ยังทำงานอยู่ครับ

5.ใส่มอสเฟสที่ดีเข้าไป เปิดไฟดีซี เสียบไฟฟ้า ฟิวที่ขาดให้ต่อหลอดไฟใส้100วัตต์แทนก่อน เมื่อเปิดไฟแล้วหลอดไฟจะไม่สว่างทันทีจะค่อยสว่างขึ้นเรื่อยๆครับ แสดงว่าวงจรทำงานแล้ว แต่ถ้าจ่ายไฟฟ้าเข้ามาแล้วหลอดไฟสว่างทันที่แสดงว่ายังมีอุปกรณ์ภาคOUTPUTเสียอยู่ ตรวจสอบใหม่ให้ละเอียดอีกครั้งครับ.

…………………………………….

…………………………………….

อาการเสียฟิวส์ระเบิด แสดงว่าอุปกรณ์Grid Tie ไม่สามารถทนแรงดันไฟได้ สู้เขาไม่ได้ตัวเองเลยพังครับ

……………………………………

……………………………………

การผลิตไฟดีซีแรงดันสูงยังคงใช้สูตรเดิมอยู่ครับ ใช้หม้อแปลง3ตัวต่ออนุกรมกัน ใช้ความถี่อ้างอิงจากไฟบ้านผลิดไฟดีซีแรงดันสูงเช่นเดิม แต่เปลี่ยการควบคุมการทำงานให้โวลท์กว้างขึ้นครับโดยแม้แรงดันไฟที่เข้ามาจะสูงหรือต่ำอยู่ในช่วง20-60โวลท์แต่แรงดันเอ้าพุทก็คงที่ครับ มอสเฟสที่ใช้เป็นเบอร์ที่ทนแรงดันสูงขึ้นและจ่ายกระแสได้มากขึ้นครับ

ข้อควรระวังในการซ่อม

เนื่องจากเราต่อต่อไฟบ้านเข้ามาทดสอบด้วย ดังนั้นต้องระวังการทำงานโต๊ะทำงานและอุปกรณ์ในการตรวจวัดเป็นพิเศษครับ.

ผ่ากริดไท2000วัตต์จีน

ผ่าGridTie 2000W จีน

………………………………..

หน้าตาแบบนี้จ่ายไฟได้2000วัตต์ อาจารย์จากเมืองชลท่านซื้อมา ยังไม่ทันได้ใช้เลยครับ มันไม่ยอมทำงานตั้งแต่แรก ประกันก็ไม่มี จะทิ้งก็เสียดาย ลำบากถึงช่างโหน่งต้องผ่าตัดดูอีกแล้วครับท่าน

…………………………………

…………………………………

ด้านหลังออกแบบวงจรเรียบร้อยและใส่ลวดเสริมในรอยเชื่อมเพื่อจ่ายกระแสได้มากขึ้นครับ

…………………………………

………………………………………..

วงจรความคุมแบบเดิมๆด้วยChip Atmel ซ่อมยากพอสมควร พอจะรู้สาเหตุที่ทำให้พังแล้วครับ

………………………………………..

……………………………………….

เจ้า2ตัวนี้หละครับเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เสีย ไฟลบจากแผงจะต้องผ่านด่านนี้ก่อน ตามสเปคของครื่องกำหนดให้ใช้ไฟได้ตั้งแต่40-400โวลท์ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลทางการค้าครับ ต้องการขายให้ได้กับทุกๆท่านที่มีแผงทุกรุ่นทุกขนาดทุกๆโวลท์ ผลออกมาผู้ซื้อไปใช้งานก็เลยแย่ครับ พังตามกันเป็นแถบๆ ท่านลองคิดดูซิครับเฟส2ตัวนี้เป็นคอขวดอย่างเห็นได้ชัด ช่างโหน่งเลยตัดทิ้งแถมเอาค้อนทุบๆๆๆๆๆๆให้แตกกระจายเสร็จแล้วก็เผาทำลายแล้วเอาน้ำกรดราดอีกให้สิ้นซากครับ แค่ความคิดที่ต้องการให้การใช้งานได้โวลท์กว้างขึ้นกลับเป็นคอขวดไปปิดกั้นพลังงานที่จะนำมาใช้งาน (คิดกันไปได้หนอ…เวรจริงๆ) ตัดออกแล้วต่อไฟลบเข้าโดยตรง กำหนดให้ใช้ไฟไม่เกิน 35 โวลท์ครับ

………………………………………….

………………………………………

รูปนี้เป็นภาคจ่ายไฟสูงที่ผลิตได้จากโซล่าเซลโดยสร้างความถี่ที่อ้างอิงและสอดคล้องกันกับไฟบ้านครับ ดูแล้วก็เหมือนสวิทชิ่งอินเวอร์เตอร์ธรรมดาใช่ไหมครับ ไม่น่าจะยากสำหรับท่านนะครับ

…………………………………….

……………………………………..

รูปนี้เป็นภาคแปลงเป็นไฟตรงด้วยไดโอดทนต่อความถี่สูงครับ มีคอยล์กรองความถี่สูงอีกชั้นหนึ่งครับ กันไว้ทั้งด้านไฟบวกและไฟลบครับ

…………………………………….

…………………………………………

แผงวงจรเพิ่มเติมติดกาวไว้ในกล่องน่าจะเป็นตัวไฟป้อนกลับเพื่อตรวจสอบการทำงานครับ ขนาดโรงงานเองแท้ๆยังมีเก้าอี้เสริมอีกนะครับ

ผ่ากริดไทอินเวอร์เตอร์ข้างในมีอะไร

grid tie inverter หรืออินเวอร์เตอร์เสริมไฟบ้าน

ช่างโหน่งได้รับความอนุเคราะห์จากท่าน พ.อ.สัมพันธ์ ที่โคราช ได้ส่งกริดอินเวอร์เตอร์ขนาด 500 วัตต์มาให้ช่วยซ่อม อาการก็คือใช้งานไประยะหนึ่งฟิวส์ก็ขาดและพังใช้งานไม่ได้ ช่างโหน่งเองก็ไม่ทราบสาเหตุ อาจมีหลายสาเหตุเช่นไฟที่เข้าจากโซล่าเซลเกินกำหนด หรือ เชื่อมต่อไฟไม่ถูกเฟส ได้แต่สันนิฐาน เรามาดูการทำงานของวงจรกันครับ

วงจรทำงานก็ไม่ต่างกันกับอินเวอร์เตอร์ทั่วไปประกอบด้วยภาคผลิตความถี่เพื่อแปลงไฟจาก10-28โวลท์ดีซีให้เป็นไฟกระแสสลับโดยผ่านหม้อแปลงความถี่สูง และเปลี่ยนเป็นกระแสตรงด้วยไดโอดความถี่สูง หลังจากนั้นทำให้เป็นกระแสสลับด้วยมอสเฟส4ตัว ทั้งนี้การทำงานทั้งหมดควบคุมด้วยโมดูลตั้งแต่ภาคผลิตความถี่จนถึงดีซีเป็นไฮโวลท์ดีซี ตามผังด้านล่างครับ

……………………………………………………………………………………

มาเริ่มซ่อมกันดีกว่าครับ

ก่อนอื่นเริ่มซ่อมภาคไฟต่ำก่อนโดยถอดอุปกรณ์ภาคไฟสูงออกทั้งหมด และวัดดูว่าอุปกรณ์เสียหายหรือไม่ หลักการนี้ทำเช่นเดียวกับการซ่อมอินเวอร์เตอร์ แต่เพื่อความแน่ใจให้ถอดอุปกรณ์ออกเช็คทั้งหมด การทำงานของกริดรุ่นนี้จะอาศัยความถี่ไฟบ้านเข้ามาอ้างอิงในการผลิตความถี่ของโมดูลเพื่อจ่ายให้ภาคไฟต่ำทำงานผลิตความถี่จ่ายผ่านหม้อแปลงโดยหม้อแปลงต่ออนุกรมกันไฟออกประมาณ300โวลท์หลังจากนั้นผ่านไดโอดความถี่สูงแปลงเป็นไฟตรงหรือไฮโวลท์ดีซีนั้นเองซึ่งในจุดนี้เราสามารถดัดแปลงเอาไฮโวลท์ดีซีจากแผงโซล่าเซลเข้าโดยตรงได้ ท่านคงมองเห็นทางที่จะเพิ่มวัตต์ให้กับกริดตัวนี้แล้วใช่ไหมครับแต่ต้องระวังนะครับภาคไฟสูงนี้เชื่อมต่อกับไฟบ้านโดยตรงต้องระวังครับ

