เรื่องทั้งหมดโดย kajhonphol

พลังงานทดแทนเราจะเลือกอะไรดีสำหรับชาวบ้านอย่างเรา

พลังงานทดแทนเราจะเลือกอะไรดีสำหรับชาวบ้านอย่างเรา

พลังงานเริ่มที่จะหายากและหมดไปในที่สุดดังนั้นมนุษย์จึงคิดหาพลังงานทดแทนมาแทนที่พลังงานที่เคยใช้อยู่ ต่างมีความคิดที่แตกต่างกันและผลิตความฝันให้เป็นความจริง แต่ยิ่งคิดค้นผลประโยชน์ก็เป็นกิเลสตามตัวมาติดๆ ชาวบ้านอย่างเราจะมีโอกาสได้ใช้หรือไม่ก็ไม่รู้ครับ แต่ในความเป็นจริงจะต้องถูกเปิดเผยออกมาอย่างแน่นอนว่าในอนาคตจะดีหรือไม่ดีครับ โซล่าเซลเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีแพร่หลายและเข้าใจง่าย การใช้งานจึงแพร่หลายและไม่มีความลับอะไร นับวันเวลาผ่านไปราคายิ่งถูกลง แต่ถึงกระนั้นคนยังคิดค้นต่อไปกับพลังานทดแทนที่จะนำมาเป็นพลังงานที่ยั่งยืนต่อไป ไฮโดเจนที่แยกได้ออกมาจากน้ำจุดไฟติดแยกเองได้ ฝรั่งก็คิดรูปแบบต่างๆช่างโหน่งก็ติดตามมาหลายรูปแบบฮือฮากันกับการคิดค้นใหม่ๆแต่ไม่สามารถอธิบายได้ถึงการทำงานการผลิตและแหล่งซื้อ มีแต่ขายหนังสือบทความแต่ชาวบ้านอย่างเราจะนำมาใช้โดยทั่วไปทำไม่ได้และไม่มีโิอกาสที่จะทำได้ รถเติมน้ำแทนน้ำมัน ใช้ไฮโดเจนมาผลิตไฟฟ้า มากมายหลายความคิดวิจัยกันไปต่างๆนาๆโชว์กันไปมากมายแต่ผลสรุปยังไม่สามรถนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายได้ แล้วจะมีประโยชน์อะไรหละครับ?

เพราะฉะนั้นไม่ต้องเพ้อฝันอะไรกันมากครับ เราหาพลังงานทดแทนที่ใกล้ตัวเราและเอาพลังงานที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์มีไฟใช้เป็นดีที่สุดครับ คนที่คิดก็คิดไป แต่เราต้องกินต้องใช้จ่าย เป็นเรื่องของอนาคตครับแต่ที่รู้ๆเมื่อมีผลประโยชน์เข้ามาความรู้ที่จะเปิดเผยให้ชาวบ้านรับรู้ไม่มีแน่นอนครับ มีน้ำตกใช้พลังงานจากน้ำ มีวัวควายหมูเป็ดไก่ใช้พลังงานจากก๊าซชีวภาพ มีลมใช้กังหันลม มีแสงแดดใช้โซล่าเซล มีคลื่นทะเลใช้พลังงานจากคลื่น สรุปเราใช้สิ่งที่ใกล้ๆตัวดีกว่าฝันไปไกลครับ ทำให้ชีวิตไม่เดือดร้อนช่างโหน่งว่าจะมีความสุขมากกว่าที่จะฝันไกลเกินไปจริงไหมครับ.

…………………………………..

…………………………………..