……………………………………………………………………………………………

การซ่อมภาคไฟแรงดันต่ำ

อันดับแรกเชื่อมต่อสวิทไฟโดยตรงหลังจากนั้นเชื่อมต่อไฟบ้านเข้ากับวงจรฟิวส์เราใช้หลอดไฟขนาด100วัตต์ต่อเข้าแทนก่อนเมื่อตรวจอุปกรณ์ภาคไฟต่ำเรียบร้อยแล้วจ่ายไฟเข้าวงจรจากแบตหรือแหล่งจ่ายไฟต่างๆ วัดไฟเอซีที่ออกจากหม้อแปลงแต่ละขดว่าไฟออกครบหรือไม่เราต้องใชมิเตอร์แบบเข็มนะครับเพราะความถี่สูงมิเตอร์ดิจิตอลอาจไม่ทำงาน เมื่อไฟออกครบแล้วให้วัดไฟดีซีจากบริดไดโอดไฟออกประมาณ300โวลท์หรือกว่านี้เป็นอันว่าภาคไฟต่ำทำงานปรกติครับ

การซ่อมภาคไฟแรงดันสูง

มอสเฟสภาคไฟสูงต้องทนแรงดันไฟได้ไม่ต่ำกว่า400โวลท์ส่วนทนกระแสได้มากหรือน้อยแล้วแต่ท่านจะหาได้ ในกริดตัวนี้ใช้เบอร์F30NW60Nซึ่งทนกระแสได้25แอมป์600โวลท์ กริดตัวนี้ภาคไฟสูงช๊อท3ตัวแต่เพื่อความแน่ใจช่างโหน่งเลยเปลี่ยนให้ทั้งหมด เมื่อตรวจสอบความเรียบร้อยแล้วป้อนไฟเข้าตามขั้นตอน จะเห็นหลอดไฟใส้แดงเล็กน้อยไม่สว่างแสดงว่าวงจรทำงานปรกติลองถอดไฟดีซีออกจากแหล่งจ่ายไฟ หลอดไฟจะดับ กลับกันลองป้อนเข้าไฟใหม่ หลอดจะเริ่มแดงขึ้นเป็นอันว่าการซ่อมเรียบร้อยครับ

………………………………………………………………………………

……………………………………………..

รูปนี้ของคุณชาตรี สมุทรปราการ ไหม้เสียหายมาก ช่างโหน่งเลยขอไว้ศึกษา แกะวงจรออกมาแล้วน่าจะสามารถสร้างเองได้เพราะการทำงานไม่ยาก ไม่ต่างจากอินเวอร์เตอร์ทั่วไปครับ ดูวงจรภาคไฮโวลท์ดีซีเป็นเอซีแล้วเชื่อมต่อไฟบ้านครับ

……………………………………………

ผ่าแผง300วัตต์มาใช้กับกริดไท 10.8-32โวลท์

ผ่าแผง300วัตต์มาใช้กับกริดไท 10.8-32โวลท์

มีแผง300วัตต์อยู่แล้ว แต่ได้กริดไท 1000วัตต์ที่ใช้ไฟตั้งแต่10.8-32โวลท์มา จะทำอย่างไรดีจะต่อเช้าแผงโดยตรงก็ไม่ทำงานจะซื้อแผงใหม่ก็ไม่มีเงิน เรามีแผงเก่าอยู่จำเป็นต้องผ่าแผงเพื่อให้กริดไททำงานได้ครับ ความคิดทำค่อนข้างยากแต่การหาเงินมาซื้อแผง150วัตต์มันยากกว่าครับ ในภาวะเงินฝืดแบบนี้ช่างโหน่งขอเลือกผ่าแผงที่เรามีดีกว่าครับ บางท่านบอกว่าดัดแปลงกริดไทดีกว่าครับ เคยลองทำดูแล้วใช้งานไม่เต็มที่ครับสู้หาไฟ10กว่าโวลท์มาจ่ายให้มันดีกว่าครับ.

…………………………………………………

…………………………………………………

กริดรุ่นนี้ครับ ลูกค้าซื้อมาไม่เข้าใจว่าต้องใช้กับแผง150วัตต์ แต่ซื้อแผง340วัตต์มาด้วยเลยใช้งานไม่ได้ครับเพราะแผง340วัตต์จ่ายไฟที่35-40โวลท์

…………………………………………………

………………………………………………….

วิธีผ่าแผงดูในคริบได้ครับ

คลิปผ่าแผง300วัตต์

ดัดแปลงอินเวอร์เตอร์จีนระบบโมดิฟายให้เป็นไฮโวลท์

ดัดแปลงอินเวอร์เตอร์จีนระบบโมดิฟายให้เป็นไฮโวลท์

การสร้างไฮโวลท์จากอินเวอร์เตอร์จีนเพื่อนำไปใช้งานกับ ไฮโวลท์อินเวอร์เตอร์แบบเพรียวหรือแบบโมดิฟายก็ได้ครับ หรือใช้งานกับปั้มน้ำในยามไม่มีแดด โดยใช้ไฟจากแบตที่เก็บสะสมไว้ตอนกลางวันครับ หรือใช้กับแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์ในตอนกลางคืนได้โดยไม่ต้องสลับไฟครับ.

…………………………………………..

…………………………………………..

ประมาณนี้ครับ วอลลุม50kครับ

การต่อไปใช้งานระบบไฮบริดกับแอร์ครับ

เราใช้แผงประมาณ 7 แผงนะครับสำหรับอินเวอร์เตอร์ระบบโมดิฟาย และ9แผงสำหรับระบบเพรียวซายครับ ลูกค้าบางท่านซื้อไปไม่เข้าใจระบบซึ่งช่างโหน่งออกแบบไว้ไปเพิ่มแผงให้แรงดันสูงขึ้น ซึ่งเมื่ออินเวอร์เตอร์ถูกดึงกระแสมากเกินที่จะทนได้ ก็อาจเกิดความเสียหายได้ครับ ช่างโหน่งได้ทดสอบจำนวนแผงแล้วเน้นที่แผงน้อยให้ทำงานได้ก็พอแล้วครับ.

…………………………………………………..

…………………………………………………..

เมื่อไฟจากแผงไม่มี อินเวอร์เตอร์ก็จะดึงไฟจากแบตมาจ่ายแทนครับ ตัวแปลงเป็นไฮโวลท์เราสามารถขนานกันได้หลายตัวแต่ละตัวที่ออกมาให้ผ่านไดโอดบริดอีกทีครับ ครับเพื่อเป็นการเพิ่มกระแสให้กับไฟไฮโวลท์ อินเวร์เตอร์จีนตัวหนึงจ่ายกระแสได้4แอมป์ที่300โวลท์ ดังนั้นแอร์ก็ยังคงทำงานปรกติจนกว่าไฟจากแบตจะหมดครับ

ดูตัวอย่างการทำงานครับ

ดัดแปลงอินเวอร์เตอร์จีนให้เป็นระบบไฮบริด

ดัดแปลงอินเวอร์เตอร์จีนให้เป็นระบบไฮบริด

อินเวอรร์เตอร์จีนราคาถูกลงมาก และคุณภาพดีขึ้น ช่างโหน่งเลยคิดที่จะทำให้เป็นระบบไฮบริดโดยใช้ไฟจากแผงประมาณ7แผงหรือ280-300โวลท์ มาเข้าที่อินเวอร์เตอร์แล้วแปลงออกเป็นกระแสสลับ220โวลท์ออกไปใช้งานครับ ส่วนเมื่อแดดอ่อนหรือไม่มีแดด ไฟจากแบตก็จะเข้ามาแทนที่ครับ.

…………………………………………

…………………………………………

หลังจากทดลองการทำงานแล้ว ไฟจากแบตกินน้อยมากครับ จำนวนแบตไม่มากเหมือนแต่ก่อนและใช้ไฟได้ทั้งคืนครับ

ส่วนการใช้งานติดตามชมในช่องYoutubeของช่างโหน่งได้ครับ

การดัดแปลงให้ปรับโวลท์ได้

หากเราไม่สามารถปรับโวลท์ไฟดีซีแรงดันสูงในตัวอินเวอร์เตอร์ได้ เราไม่สามารถทำให้แรงดันแตกต่างกันได้เมื่อนำมาใช้งานร่วมกับโซล่าเซลไฮโวลท์ครับ

……………………………………………..

……………………………………………..