เซลผลิตไฟฟ้าโดยใช้ก๊าซไฮโดเจน ถ้าดีจริงน่าจะมีขายเหมือนโซล่าเซลนะครับ

PFC คืออะไร

บทความนี้อธิบายแบบชาวบ้านเพื่อความรู้ถึงกำลังไฟฟ้า (power factor correction)

ฝรั่งเขาเรียกว่า”กำลังปัจจัยถูกต้อง”แปลตรงตัวก็ตามนี้ครับ ขยายความหมายแบบไทยๆน่าจะหมายความว่า”กำลังงานได้มาจากปัจจัยที่ถูกต้อง”

อะไรคือปัจจัยที่ถูกต้อง(Factor Correction)

ถ้าในเรื่องของไฟฟ้าก็ต้องมีเรื่องแรงดันกับกระแสใช่ไหมครับ โดยทั่วไปเราเข้าใจว่ามีไฟฟ้าก็ใช้งานได้แล้ว ท่านเคยสังเกตุไหมครับว่าแบตเตอรี่บางครั้งเราวัดไฟได้12โวลท์ก็ดูเหมือนมีไฟอยู่แต่อินเวอร์เตอร์ไม่สามารถทำงานได้ทั้งนี้เพราะกระแสไม่พอนั่นเองครับ นี่คือที่มาของคำว่าPower Factor(อ่านว่าเพาเวอร์แฟคเตอร์)หรือตัวย่อPFC เราจะเห็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ราคาแพงจะติดตั้งวงจรนี้ด้วยครับ.

แรงดันกับกระแสต้องจูงมือกันแบบใกล้ชิด

ปรกติแรงดันจะไปก่อนกระแสเราต่องปรับให้แรงดันกับกระแสต้องจูงมือกับไปแบบใกล้ชิดจึงจะได้กำลังมากเปรียบเสมือนตอนรักกันใหม่ๆนะครับ จูงมือกันกอดกันแน่นแต่เมื่ออยู่กันไปนานๆแล้วต่างคนก็ต่างไปไม่ปรองดองกันก็จะไม่เกิดความสุขใช่ไหมครับ ไฟฟ้าก็เช่นกันหากแรงดันกับกระแสไม่ไปใกล้เคียงกันกำลังงานที่ได้ก็ไม่เต็มที่เครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะกินไฟมากไช่ไหมครับ.

 

 

ตามรูปจะเห็นว่ากำลังงานสูงสุดนี้อยู่ที่90องศา หากกระแสและแรงดันมาอยู่ใกล้กันมากที่สุดก็จะได้กำลังงานสูงสุดครับ

จะทำอย่าไร?

ทำอย่างไรหละช่างโหน่ง ช่างโหน่งเองก็ไม่ได้เรียนรู้มากจากใหนก็เรียนมาจากเน็ตนี่หละครับ พอดีไปทำแอร์โซล่าเซลมาไปเห็นวงจรอันหนึ่งอยู่ภายในแผงวงจรของแอร์ก็เลยเกิดความสงสัยพอแกะวงจรออกมาดูพบว่ามีวงจรทำให้ไฟฟ้าทำงานได้กำลังเต็มที่(PFC)โดยใช้ขดลวดเหนี่ยวนำ(คอล์ย)ควบคุมให้แรงดันกับกระแสไปด้วยกันอย่างแนบแน่น แล้วคำว่าแนบแน่นมีค่าวัดหรือไม่

 

 

รูปข้างบนจะเห็นวงจรควบคุมการทำงานเพาเวอร์แฟคเตอร์ในแอร์อินเวอร์เตอร์โดยใช้คอล์ยเหนี่ยวนำเพื่อควบคุมไฟดีซีแรงดันสูงทำงานได้กำลังงานเต็มที่ครับ

ค่าวัดความแนบแน่นมีค่าเท่าไหร่?(PF=?)

ฝรั่งเขากำหนดค่าไว้ที่ 1 ทำไมต้องเป็น 1 อันนี้เขาดูจากกราฟที่แสดงผลบนจอเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วต้องให้ทั้งสองเส้นมีตำแหน่งใกล้เคียงกันที่สุดครับ แต่ในความเป็นจริงแล้วจะมีความคาดเคลื่อนของอุปกรณ์เราจะทำได้เต็มที่ที่ 0.8-0.9 ก็ถือว่าใช้ได้แล้วครับ.