ภาคผลิตไฮโวลท์ใช้ไอซีเบอร์TL494 โดยเราปลดR5 ออกเพื่อจะต่อวอลลุมแทนเพื่อให้ปรับไฟได้ครับ

……………………………………………

……………………………………………

ไฟสูงที่ผลิตออกมาขั่วบวกจากไดโอดความถี่สูงให้ต่อผ่านR100k 1/2วัตต์ครับ ส่วนวอลลุ่มใช้ค่า 50k

…………………………………………

…………………………………………

ประมาณนี้ครับ บอกไว้ก่อนนะครับ ยี่ห้ออื่นไม่ได้ศึกษาครับให้คำตอบไม่ได้ครับ

อินเวอร์เตอร์รุ่นนี้ดัดแปลงแล้วราคาพร้อมค่าส่ง 1880 บาทครับ

ส่วนใครมีรุ่นนี้อยากดัดแปลงคิดค่าแรงพร้อมค่าส่ง 580 บาทครับ

ดูการทดสอบครับ

เมื่อBMSไม่จ่ายไฟจะแก้ไขอย่างไร

เมื่อBMSไม่จ่ายไฟจะแก้ไขอย่างไร

BMS ย่อมาจาก Battery Management System หรือ ระบบการจัดการแบตเตอรี่ ทำหน้าที่หลักๆในการ Maintain balance cell battery เพื่ออัดไฟให้เต็มมากที่สุด และยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ โดยการวัดสถานะการชาร์จ (SoC) สถานะสุขภาพของเซลล์ (SoH) รวมถึงการตรวจสอบเซ็นเซอร์ต่างๆ (SoF)

เมื่อไม่จ่ายไฟออกมาหรือไม่ช๊าทมีสาเหตุอะไรบ้าง

กรณีไม่จ่ายไฟ ภายในตัวBMS จะมีวงจรป้องกันไฟช๊อตหรือโวลท์ลงต่ำกว่าที่กำหนดหรือใช้กระแสเกิน เหตุเหล่านี้จะทำให้ BMS มีการป้องกันตัวเอง จะงดการจ่ายไฟออกมา เราจะแก้ไขโดย จับขั่ว P- และ B- ช๊อตกันชั่วขณะหนึ่งเพื่อทำการรีเซ็ตวงจรภายในแล้วBMS จะกลับมาทำงานเหมือนเดิมครับ และในขณะที่ช๊อตกันควรปลดโหลดออกก่อนนะครับ.

………………………………………………………

………………………………………………………

ในกรณีที่ไมช๊าท สาเหตุเนื่องจากใช้งาน BMS หนักเกินไปเช่น ใช้ BMS ขนาดแอมป์น้อยเกินไปไปช๊าทแบตที่มีแอมป์สูงมากจนตัว BMS ร้อนมาก มอสเฟสภายในทนกระแสไม่ได้ก็จะพังครับ

ติดต่อเรา

ติดต่อโดยตรงที่

1.เลขที่ 621 หมู่1 ถนนทางไปวัดพญานาค ต.บ้านทุ่ม อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000

ติดต่อ ช่างโหน่งพลังงานแสงอาทิตย์

2. TEL. 0887666003 เวลา 08:00-18:00น.ทุกวัน

3.Email: solarwato@gmail.com

4.Line ID: 0887666003

แผนที่สถานที่ดูงานการใช้งานพลังงานแสงอาทิตย์

เติมน้ำยาแอร์รถยนต์ด้วยตนเอง

เติมน้ำยาแอร์รถยนต์ด้วยตนเอง ทำเองก็ได้(วะ)

ร้อน ร้อนๆๆๆๆๆ เมื่อมีรถเข้าไปอยู่ในรถแล้วมันร้อน มีอยู่ไม่กี่อย่างครับ ประการแรกไม่ได้ติดเครื่องและเปิดแอร์ ประการที่สองติดเครื่องเปิดแอร์แต่ไม่เย็น ประการที่สามติดเครื่องเปิดแอร์ แอร์เย็นแต่เบาะที่นังมันร้อน มันเป็นอย่างไรหละช่างโหน่ง ประการที่สามดูแปลกๆ จะไม่แปลกอย่างไรครับขับขี่ไปใหนก็ร้อนเพราะค้างค่างวดมาหลายงวดแล้วครับเขาจะมายึดรถเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ อันนี้ก็ทำให้คนในรถร้อนได้ครับ.

เรื่องของคนหลงในวัตถุอยากขี่รถใหม่หาเงินไม่ทันมันก็ต้องร้อนอย่างนี้หละครับ รถเก่าขี่ได้เหมือนกันซื้อรถเก่าเงินสดสภาพดีๆไม่งวด ไม่ต้องกลัวใครมายึดบายใจ นานาจิตตังครับเลือกเอา เรามาพูดถึงประการที่สองกันดีกว่า ติดเครื่องเปิดแอร์แล้วไม่เย็นหรือเย็นไม่มาก

สาเหตุที่แอร์ไม่เย็นมีส่วนประกอบหลายอย่าง

การตรวจสอบเองเบื้องต้นไม่ต้องมีความรู้เรื่องเครื่องยนต์หรือแอร์ก็ทำได้ครับ

1.เปืดฝาปิดเครื่องหน้ารถ(ฝากระโปง) เข้าเกียร์ว่างดึงเบรกมือ ติดเครื่องเปิดแอร์ สังเกตุที่ตัวอัดน้ำยา(คอมเพรสเซอร์)ต้องหมุนด้วย ถ้าดูไม่เห็นให้เอาเทปกาวสีขาวติดด้านหน้าที่แผ่นเหล็ก หากไม่หมุนสายพานหย่อนยานหรือไม่ให้ดับเครื่องแล้วกดดู หากกดดูแล้วไม่หย่อน แต่คอมเพรสเซอร์ไม่หมุน อย่างนี้ต้องให้ช่างไฟรถยนต์ตรวจดูให้ครับ.

…………………………………………..

………………………………………….

2.คอมเพรสเซอร์หมุนแต่ลมเย็นไม่มาก น้ำยาอาจจะขาดหรือคอมเพรสเซอร์ทำงานแรงอัดไม่ดี ในที่นี้เราเรียนรู้การเติมน้ำยาก่อนครับ น้ำยาที่เติมในรถที่นิยมกันจะมีอยู่ 2 เบอร์ คือ R12 และ R134 รถรุ่นเก่าส่วนมากจะเป็น R12 ส่วนรุ่นใหม่จะเป็น R134 จะสั่งเกตุอย่างไรครับ R12 หัวเติมจะเป็นเกลียวหรือติดอยู่ที่คอมเพรสเซอร์เลยครับ ส่วน R134 จะเป็นหัวเกลียวเหมือนกันแต่เป็นเกลียวอยู่ข้างใน.

………………………………………………

………………………………………………

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการเติมเบื้องต้น

1.สิ่งที่ขาดไม่ได้คือน้ำยาแอร์ เมื่อเรารู้แล้วว่ารถเราใช้น้ำยาแอร์เบอร์อะไรเราก็ใช้น้ำยาเบอร์นั้นๆ เนื่องจากเราไม่ได้เติมเป็นอาชีพ การซื้อน้ำยาอาจจะซื้อมาไว้สักสามกิโลที่ร้านขายน้ำยาเขาจะมีแบ่งขายครับ ส่วนถังก็ขอซื้อถังเปล่าเปล่าเขาราคาถังแล้วแต่ใบหน้าของเราครับ ถ้าหน้าดูบ้านนอกๆเซ่อๆเหมือนช่างโหน่งเขาก็ขายใบละ500บาท(ในสมัยก่อนเมื่อหาถังยากเคยซื้อในร้านดังตัวออนึกว่ามีน้ำยาด้วย ฟันเราหัวแตกสมน้ำหน้า555)แต่สมัยนี้ถ้าร้อนเงินไม่มากอาจจะขายใบละ100หรือ50บาทครับ หรือที่เขาบรรจุพร้อมถังขนาด 6 กิโลก็ไม่เกิน8-9ร้อยบาทไม่เกินนี้ครับ

น้ำยา R12 ราคาค่อนข้างที่จะแพงกว่าครับ แต่ในอนาคตคงไม่มีใครใช้แล้วครับ.

………………………………………………..

………………………………………………….

น้ำยาใช้แทนกันได้หรือไม่

ถ้าเป็นฝรั่งมันบอกอย่างเดียวว่าNO แต่พี่ไทยมีอะไรก็เติมเท่าที่มี อ้าว!!!แล้วมันไม่ระเบิดเหรอช่างโหน่ง? น้ำยา R134 แรงดันสูงกว่า R12 เขาว่ามาอย่างนั้น(เขาอยู่บนหัวควาย) ถ้าเราเอาน้ำยาแรงดันสูงกว่ามาเติมอาจจะทำให้อุปกรณ์อัดก๊าซ(คอมเพรสเซอร์)เสียหายได้ คือR134 เติมเข้าแทน R12

แต่ถ้าน้ำยาแรงดันต่ำ R12 ไปเติมใน R134 ได้ อ้าว!!!!! ราคาก็แพงกว่า หัวเติมก็ไม่เหมือนกันคิดได้แนะนำได้ยังงัยวะ แสดงว่าตัวยาคงเหมือนกันแต่มันคงผสมอะไรเพิ่มขึ้นเพื่อให้แรงดันก๊าซสูงขณะที่อัดให้เป็นก๊าซ (แหกตากูอีกแล้ว) ในเมื่ออนาคตต้องใช้ R134 อยู่แล้ว แล้วจะเติม R12 ทำไม(วะ) พังเป็นพังถึงอย่างไรรถก็เก่า คอมเพรสเซอร์ก็เก่าของเราเองในอนาคตต้องเปลี่ยนมาใช้น้ำยาเบอร์R134 อยู่แล้ว รถคันอื่นในบ้านก็ใช้ R134 อยู่แล้วจะไปซื้อน้ำยา R12 มาทำไม ใช่ไหมครับ อ้าว!! แล้วน้ำมันคอมเพรสเซอร์ของเก่าเป็น R12 จะไม่ต้องถอดออกเททิ้งแล้วใช้น้ำมันของ R134 หรือไม่เรื่องใหญ่งานช้างนะช่างโหน่ง? ในเมือตัวน้ำยามันแทนกันได้ช่างโหน่งคิดว่าน้ำมันก็น่าจะไม่แตกต่างกันมาก(มึงไม่ได้กินเงินกูหรอกเว้ย… เพราะกูไม่มีเงิน 555) คิดได้ดังนั้นพังเป็นพัง(ไม่บอกเมีย)ลองสักนิดดิมันจะเย็นไหม ถ้าเย็นเมียไม่ด่า ถ้าไม่เย็นเมียด่าเสี่ยงเอาช่างโหน่ง…

ก่อนเติมน้ำยาเตรียมอะไรบ้าง

เห็นช่างแอร์มีตัววัดแรงดันแบบสองหัวมีสีน้ำเงินและสีแดง อันนี้หละฉันต้องมีขอเงินเมียไปซื้อคงไม่ให้แต่ขอเงินไปซื้อเบียร์เมียให้(ไม่ให้ไม่ได้กูกินมาก่อนจะอยู่กับมึง555)เลยต้องกินเบียร์น้อยลงได้เงินไปซื้อเกย์วัดแรงดันพันกว่าบาท เมียตกใจมึงไปเอาเงินที่ใหนไปซื้อของ จะกินยังไม่พอ โธ่…เมียจ๋าอันนี้ยืมเพือนมาเพื่อนมีหลายอัน เอ่อแล้วไป..เฮ้อออลำบากจริงๆครับ.

………………………………………………..

………………………………………………..

จะเห็นว่ามีตัวเลขอะไรมากมาย แล้วกูจะรู้ไหมเนี้ยมันคืออะไร จะไปถามช่างแอร์เขาหรือจะบอก ไม่ต้องรู้อะไรมากวะ ถ้าเข็มตีขึ้นสูงแรงดันก็สูงมันก็แค่นั้นแฮ่ๆๆ ช่างโหน่งฉลาดไหมครับท่าน อ้าว!!แล้วถ้ามันดันมากๆมันจะไม่ระเบิดเหรอช่างโหน่ง ปะโธ่ปะถังกาละมังถังแตก…ท่านก็ดูอย่าให้มันขึ้นสูงซิครับเบาๆไว้ก่อน

ถ้าเป็นรถรุ่นใหม่หัวเติม R134 จะไม่เหมือนกันครับเป็นเกลียวใน เราต้องมีอุปกรณ์สวมใส่พิเศษ.

……………………………………………..

………………………………………….

จะมองเห็นลูกศรเหมือนจุ๊บลูกศรยางรถ อันนี้อยู่ข้างในต้องดันมันถึงจะเปิดครับ ช่างโหน่งเองไม่มีความรู้ด้านแอร์มัวแต่ไปหาเกลียวในที่จะต่อออกมาใส่เกย์วัด ไปถามร้านขายอะไหล่พวกนี้เขาก็บอกไม่มี แต่พอบอกว่าเอาไปเติม R134 เขาก็หยิบอันนี้มาให้ครับ.

………………………………………………….

………………………………………………….

ตัวนี้ใช้สวมแล้วกดลงไปเลยครับสำหรับน้ำยา R134 ซึ่งรถรุ่นใหม่จะเป็นแบบนี้หมดแล้วครับ ส่วนสีฟ้าจะเป็นหัวทางด้านแรงดันต่ำ เราจะเอาไปสวมที่อื่นไม่ได้เพราะขนาดมันต่างกันครับ.

…………………………………………………

…………………………………………………

วิธีเสียบ วางหัวให้ตรงกับจุ๊บดันล็อกขึ้นแล้วค่อยดันหัวลงไป หลังนั้นถ้ามันเข้าให้ปลดล็อกลงครับ.

ถ้าเป็นรถรุ่นเก่า น้ำยา R12 ส่วนมากจะเติมที่คอมเพรสเซอร์เลยครับ.

………………………………………………

……………………………………………..

วิธีเติมน้ำยาแอร์รถยนต์

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าช่างโหน่งไม่ใช่ช่างแอร์และไม่มีความชำนาญด้านแอร์นะครับ แต่ที่เขียนบทความนี้เพื่อเป็นแนวทางให้สำหรับท่านที่อยากลองทำเอง ซึ่งช่างโหน่งทำมาแล้วและยังใช้งานอยู่เป็นปีๆไม่เจอปัญหาอะไร และไม่ได้เข้าร้านแอร์รถยนต์อีกเลยตลอดชีวิตครับ ผลที่ได้ศึกษาเรียนรู้มาด้วยตนเองยังสามารถเผื่อแผ่ให้บ้านใกล้เรือนเคียงญาติพี่น้องแบบฟรีๆไม่คิดเงินเลยครับ เพราะสิ่งที่เราให้เขา เขาดีใจแอร์เย็นสบายใจได้บุญมากกว่าเงินที่เราจะได้รับอีกครับ(สาธุ).

ตามที่กล่าวข้างต้น รถเราใช้น้ำยา R12 จะเติม R134 ได้ไหม ช่างโหน่งลองแล้วครับไม่ต้องเปลี่ยนอะไรเลย เติมได้เลยครับ แม้แรงดันน้ำยาจะสูงกว่ากัน แต่เราไม่ได้เติมมากใช่ไหมครับปรกติเติม90% แต่เราเติมสัก50-60% ก็ไม่มีใครว่าครับ วิธีการเติมต้องเรียนรู้จุดที่เราจะต่ออุปกรณ์ก่อนครับ เช่นต่อสายเกย์วัดแรงดันต่ำหรือท่อดูด(L) เข้าที่ตัวคอมเพรสเซอร์หรือจุดต่อต่างๆซึ่งรถแต่ละคันไม่เหมือนกันอธิบายไม่ได้ครับ หากไม่รู้จริงๆถ่ายรูปส่งมาให้ช่างโหน่งดูก็ได้ครับ.

…………………………………………..

…………………………………………..

เมื่อต่อสายเกย์วัดน้ำยาแรงดันต่ำหรือทางหัววัดสีฟ้า ความจริงหากวาวล์ทางสีฟ้าเสียจะต่อเกย์ทางสีแดงแทนก็ได้ครับไม่มีปัญหาแต่การอ่านค่าต้องกะเอาครับ ส่วนถังจะคว่ำหรือตั้งดี เนื่องจากเราเติมน้ำยาในสะถานะเป็นแก็สอย่าเข้าใจว่าเติมน้ำต้องคว่ำถังเพราะฉะนั้นมือใหม่ให้ตั้งถังดีกว่าครับ ส่วนจะเห็นที่ร้านเขาคว่ำถังเพราะเมือวัดดูน้ำยาแอร์ขาดมากเขาต้องการเวลาทำเงินจึงคว่ำถังน้ำยาก็จะเข้าไปอย่างรวดเร็ว แต่ผลเสียคือถ้าเกินแก้ไม่ทันอาจทำให้ตัวอัดก๊าซหรือคอมเพรสเซอร์เสียหายได้ครับ.