 

 

รูปข้างบนจะกำหนดเข็มของมิเตอร์ไว้ตรงกลาง เมื่อเราใช้ไฟฟ้าเข็มของมิเตอร์จะแสดงให้เห็นว่าตอนนี้เราได้กำลังงานเต็มที่หรือไม่ครับ หากไม่เต็มที่เราควรจะแก้ไขอย่างไร ส่วนสูตรการคำนวนหาดูในอินเตอร์เน็ตครับจะไม่ขอกล่าวถึง

ใช้อุปกรณ์อะไรเพื่อแก้ไขให้แรงดันกับกระแสปรองดองกัน?

งานปรองดองนี้ไม่ต้องใช้กำลังมาบังคับนะครับเราใช้อุปกรณ์แบบง่ายๆมีอยู่หลายชนิดแต่ในที่นี้ช่างโหน่งจะขอกล่าวถึงอุปกรณ์ที่ชาวบ้านเราเข้าใจกันง่ายๆครับ.

สำหรับไฟดีซีแรงดันสูง(HVDC)

สำหรับไฟดีซีแรงดันสูงที่เราต่อใช้งานกับมอเตอร์สามเฟสเพื่อสูบน้ำ ชาวบ้านเช่นเราก็จะต่อกันโดยตรงไม่ได้มีวงจรควบคุมอะไรใช่ไหมครับ แต่หากเรานำไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆเช่นแอร์หรืออินเวอร์เตอร์ไฮโวลท์เราจำเป็นต้องมีวงจรนี้ควบคุมครับ วงจรที่นิยมสำหรับไฟดีซีแรงดันสูงเขาจะใช้ขดลวดเหนี่ยวนำกันมาก เป็นวงจรอิเลคทรอนิกส์คอยควบคุมกระแสและแรงดันให้ไปด้วยกันแบบปรองดองและแนบแน่นครับ.

 

 

ตามวงจรจะเห็นชุดควบคุมควมถี่่ที่ควบคุมแรงดันกับกระแสให้ไปด้วยกันโดยผ่านคอล์ยมีค่า47ไมโครเฮนรี่ ปิดและเปิดกระแสด้วยมอสเฟสครับ.

วงจรนี้ฝรั่งเขาเรียกว่าActive Power Factor Correction (แอคทีพเพาเวอร์แฟคเตอร์)

สำหรับไฟกระแสสลับ(AC)

ไฟฟ้าที่เราใช้งานหากมีการควบคุมกำลังงานตรงนี้การทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าของเราทำงานได้เต็มที่ก็จะทำเราได้งานที่ดีและประหยัดไฟครับ

สำหรับไฟกระแสสลับที่นิยมกันมากคือใช้คอนเดนเซอร์แบบกระแสสลับ(ไม่มีขั่ว)หรือที่เรียกกันว่าคาปาซิตเตอร์ครับ.

 

 

คาปาซิตเตอร์ขนาดใหญ่สำหรับโรงงานอุสาหกรรม แต่สำหรับบ้านเราใช้ขนาดเล็ก20ไมโครฟารัด400โวลท์ก็พอครับ การต่อง่ายมากครับเรานำไปต่อเข้าทั้งสองสายไฟเอซีเส้นใหนก็ได้นะครับ แต่มีข้อแม้ว่าเราต้องต่อขณะมีโหลดนะครับหากไม่มีโหลดตัวคาปาซิตเตอร์จะเป็นโหลดเองมิเตอร์ไฟก็จะหมุนเช่นกันครับ.

 

 

ในรูปชุดสวิทต่อคาปาซิตเตอร์A B C D จะถูกควบคุมด้วยไมโครคอนโทลเลอร์ ซึ่งตัวควบคุมนี้จะตรวจสอบแรงดันและกระแส จาก CT และ PT ซึ่งเป็นขดลวดแล้วนำไปประมวลผลครับ หากค่าPFต่ำกว่า 1 คาปาซิตเตอร์ก็จะเชื่อมต่อไปทีละตัวจนกว่าจะได้ค่าPFใกล้เคียงกับ 1 ครับ ในโรงงานอุตสาหกรรมจะมีตู้ควมคุมเช่นนี้ด้วยครับ.