ต่อสายเข้าคอมในรถและถังเรียบร้อย ต่อไปคือการเติมน้ำยาและอ่านค่าครับ.

…………………………………………………….

……………………………………………………

รูปข้างบนเป็นเกย์วัดแรงดันต่ำอันเดียว ขนาดเล็กดีครับเราไม่ได้ทำอะไรมากมายเอาแค่นี้ก็น่าจะพอนะครับราคาประมาณ8-9ร้อยบาทครับ

เมื่อต่อเรียบร้อยอย่าเพิ่งติดเครื่องรถ ปิดเกย์วัดทั้งหมดรวมทั้งถังน้ำยาด้วยครับ ปิดวาวล์สีฟ้าไว้ก่อนครับ เรามาดูเข็มที่เกย์วัดก่อนมันอยู่ตำแหน่งใหนตอนยังไม่ติดเครื่อง ซึ่งจะสังเกตุเห็นว่าเข็มวัดขึ้นไปสูงให้ทำเครื่องหมายไว้ครับ หลังจากนั้นตรวจดูความเรียบร้อยก่อนติดเครื่องว่าวางอะไรเกะกะ หรือสายน้ำยาไปติดสายพานหรือพัดลมหรือไม่ครับ เมื่อตรวจดูความเรียบร้อยแล้วให้ติดเครื่อง จะเห็นว่าเข็มลดลง นั่นก็คือคอมเพรสเซอร์ทำงานความดันถูกดูดไปแล้วครับ.

………………………………………………….

…………………………………………………..

ตามรูปก่อนติดเครื่องสมมุติว่าอยู่ที่เลข 60 หลังติดเครื่องอยู่ที่เลข 40 ส่วนค่าหรือหน่วยการวัดชาวบ้านอย่างเราอย่าไปสนใจครับไม่ได้ทำเอาถ้วยรางวัล รายละเอียดช่างโหน่งไม่ขอกล่าวถึงไปค้นหาเอาเองครับ.

ติดเครื่องแล้วแอร์ไม่เย็น ต่ำแหน่งเข็มอยู่ที่ 40 หรือเมื่อเร่งเครื่องแล้วเข็มลดลง แต่พอปล่อยคันเร่งเข็มก็จะกลับมาอยู่ที่ 40 เหมือนเดิม แสดงว่าคอมเพรสเซอร์ทำงานได้ดีอยู่มีแรงดูด แต่น้ำยาไม่มีหรือมีน้อยดูดไปก็ไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าเป็นคนก็เหนื่อยเปล่าๆ เอาหละครับต่อไปเป็นนาทีระทึกใจ…….

ปิดวาวล์สีฟ้าอยู่แล้ว เปิดวาวล์ที่ถังน้ำยาที่ตั้งขึ้นไม่คว่ำถังนะครับ น้ำยาจะไม่เข้าไปจนกว่าเราจะเปิดวาวล์สีฟ้า เมื่อตรวจดูสายน้ำยาระหว่างเกย์และถังว่าไม่มีการรั่ว ก็ให้เปิดวาวล์สีฟ้าจะเห็นน้ำยาค่อยๆไหลเข้าครับ ไม่ต้องเร่งเครื่องนะครับ

……………………………………………..

…………………………………………….

ติดเครื่องไว้สัก5นาที ตรวจสอบความเย็นภายในรถ เปิดตัวปรับความเย็นสูงสุด เปิดพัดลมสูงสุด ถ้ามีความเย็นบ้างดีกว่าเดิมก็แสดงว่าทุกอย่างทำงานถูกต้องมาถูกทางแล้วหละครับ.

ต่อไปคือการอัดน้ำยา ทำไมต้องอัดช่างโหน่ง มันจะไม่ระเบิดหรือ? คำถามสำหรับท่านที่ไม่เคยทำแต่สำหรับช่างโหน่งหน่วยกล้าตายจะบอกวิธีให้ครับ.

เตรียมน้ำไว้ราดบริเวณแผ่นคอยล์ร้อนส่วนใหญ่จะติดอยู่ด้านหน้าของหม้อน้ำครับ ทำไมต้องราดน้ำ?นั่นดิเห็นช่างเขาราดช่างโหน่งจำช่างมาก็ราดตามเขา(เขาก็อยู่บนหัวควาย) เหตุผลจะเป็นเพราะว่าน่าจะช่วยลดความร้อนที่คอมเพรสเซอร์ดันออกมาในสถานะแก็สมาผ่านคอลย์ร้อนให้เป็นของเหลวแล้วจึงผ่านตัวกรองและดูดความชื้น(ไดเออร์)และส่งเข้าห้องโดยสารในรถอีกที เราเอาร้ำราดมันก็จะกลายเป็นของเหลวได้เร็วขึ้นซึ่งช่างโหน่งเข้าใจเองนะครับผิดหรือถูกก็ขออภัยช่างและท่านผู้รู้ทั้งหลายไว้ด้วยครับ(โว้ย)

ทุกอย่างยังคงเปิดอยู่ วาวล์สีฟ้า วาวล์ถังน้ำยา ติดเครื่องยนต์อยู่ เตรียมน้ำเรียบร้อยแล้วราดเข้าไปที่คอลย์ร้อนของแอร์สักสองสามขันหรือฉีดน้ำเข้าไป เมื่อราดเสร็จแล้วเร่งเครื่องยนต์(ไม่ต้องแรง) จะเห็นน้ำยาไหลเข้าสังเกตุดูเข็มวัดแรงดันจะต่ำลงกว่าเดิม และพอหยุดเร่งเข็มก็จะอยู่ตำแหน่งนั้นซึ่งต่ำกว่าตอนแรกที่ติดเครื่องครับ แสดงว่าน้ำยาเข้าไปแล้วครับ.

………………………………………….

…………………………………………

เข็มลดลงอีก ตรวจดูความเย็นรถหากความเย็นได้พอใจแล้วก็เป็นการเสร็จสิ้นการเติมน้ำยาครับ ดับเครื่อง ปิดวาวล์ทุกตัวแล้วถอดสายทั้งหมดออก สุดท้ายตรวจดูจุ๊บที่อัดน้ำยาว่ารั่วหรือไม่ ก็เป็นอันจบการเติมน้ำยาแอร์เบื่องต้นครับ.

หากยังไม่พอใจก็เติมได้อีกครับ โดยเอาน้ำราด เร่งเครื่อง แต่อย่าให้ถึงเลข 30 นะครับ เพราะน้ำยาอาจมากเกินไปเครื่องยนต์ทำงานหนักความดันทางด้านคอลย์ร้อนอาจสูงมาก ยิ่งถ้าเอา R134 เติมแทน R12 แล้ว เอาพออยู่กลางแดดร้อนๆแล้วรถเราเย็นก็พอแล้วครับ เวลาเติมมีเครื่องวัดอุณหภุมิในรถยิ่งดีครับจะได้เห็นชัดขึ้นครับ.

ส่วนค่าตัวเลขต่างๆเป็นตัวเลขที่ช่างโหน่งจดมาจากการเติม ค่าตัวเลขของรถแต่ละคันไม่เหมือนกันนะครับ เพียงเป็นตัวเลขอ้างอิงและประมาณการทำงานเพื่อให้เข้าใจ ข้อมูลอาจไม่เหมือนกันช่างบ้านนอกไม่มีความรู้อะไร กะเอาครับเย็นแล้วก็พอใจอย่าเติมากนะครับ ผลเสียมากกว่าผลดี ถ้าเย็นไม่พอก็เติมใหม่ได้อีก น้ำยาก็มี เครื่องเติมก็มีไม่ได้เสียเงินเพิ่ม เติมแล้วทดลองวิ่ง ไม่เย็นก็เติมอีกจนเรารู้ค่าตัวเลขบนเกย์วัดว่ารถเรามันชอบขนาดใหนครับ.

สุดท้ายหาข้อมูลมากๆ ฝึกเติมให้ญาติพี่น้องบ้าง เพื่อนบ้านบ้าง เดี๋ยวก็รู้เองครับ ในที่สุดท่านก็เป็นคนหนึ่งที่ทำให้คนเย็นได้ครับ.