ต่อง่ายๆแบบชาวบ้าน

เราต่อใช้งานง่ายๆโดยใช้มือควบคุมครับ.

 

 

ตามรูปเมื่อเราเปิดมอเตอร์ให้ทำงานแล้วแอมป์มิเตอร์จะบอกค่ากระแสที่มอเตอร์นี้ใช้ไป แต่เมื่อเราสับสวิทต่อคาปาซิตเตอร์แล้วจะเห็นว่าค่าของแอมป์มิเตอร์จะลดลง นั่นแสดงว่าเราสามารถควบคุมกำลังงาน(PFC)ได้แล้วครับค่าไฟก็จะลดลงใช่ไหมครับ แต่หากเป็นมอเตอร์หลายตัวทำงานพร้อมกันเราควรวัดกระแสที่สายไฟหลักที่เข้ามาและทำการต่อคาปาซิตเตอร์เข้าไปทีละตัวดูว่ากระแสลดลงหรือไม่ หากไม่ลดก็แสดงว่าได้กำลังไฟเต็มที่แล้วหากต่อคาปาซิตเตอร์มากเกินไปก็จะการเป็นโหลดไปครับ

คาปาซิตเตอร์จะระเบิดหรือไม่

ข้อสำคัญเราต้องดูแรงดันไม่ต่ำกว่า400โวลท์ครับ ส่วนค่ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเงินในกระเป๋าของท่านครับ เราเป็นวิศวะกะก็กะเอาทดลองเอาว่าจะใช้ค่าเท่าไหร่ และต่อขั่วใหนก็ได้ครับเวลาไปซื้อบอกเอาไปใช้กับมอเตอร์ครับ

ได้ผลดีกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์

ช่างโหน่งบอกว่าใส่คาปาซิตเตอร์เข้าไป แต่เปิดกาต้มน้ำหม้อหุงข้าวแล้วกระแสไม่เห็นลงเลย การลดกระแสนั้นจะดีกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็นขดลวดครับ ฝรั่งกำหนดขดลวดเหนี่ยวนำเป็น L กำหนดตัวเก็บประจุว่า C การควบคุมค่าความถี่ที่เหมาะสมให้กับขดลวดเราต้องใช้ตัวเก็บประจุมาใช้งานครับ ดังนั้นหม้อหุงข้าวไม่มีขดลวดเหนี่ยวนำการนำตัวเก็บประจุมาต่อจึงไม่มีผลกับกระแสไฟครับ แต่หากเป็นตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องสูบน้ำใช้ได้ดีครับ.

สรุปว่า

ค่าPFCหรือเพาเวอร์แฟคเตอร์นั้นหากเราควบคุมได้ เราจะได้กำลังไฟที่สูงสุดเครื่องไฟฟ้าทำงานได้ดี หากเป็นไฟบ้านก็จะช่วยลดค่าไฟสำหรับเราได้ครับ

สำหรับท่านที่ใช้อินเวอร์เตอร์แบบหม้อแปลงเมื่อใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์เมื่อเราต่อคาปาซิตเตอร์เข้าไปจะสังเกตุเห็นว่ากระแสลดลงแสดงว่าการกินไฟลดลงแต่เครื่องใช้ไฟฟ้ายังทำงานได้เหมือนเดิมครับ.