โทร.0887666003

ซ่อมแอร์รถยนต์ด้วยตัวเอง

ซ่อมแอร์รถยนต์ด้วยตัวเอง(โดยไม่มีความรู้เรื่องแอร์)

รถก็เก่าคนก็แก่ ช่างโหน่งเองไม่ร่ำรวยเหมือนเขาจะได้นั่งรถใหม่ป้ายแดงเปิดแอร์ให้เย็นสบายอุรา แต่ถึงกระนั้นก็จำเป็นต้องมีรถไว้ใช้เดินทาง จะไปยืมใครๆเขาก็เกรงใจ จะไปผ่อนก็เงินมีบ้างไม่มีบ้างดีไม่ดีผ่อนไม่ได้ถูกยึดไปช้ำใจกันอีก เงินที่เก็บรวมรวมมาจึงตัดสินใจซื้อรถตู้เก่ามาคันหนึ่ง ปีเกิดของรถคันนี้เมื่อ20ปีที่แล้วชื่อโตโยต้าหน้าจรวด เขาเรียกกันแบบนั้ครับตอนจอดอยู่อู่เขาตั้งราคาไว้55,000ครั้งแรกไปดูราคาก็ไม่ลด ตอนหลังโทรมาตามช่างโหน่งเขาให้50,000ช่างโหน่งเลยขอลดอีก1000เป็นอันว่าซื้อมาราคา49,000เลขสวยครับ.

………………………………

………………………………

ซื้อมาปีแรกไม่มีเวลาซ่อมเลยใช้เป็นโกดังเก็บของ หลังจากว่างเว้นการงานต่างๆได้เวลาออกมาปัดฝุ่นใหม่(ปัดฝุ่นจริงๆ) ขับไปหาช่างร้านใหนก็ส่ายหน้า ซ่อมไม่ไหวครับต้องใช้เวลาเป็นปีช่างเขาคงหาแต่งานง่ายๆครับซ่อมง่ายได้เงินไวใครบ้างไม่อยากทำจริงไหมครับ.

เราไม่โทษใครครับสรุปต้องซ่อมเองแน่นอน วางแผนการซ่อมเร่ิมตั้งแต่ช่วงล่างมุดเข้าไปดูต้องตกใจขี่ได้งัย(วะ)ยางก็หมดสภาพและหลวมไปหมดงานนี้ต้องหมดเป็นหมื่นแน่นอน ซ่อมเบรคเปลี่ยนลูกยางเปลี่ยนโช๊คเปลี่ยนยางหมดหมื่นพอดี มุดเข้าๆออกๆในเวลาหนึ่งเดือนเต็มๆครับ แต่ก็เสร็จจนได้วันใหนว่างก็ทำวันใหนมีงานก็หยุด แต่ที่หยุดนานคือต้องนวดสมุนไพรเป็นอาทิตย์ครับ งานที่ลำบากหมดแล้วภูมิใจครับ(แต่เกือบตาย555)

ต่อไปคือช่วงบนได้แก่ระบบความเย็นตกแต่งภายใน ระบบความเย็นคือสาเหตุที่เจ้าของเก่าเขาขายเพราะซ่อมแล้วก็ไม่เย็น ช่างโหน่งตรวจดูระบบต่างๆตั้งแต่พัดลมระบายความร้อน คอล์ยร้อน คอมเพรสเซอร์ปรากฏว่าทำงานไม่ได้ สรุปจำเป็ต้องเปลี่ยนใหม่หมด งานเข้าแล้วครับต้องหมดเป็นหมื่นแน่ ระบบเดิมใช้คอมที่ติดมากับเครื่องเดิมเป็นยี่ห้อND รุ่น10PA ใช้น้ำยาเบอร์R12 ระบบความเย็นของรถตู้เดิมต้องใช้คอล์ยร้อน2ตัวอยู่ข้างหน้าและใต้ท้อง มุดดูแล้วบันทุกดินไว้เต็มเลยครับอย่างนี้ซ่อมอีก10ร้านก็ไม่เย็นแน่นอนครับ ช่างโหน่งหาข้อมูลจากเน็ตระบบแอร์รถยนต์ทำงานอย่างไร ก็ไม่มีข้อมูลที่ละเอียดพอพูดแต่วิชาการศัพท์ทางเทคนิคแอร์ต่างๆฟังและอ่านอย่างไรก็ไม่เข้าใจครับ จะไปถามร้านแอร์เขาคงจะตอบให้หละครับท่าน อาชีพเขาหาอยู่หากิน(กู)คงบอกใครไม่ได้แน่นอนครับ.

…………………………………………

………………………………………….

รูปของเก่าถอดทิ้งรอชั่งกิโล

สรุปต้องซ่อมเองอีกแน่นอน ทำอย่างไรดีช่างโหน่งเกิดมาไม่เคยรู้เลยมันจะระเบิดไหม? แล้วมันจะเย็นไหม? แล้วจะต้องมีอะไรบ้าง? หาข้อมูลอีกรวบรวมเขียนผังวงจรระบบที่รื้อออกมา เปรียบเทียบข้อมูลในเน็ตน้ำยามันไปทางใหน? ไปถึงตรงนั้นมันทำหน้าที่อะไร? ในที่สุดก็เข้าใจระดับหนึ่งครับ50%อีกที่เหลือต้องทดลองครับ.

………………………………………..

………………………………………….

รูปข้างบนเป็นระบบแอร์ในรถตู้คันนี้ครับ

จะเห็นว่าก่อนที่น้ำยาแรงดันสูงจะไปเข้าคอลย์เย็นจะมีวาวปิด/เปิดเนื่องจากหากไม่มีคนอยู่ข้างหลังก็เปิดเฉพาะข้างหน้าก็ได้ครับและจากตัวกรองน้ำยา(เขาเรียกกันว่าไดเออร์)จะแยกไปคอล์ยเย็นในสถานะของเหลวซึ่งเราจะสังเกตุจากตัวกรองหรือที่เรียกว่าไดเออร์มองเห็นน้ำยาแอร์ว่าขาดหรือมากเกินไปครับ.

เมื่อเข้าใจระบบการทำงานแอร์ในรถคันนี้แล้ว ช่างโหน่งเริ่มวางแผนการติดตั้งทำอย่างไรเราจะเย็นทั้งข้่างหน้าและข้างหลัง

1.วางแผนตัดคอล์ยร้อนออกเอาไปไว้ด้านหน้า เพื่อให้การระบายจากสถานะแก็สเป็นของเหลวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงเลือกขนาดคอล์ยร้อนให้ใหญ่ขึ้นและใส่พัดลมเป่าขนาด10นิ้ว2ตัว งานนี้กินไฟเพิ่มขึ้นอีกครับ เพื่อแก้ปัญหาระยะยาวเราใช้รีเลย์ขนาด30แอมป์เป็นสะพานไฟให้จ่ายกระแสได้แบบสบาย โดยการควบคุมมาจากการสั่งงานเมื่อคอมเพรสเซอร์จะสั่งงานให้รีเลย์ทำงานพัดลมก็จะหมุนครับ.

…………………………………………

…………………………………………

2.เปลี่ยนคอมเพรสเซอร์ใหม่เป็นคอมที่ใช้น้ำยาR-134a รุ่นเดิมเพราะไม่ต้องทำแท่นใหม่ครับ แต่เนื่องจากช่างโหน่งไม่มีประสบการณ์ไปซื้อคอมมาคล้ายกันแท่นลงกันได้แต่หัวยาวออกมาอีกเกือบติดพัดลมหม้อน้ำแต่โชคดีหาวิธีต่อแกนออกมาตรงล่องสายพานล่องใหม่ได้พอดีแต่ห่างพัดลมหม้อน้ำเพียง2เซ็นต์หากพัดลมเกิดบิดเบี้ยวแน่นอนครับแตกละเอียดแน่นอนแต่ท่ี่น่าเจ็บใจตรงที่ไม่ใช่ยี่ห้อของND ซื้อมาแล้วติดตั้งแล้วคงคืนไม่ได้แต่กลับไปถามลูกจ้างคนขายเขา(มัน)บอกว่าของแท้ก็มีแพงกว่านิดหน่อยแต่ไม่มีจานแม่เหล็กให้(อ้าว….แล้วมึงทำไมไม่บอก)ต้องใช้แม่เหล็กตัวเก่า ช่างโหน่งเสียเวลากับการต้องต่อแท่นตรึงสายพานแอร์ใหม่เป็นวัน นี่แหละครับโง่มาก่อนฉลาดไม่เป็นไรหากพังก็เปลี่ยนใหม่คิดอะไรมากครับ

…………………………………………….

…………………………………………….

3.ใหนๆก็ใหนๆแล้วรื้อมันออกทั้งหมดล้างคอล์ยเย็นทั้งสองชุดสะอาดลมผ่านสบายใช้เวลาสามวัน

4.เมื่อประกอบเข้าเดินท่อน้ำยาใหม่ตัวใหนสั้นก็ต่อตัวใหนยาวก็ตัด บานหัวแล้วขันน๊อตให้แน่นๆๆๆๆ ตอนไปซื้อสายและหัวน๊อตก็ได้ความรู้อีกครับท่าน อยู่อุบลก็มีร้านขายอุปกรณ์แอร์ที่ใหญ่อยู่ร้านหนึ่ง มันใหญ่มากครับมีทุกอย่างอยู่งานพรียบครับ เจ้าของนี่อย่าได้ไปคุยด้วยเลยครับเขาจะคุยกับเราหรือเปล่าก็ไม่รู้เพราะเราไม่ใช่ช่างแอร์(ไม่ใช่ตัวเงินตัวทองที่ทำเงินให้เขาประจำ)อย่างดีก็ได้แต่มองๆช่างโหน่งเห็นอาการไม่รับลูกค้าแล้วเปลี่ยนเป้าหมายไปถามลูกจ้างที่ขายของดีกว่า เขา(มัน)เดินออกมาจากร้านเห็นเราเขาก็หันข้างให้ เอไม่ใช่ช่างขาประจำนี่หว่าคุยกันคงไม่รู้เรื่องแน่จึงหันข้างให้(ช่างโหน่งคิดเอง555)พอดีเอาของเก่าไปเปรียบเทียบจึงใช้ภาษามือมากกว่า(เฮ้อ..โล่งอกไปที)นี่ขนาดเอาเงินไปให้นะเนี่ยกลัวแทบหัวหดร้านเขาใหญ่จริงๆ

ต่อมาเป็นการซื้อท่อน้ำยาซึ่งเราก็ทำการบ้านอย่างดีค้นในเน็ตครึ่งวันเตรียมที่จะไปซื้อท่อร้านนี้อีก มีทั้งขนาด4หุนและ6หุนจดไปอย่างดีไปถึงร้านเจอคนเก่าเขา(มัน)ก็หันข้างให้อีกบอกขนาดที่ต้องการเป็นแบบมาตราฐานที่เขาเรียกกัน ปรากฏว่าเขาหาว่าเรารู้มากกว่าเขาอีกเขาบอกว่าที่ร้านนี่มีขายอยู่สามขนาดคือขนาดเล็กขนาดกลางขนาดใหญ่ ช่างโหน่งตกใจอะไรของเขา(มันวะ)กูเตรียมมาอย่างดีมึงไม่รู้จักก็เลยถึงบางอ้อ ลูกจ้างคนนี้คงทำงานมานานแต่อาจไม่มีความรู้ศัพท์ทางด้านช่างหากเราถามมากไปกลัวจะปล่อยไก่ ก็เลยจบกว่าจะเข้าใจหมอนี่ได้เกือบช๊อคตายก่อน ในที่สุดก็ต้องเดาหละครับขนาดเล็กของเขาน่าจะ4หุนและขนาดกลาง6หุน เฮ้อ…..

5.เมื่อต่อระบบท่อเรียบร้อยแล้วขั่นตอนสำคัญคือแอร์เราเป็นของเก่าจำเป็นต้องล้างภายในด้วยครับในสมัยศรีธนญชัยก็ล้างท้องล้างใส้หละครับแล้วเราจะใช้น้ำยาอะไรล้างก็ถามคนหันข้างอีกเขาบอกว่าใช้น้ำยาF-11 ช่างโหน่งก็ซื้อมา2ขวด กลับมาถึงบ้านจะอัดเข้าอย่างไรวะหากระปุกมาอัดให้แม่บ้านช่วยจับไว้มันอัดเข้ายากครับที่แย่ก็คือเวลาปล่อยสายออกลมที่ดันเข้ามันย้อนกลับออกมาวิ่งหนีใครหนีมันครับเลอะเทอะดำไปหมด(นั่งหัวเราะกันหน้าดำ555) คิดหาวิธีใหม่เอาน้ำยาไว้สูงกว่าคอล์ยสำหรับรถตู้ต้องเอาไว้บนหลังคาครับ หลังจากนั้นปลายอีกด้านหนึ่งก็ต่อสายยางใสๆเพื่อที่จะดูว่าน้ำยาไหลมายังโดยใช้เครื่องดูดที่เราใช้สำหรับดูดแอร์ให้เป็นสูญญากาศนั่นแหละครับ พอน้ำยาไหลลงมาก็หยุดดูดแล้วรอแป็ปเดียวเพื่อให้น้ำยาF-11ละลายคราบน้ำมันที่ค้างอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ หลังจากนั้นก็อัดลมเข้าไปเต็มที่เลยครับและหาที่รองน้ำยาที่ไหลออกมาด้วยจะเห็นว่ามีสีดำหากไม่มั่นใจก็ทำเช่นนี้อีกจนน้ำยาที่ออกมาไม่ดำก็พอแล้วครับดีกว่าไม่ล้าง.อัดลมกลับไปกลับมาจนแน่ใจว่าน้ำยาระเหยหมดแล้ว ทิ้งไว้ประมาณชั่วโมงแล้วค่อยประกอบเข้าคอมเพรสเซอร์ครับ.

6.คอมเพรสเซอร์ซื้อมาใหม่เราต้องเติมน้ำมันคอมด้วยครับ เติมตรงใหน?เติมเท่าไหร่?ไปหาข้อมูลในเน็ตก็ไม่มี งานเข้าอีกแล้วครับท่าน แต่ที่รู้ๆเราต้องใช้นำ้มันชนิดเดียวกันที่เข้ากับน้ำยาแอร์ครับ ในที่นี้ช่างโหน่งใช้น้ำยาเบอร์R-134aก็ต้องใช้น้ำมันชุดนี้ด้วยครับ ไม่ยากครับถามคนขายหันข้างเขาก็จัดมาให้กระปุกเล็กร้อยกว่าบาท ช่างโหน่งไม่กล้าถามอีกว่าต้องเดิมเท่าไหร่แค่นี้ก็กลัวหัวหดแล้วเอาละวะเป็นไงเป็นกัน การเติมให้เติมที่ช่องดูดแล้วจะรู้ได้อย่างไรวะตรงในมันดูดตรงใหนมันดัน ไปค้นในเน็ตอีกประกอบกับดูลูกศรที่ชี้ไว้ในคอมเพรสเซอร์ครับ หากไม่มีจริงก็ดูตรงที่ท่อใหญ่หละครับหากท่อขนาดเท่ากันก็ลองหมุนดูเอานิ้วอุดตัวใหนดูดก็ตัวนั้นหละครับ.

แล้วเติมน้ำมันเท่าไหร่หละช่างโหน่งก็ไม่แน่ใจขวดมันก็ไม่ใหญ่ใส่มันสัก80%ก็พอ อ้าวทำไมไม่ใส่หมด คำตอบคือก็ไม่รู้เหมือนกันครับกะเอาแต่ถึงอย่างไรมันก็ไม่ขาดและอาจจะไม่เกินใช่ไหมครับ.

7.ขันท่อทั้งหมดให้แน่นตรวจหาจุดรั่วโดยใช้แชมพูทาบริเวณจุดต่อต่างๆครับ ทำอย่างไรให้มีแรงดันอาจมีหลายวิธีครับแต่เราช่างบ้านนอกไม่มีอะไรนอกจากปั้มลม ช่างโหน่งอัดเข้าไปนิดหน่อยพอให้มีแรงดันหลังจากนั้นก็พบจุดรั่วขันให้แน่นๆหรือทำหัวใหม่ให้ดีกว่าเดิมครับ.

8.ทุกอย่างในระบบท่อเรียบร้อยต่อไปเป็นระบบไฟ ก็เดินตามระบบเดิมตรงใหนต้องเดินสายใหม่ก็หาฉนวนมาหุ้มสายไฟอีกทีครับกันความร้อนที่จะทำลายสายไฟครับ เมื่อเรียบร้อยแล้วเดินเครื่องเปิดให้แอร์ทำงานพัดลมทำงานก็จบครับ.

9.ขั้นตอนสำคัญคือการเติมน้ำยาครับเมื่อเราดูดภายในระบบให้เป็นสูญญากาศทิ้งไว้สักครึ่งชั่วโมงแล้วแต่ความสามารถของแต่ละเครื่องนะครับ ปิดเครื่องทิ้งไว้สัก10นาทีดูว่าเข็มที่เราดูดอยู่ตำแหน่งเดิมหรือไม่ครับ ถ้าอยู่ตำแหน่งเดิมแสดงว่าไม่รั่ว เตรียมตัวเดิมน้ำยาครับ.