ไฟดีซีแรงดันสูงโดยตรงมีผลเสียกับเครื่องไฟฟ้าบางชนิด

ใช้ไฟดีซีแรงดันสูงโดยตรงมีผลเสียกับเครื่องไฟฟ้าบางชนิด

การต่อแผงอนุกรมหรีอต่อแบตเตอรี่โดยตรงเพื่อให้ได้ไฟดีซีแรงดันสูงถึง220โวลท์แล้วนำมาใช้กับเครื่องใช้ไฟฟัา จะมีผลเสียกับสะพานไฟหรือสวิทไฟ เหตุผลก็คือจะเกิดการอาร์คกันขึ้นเช่นเดียวกับฟ้าผ่า ทั้งนี้ไฟกระแสตรงจะไม่มีการตัดเหมือนไฟสลับซึ่งไฟกระแสสลับจะสลับการทำงานในช่วงหนึงทำให้วงจรขาดออกจากกันเองแต่ไฟกระแสตรงหากแรงดันสูงหากระยะห่างของสะพานไฟห่างกันไม่มากหรือขาดออกจากกันไม่เร็วพอจะทำให้เกิดการอาร์คกันได้ครับ

Electrostatics, Metallux Resistors control electrostatic charges

………………………………

ดังนั้นมักจะพบและได้ยินบ่อยๆกับนักทดลองวิศวะกะแบบชาวบ้านของเราว่าเวลาต่อสว่านไฟฟ้าโดยตรงกับไฟดีซีแรงดันสูงแล้วสวิทของสว่านจะพังหรือต่อหม้อหุงข้าว กาต้มน้ำ เครื่องทำน้ำอุ่นเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้จะพังตรงสวิทครับ ทั้งนี้เพราะเกิดการอาร์คกันขึ้นระหว่างขั่วขณะที่วงจรขาดจากกัน

อุปกรณ์ใดที่สามารถต่อโดยตรงจากไฟดีซีแรงดันสูงได้บ้าง?

อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่อได้เช่นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีหม้อแปลงเป็นแบบสวืทชิ่ง เช่นหม้อแปลงประจุแบตโทรศัพท์ ที่วี หลอดไฟแอลอีดี หลอดตะเกัยบ ฯ

ซึ่งภายในอุปกรณ์เหล่านี้จะมีวงจะแปลงกระแสไฟอีก จึงสามารถใช้โดยตรงได้ครับ แต่หากจำเป็นที่ต้องการใช้จริงๆแล้วให้เปิดสวิทไว้ตลอดแล้วต่อสะพานไฟข้างนอกเพื่อปิดเปิดแทนจะทนกว่าครับ.

ซ่อมแผงโซล่าเซลแบบกระจก

ซ่อมแผงโซล่าเซลแบบกระจก

หรือที่ฝรั่งเรียกว่าแบบอะมอร์ฟัส ในสมัยก่อนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในสวนไม่มีไฟฟ้าใช้ ทางการจึงมีโครงการแจกแผงทั่วประเทศ แต่เมื่อนานไปขั่วที่ต่อไปเกิดชำรุด ไม่ว่าจะถูกฟ้าผ่าหรือไดโอดภายในช๊อต จึงไม่มีไฟออกมา เมื่อไม่มีประโยชน์ก็ปล่อยทิ้งกัน ช่างโหน่งจึงเข้าไปช่วยเหลือพ่อแม่พี่น้องที่มีใช้กันอยู่ โดยนำแผงมาซ่อมใหม่ ใช้วิธีตัดกระจกที่ประกบกันด้านข้างออกแล้วเชื่อมต่อขั่วไฟใหม่ ซึ่งขัวไฟของแผงอะมอร์ฟัสนี้จะเป็นแถบโลหะยาวมาจากด้านล่างครับก่อนติดกาวลองวัดไฟดูจะมีไฟ แสดงว่าการซ่อมเสร็จสมบูรณ์

งานนี้ต้องอาศัยฝีมือพอสมควร แต่ค่าตอบแทนก็คุ้มครับ อุปกรณ์ก็มี ที่ตัดกระจก กาวอีพ๊อกซี่ชนิดแห้งช้า3ตัน สายไฟอ่อนขนาด2.5มิล และสำคัญที่สุดคือตะกั่วแท่งสำหรับบัดกรี สุดท้ายคือเครื่องเป่าลมร้อน ปกติรับซ่อมแผงละ500บาทครับ ลองทดลองดู หรือท่านอาจจะตัดส่วนที่แตกออกและนำส่วนที่ดีมาใช้งาน เป็นการนำเอาของทิ้งแล้วมาใช้ใหม่

ผ่าเครื่องปั่นไฟจีน ใช้มอเตอร์BLDCประจุแบตสำรองสำหรับรถไฟฟ้า

ผ่าเครื่องปั่นไฟจีน ใช้มอเตอร์BLDCประจุแบต

แบตเตอรี่ยังจำเป็นสำหรับเก็บพลังงานไว้ใช้สำหรับผลิตพลังงานต่างๆ เช่นแสงสว่าง ระบบแอร์ รถไฟฟ้า ฯ การประจุแบตนอกจากพลังงานทางธรรมชาติแล้ว ยังไม่พ้นที่จะต้องใช้เครื่องยนต์มาประจุแบตซึ่งยังคงต้องใช้น้ำมันหรือก๊าซ ช่างโหน่งได้เครื่องนี้มาจากลูกค้าเพื่อทำชุดควบคุมใส่ เนื่องจากผู้ขายไม่ให้ชุดควบคุมมาด้วยด้วยเหตุผลทางการค้าหรืออะไรก็แล้วแต่ ช่างโหน่งเห็นเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่ใช้พลังงานทดแทนอยู่ เอาไว้ใช้ยามฉุกเฉินเมื่่อพลังงานไม่พอครับ.

……………………………………………

……………………………………………..

หลักการทำงาน

การทำงานไม่ต่างจากเครื่องปั่นไฟทั่วๆไป แต่เครื่องนี้จะใช้มอเตอร์ทำหน้าที่เป็นไดสตาร์ทและปั่นไฟกลับออกมาใช้งานครับ ลักษณะเด่นของมอเตอร์BLDCนี้ จะใช้แม่เหล็กถาวรความเข้มสูงตัดผ่านขดลวดที่พันเป็นแบบ3เฟสมีมุมหมุนสลับกันที่60องศาหรือ120องศา ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ากระแสสลับออกมาครับ ในเครื่องนี้ออกแบบใช้ไฟที่72โวลท์เพื่อปรจุแบตขนาด72โวลท์สำหรับรถไฟฟ้าครับ

ไฟที่ป้อนเข้าตอนสตาร์ทเป็นไฟDC 72โวลท์ โดยผ่านชุดควบคุมภายในเป็นชุดขับมอเตอร์และควบคุมความเร็วรอบของเครื่องยนต์ทำให้ไฟที่ออกมาคงที่ครับ.

…………………………………………………

…………………………………………………

จากภาพข้างบนจะเห็นมอเฟสขับมอเตอร์อยู่3ชุด คือชุดสายสีเหลือง สีเขียวและสีฟ้า และสายของมอเตอร์ยังต่อเข้ากับไดโอดบริดแบบสามเฟสแปลงไฟกลับออกมาเป็นไฟดีซี72โวลท์ครับ.

………………………………………………..

………………………………………………..

จากภาพข้างบนจะเห็นบริดไดโอดขนาดใหญ่แปลงไฟกลับออกมาเป็นไฟดีซีครับ

……………………………………………….

……………………………………………..

การควบคุมความเร็วของเครื่องยนต์ใช้มอเตอร์ขนาดเล็กปิดและเปิดวาวที่คาบูเรเตอร์เพื่อเร่งหรือลดรอบเครื่องยนต์ให้ไฟออกมาคงที่โดยใช้ชุดควบคุมและตรวจสอบแรงดันที่อยู่ในชุดขับมอเตอร์ครับ.