การเติมน้ำยาจะเติมเข้าทางช่องดูดซึ่งในช่องดูนี้จะมีสถานะเป็นแก็สเพราะฉะนั้นเราต้องเติมแก็สเข้าไปครับ แล้วในถังมีน้ำยาเขย่ามันไหลไปไหลมามันจะเข้าหรือครับ? โดยทั่วไปเราไปให้ช่างเติมน้ำยาจะเห็นช่างคว่ำด้วยเหตูผลใดไม่รู้แต่น่าจะเดาได้ว่าต้องการความรวดเร็วที่บริการให้ลูกค้าครับ ค้นดูในเน็ตแล้วจะทำให้คอมเพรสเซอร์เสียหายได้เพราะเกิดแรงดันมากเกินไปครับ.

แก็สก็แก็สครับตั้งถังไว้ใกล้คอมเพรสเซอร์ติดเครื่องเปิดแอร์ให้ทำงานไม่ต้องเร่งเครื่องครับ เปิดแก็ส(R-134a)เปิดวาวสีแดงไล่อากาศออกเล็กน้อยหลังจากนั้นเปิดวาวสีน้ำเงินจะสังเกตุช่องกระจกที่วาวมีน้ำยาไหลผ่านทั้งๆที่เราตั้งถังไว้ครับ เราเองไม่เคยทำมาก่อนใช้วิธีค่อยๆเดิมเอาครับ เดิมแล้วก็ปิดถังแก็สปิดวาวสีฟ้า ดูตรงไดเออรว่ามีอะไรเกิดขึ้นหรือไม่ครับจะสังเกตุเห็นฟองอากาศขุ่นๆยังไม่ใสและที่ช่องลมแอร์เริ่มมีความเย็น ก็ยิ้มได้แล้วครับ เติมน้ำยาเข้าไปอีกแล้วก็ปิดตรวจดูตรงไดเออร์จะเห็นว่าน้ำยาเริ่มใสขึ้นความเย็นก็เพิ่มขึ้นครับ ตรวจที่คอล์ยร้อนจะมีความร้อนออกมาแสดงว่ามาถูกทางแล้วครับ เมื่อเติมเข้าไปอีกแต่เข็มที่ดูดไม่กระดิกเลยเราต้องใช้เทคนิคแล้วหละครับ อันแรกคือฉีดน้ำเข้าที่คอล์ยร้อนเร่งเครื่องและเปิดน้ำยาเข้าอีก สังเกตุเห็นเข็มลดลงแสดงว่าน้ำยาเข้าแล้วครับ ดูไดเออร์อีกที่จะเห็นน้ำยาเริ่มใสและความเย็นเพิ่มขึ้น โดยหลักการที่ค้นมาให้มีฟองอากาศเล็กน้อยก็โอเคแล้วครับ แต่ช่างโหน่งไม่กล้าทำต่อรู้สึกแอร์เย็นเป็นที่พอใจแล้วก็หยุดคับเรากะเอาครับไม่ต้องไปสนใจว่าแรงดันที่เท่าไหร่เอาที่เราพอใจและพอดีก็พอแล้วครับ ถามใครๆก็ไม่บอกทำเองได้ดีเท่านี้ก็โอเคแล้วใช่ไหมครับ.

…………………………………………………

…………………………………………………

คำศัพท์ช่างแอร์แปลแบบบ้านนอก

1.คอมเพรสเซอร์ คือตัวดูดและอัดแก็สอาศัยการฉุดด้วยสายพานจากเครื่องยนต์ครับ จะทำการฉุดเมื่อจ่ายไฟให้คอล์ย12โวลท์ดีซีทำให้เกิดสนามแม่เหล็กดูดเพลาให้ลูกสูบข้างในหมุนครับ การควบคุมสั่งงานมาจากตัวตรวจสอบความเย็นภายในห้องโดยสารครับ.

……………………………………………….

…………………………………………………

2.อีวาโปราเตอร์(Evaporatot)หรือเรียกแบบชาวบ้านว่าคอล์เย็น อยู่ในห้องโดยสารพัดลมเป่าเอาไอเย็นออกมา ในคอยล์เย็นนี้จะมีตัวฉีดหรือที่เรียกว่าเอ็กเพนชั่นวาว(Expansion Valve)อุปกรณ์ตัวนี้จะควบคุมการฉีดของน้ำยาที่มีสถานะเป็นของเหลวที่มาจากไดเออร์(ตัวกรองความชื้น)จะฉีดให้เป็นแก็สจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเย็นที่ได้ออกมาอีกทางด้านหนึงของคอล์ยเย็น

…………………………………………………………….

………………………………………………………….

3.เอ็กเพนชั่นวาว(Expansion Valve)หรือเรียกแบบชาวบ้านว่าวาวฉีดน้ำยา ทำไมเราต้องฉีดและควบคุมน้ำยาที่ถูกอัดมาด้วยความดันสูงเมื่อฉีดออกมาเป็นแก็สจะเกิดการเปลี่ยนสถานะเป็นไอและเกิดความเย็นขึ้นอย่างรวดเร็วครับและความเย็นในสถานะแก็สนี้ไหลผ่านคอล์ยไป พัดลมก็พัดเอาความเย็นออกมาทำให้ห้องโดยสารเย็นครับ หากตัวนี้เสียหรืออุดตันก็เป็นสาเหตุทำให้แอร์ไม่เย็นได้ครับ.

…………………………………………………………………..

………………………………………………………………..

4.คอนเดนเซอร์(Condenser)หรือเรียกแบบชาวบ้านว่าคอล์ยร้อน ส่วนนี้จะอยู่นอกตัวรถครับทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำยาในสถานะแก็สที่ออกจากคอมเพรสเซอร์มาทำให้เย็นลงจะกลายสถานะเป็นของเหลวไหลผ่านไดเออร์ ทำให้เรารู็ว่าน้ำยาปรกติหรือไม่ครับ.

…………………………………………………………………………

………………………………………………………………………….

5.ไดเออร์(Drier)ภายในบรรจุสารดูดซับความชื้นที่เป็นของเหลวมาจากคอล์ยร้อนและยังกรองสิ่งสรกปกให้น้ำยาสอาดมากขึ้นก่อนที่จะส่งน้ำยาไปยังตัวฉีดและคอล์ยเย็นครับ.

…………………………………………………………………..

………………………………………………………………….

6.น้ำยาแอร์ รหัส R-134a เขาว่าให้ความเย็นสูงกว่า R-12 และไม่ฉุดกำลังเครื่องครับ เขาอยู่บนหัวควายหากเราไปเชื่อเขามากไม่หาความรู้เอง เราก็จะอยู่ภายใต้เขานั้นคือหัวควายครับ….

……………………………………………………………………

………………………………………………………………….

สรุป การทำงานโดยที่เราไม่เคยเรียนรู้มาก่อนเราต้องค่อยๆหาความรูู้ไปทีละขั่นตอนครับ วิชาหากินไม่ค่อยมีใครบอกใครสอนให้ง่ายๆหรอกครับ.

ในยุคที่การทำมาหากินไม่แน่นอนเดี๋ยวมีงานเดี๋ยวไม่มีงาน จะไปผ่อนเงินดาวก็พอมีแต่ก็ต้องบากหน้าไปหาคนค้ำประกัน ถึงเวลาจ่ายงวดจ่ายไม่ทันบริษัทก็โทรมาทวง ระบบนี้ดีที่สุดสำหรับช่างบ้านนอกอย่างเรา ขี่รถเก่าไม่เป็นหนี้ดีที่สุดครับ มีเงินก็ซ่อมไปไม่มีเงินก็หยุดไว้ก่อน ชีวิตไม่ต้องรีบเร่งขอให้ตื่นมาไม่มีหนี้ก็พอแล้วครับ.

งานนี้อธิบายผิดพลาดประการใดต้องอภัยท่านผู้รู้ด้วยครับ ช่างโหน่งเขียนตามที่ตัวเองเข้าใจและลงมือทำแอร์เองทั้งหมดจากไม่มีความรู้มาก่อนเลยและแอร์ทำงานจนเย็นฉ่ำก็พอใจแล้วครับ.

ไม่เข้าใจโทรสอบถามได้นะครับไม่ปิดบัง

โทร.0887666003