………………………………………………

………………………………………………

นับว่าเป็นไอเดียที่น่าสนใจนะครับ เนื่องจากเป็นเครื่องยนต์ขนาดเล็กและเสียงเงียบหากนำมาใสในรถไฟฟ้าขนาดเล็กเพื่อประจุแบตฉุกเฉินคงเป็นความคิดที่ดีอีกทางหนึ่งครับ.

สำหรับชาวโซล่าเซลเราอาจใช้แนวความคิดนี้ดัดแปลงเครื่องปั่นไฟที่เรามีอยู่หรือซื้อเครื่องปั่นไฟราคาถูกมาพันลวดใหม่ให้แรงดันที่ออกมาเพียงพอที่จะประจุแบต 12โวลท์หรือ 24โวลท์ โดยไม่ต้องผ่านหม้อแปลงให้มีการสูญเสียพลังงานเพิ่มขึ้นเอาไว้ใช้ยามฉุกเฉินเช่นหน้าฝนหรือต้องการใช้ไฟมากในการก่อสร้าง ซึ่งเราไม่ต้องไปยุ่งในระบบเดิมเพียงแต่เรารักษาแรงดันและกระแสในแบตให้คงที่ก็พอแล้วครับ.

หากมีเวลาในโอกาศต่อไปช่างโหน่งจะทำขึ้นมาทดลองใช้งานเพื่อเป็นแนวทางและความรู้สำหรับชาวบ้านต่อไปครับ.

ระบบกริดกรูโปรดระวังไฟฟ้ารั่วไปที่แผง

ใช้ระบบกริดกรูโปรดระวังไฟฟ้ารั่วไปที่แผง

การต่อไฟฟ้าไปใช้ร่วมกันกับแผง มีข้อดีตรงที่เป็นไฟดีซีด้วยกันใช้เชื่อมต่อกันได้เพียงให้ขั่วตรงกันก็เข้ากันได้ครับ เมื่อไฟจากแผงไม่พอไฟฟ้าก็จะเข้ามาแทน ซึ่งระบบก็ไม่ยุ่งยากเพียงใช้ไดโอดเป็นตัวขั่นกลาง ป้องกันไม่ให้ไฟไหลย้อนกลับไปยังแหล่งจ่ายไฟอื่นๆ แต่ข้อเสียคือ ไฟฟ้าที่ผ่านไดโอดถึงแม้จะออกเป็นไฟดีซีแต่หากเราไปจับหรือแผงโซล่าเซลรั่ว เช่นแผงรุ่นน้ำท่วมจะทำให้เกิดอันตรายจากไฟฟ้าดูดได้ครับ ดังนั้นหากใช้ระบบนี้ควรติดตั้งคัทเอ้ากันไฟฟ้าดูดด้วยครับ หลายท่านมือใหม่อาจยังไม่รู้อาจเกิดอันตรายกับท่านหรือครอบครัวท่านได้ครับ.

…………………………………………………

…………………………………………………

ด้วยความปารถนาดีจากช่างบ้านนอกครับ.

ผ่าแอร์อินเวอร์เตอร์ไดกิ้น

ผ่าแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์ ไดกิ้น ตอนที่1

แอร์หรือเครื่องปรับอากาศมีบทบาทในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้แล้ว เพราะความร้อนของโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งใช้แอร์ลมร้อนที่ออกมาภายนอกก็ยิ่งทำให้บริเวณนั้นร้อนกว่าปรกติ เพราะฉะนั้นบริษัทที่ผลิตแอร์ขายจึงต้องพัฒนาเพื่อช่วยกันลดความร้อนของโลกลงในขณะที่เปิดแอร์ ไม่ว่าจะเกี่ยวกันน้ำยาหรือสารทำความเย็นของแอร์ หรือระบบการทำงานของแอร์ ซึ่งช่างโหน่งเห็นว่ามีประโยชน์และอยากเปลี่ยนความคิดกับท่านที่คิดว่าแอร์ระบบนี้เสียง่ายและซ่อมยากครับ.

ทำไมต้องผ่าแอร์รุ่นนี้(วะ)

แอร์รุ่นอื่นก็มีมากมายทำไมต้องเอารุ่นนี้หรือได้เงินจ้างมาให้เขียน เหตุผลครับเดิมมีลูกค้าให้ติดตั้งแอร์รุ่นนี้กับระบบโซล่าเซลซึ่งเราจำเป็นต้องศึกษาว่าจะใช้งานอย่างไรกับโซล่าเซล หากเขาเอารุ่นอื่นยี่ห้ออื่นมาให้ก็คงว่าไปตามนั้นครับ โดยส่วนตัวก็ไม่ได้เชียร์ใคร เมื่อได้มาแล้วก็ต้องศึกษาระบบให้เข้าใจ เมื่อทำงานร่วมกับโซล่าเซลแล้วจะทำงานได้มีประสิทธิ์ภาพยิ่งขึ้นครับ.

ระบบการทำงานในแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์

ระบบอินเวอร์เตอร์คืออะไรครับ ระบบอินเวอร์เตอร์อธิบายแบบช่างบ้านนอกเข้าใจง่ายๆก็คือเป็นระบบจัดการการทำงานของแอร์ทั้งระบบการทำงานทั้งหมดมีเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปรไปได้ตามสถาณะการณ์ต่างๆไม่จำกัดเหมือนแอร์ธรรมดาครับ กล่าวคือตั้งแต่ระบบภายในห้องจนถึงนอกห้องการทำงานจะสัมพันธ์กันทั้งหมด เพราะฉะนั้นการควบคุมหรือสมองกลมีทั้งในห้องและนอกห้องครับ ด้วยเหตุนี้หากเสียหายมาช่างบ้านนอกอย่างเราคงซ่อมไมได้จึงไม่แนะนำให้ติดตั้ง แต่สำหรับช่างบ้านนอกอย่างช่างโหน่งหากอยากรู้ก็ต้องรู้ให้ได้ครับพังเป็นพังจนเมียหนีไปหลายคนแล้วครับ(555)เพราะรื้ออย่างเดียวจนบ้านไม่มีที่เก็บรกรุ่งรังประสาช่าง แต่จัยมันรักก็ต้องลุยครับ.

ระบบการทำงานภายในห้อง

คอล์ยเย็นเป็นภาษาชาวบ้านเรียกกัน คือส่วนที่ทำให้ลมเย็นพัดออกมาและนำอากาศร้อนภายในห้องดูดมาผ่านคอล์ยเย็นนำความเย็นออกไปหมุนเวียนกันอยู่อย่างนี้จนกว่าเงื่อนไขที่ตั้งไว้คืออุณหภูมิของห้องได้ตามต้องการ เช่นที่21องศา ระบบก็จะหยุดการทำงานผลิตความเย็น ข้อแตกต่างกับระบบเก่าคือเมื่อความเย็นได้ตามต้องการคอมเพรสเซอร์ภายนอกห้องจะหยุดการทำงานทั้งหมดและจะเริ่มใหม่เมื่อภายในห้องสั่งงานมา เมื่อเริ่มทำงานใหม่คอมเพรสทำงานที่กำลังงานเท่าเดิมแต่อาจทำไม่นานเพราะความเย็นภายในห้องมีบ้างแล้ว แต่ตอนที่เริ่มทำงานจะกินไฟมากทุกครั้งครับ.

ส่วนการทำงานของระบบอินเวอร์เตอร์ตามที่กล่าวข้างต้นระบบจะทำงานตามเงื่อนไขต่างๆเช่นเมื่อเราตั้งไว้ที่21องศาเมื่อความเย็นภายในห้องได้แล้วจะสั่งงานไปยังภายนอกห้องชุดคอล์ยร้อนหรือคอมเพรสเซอร์ก็จะชะลอการทำงานเพื่อรอรับคำสั่งต่อไปซึ่งแตกต่างกับแอร์ระบบเก่าจะหยุดการทำงานทั้งหมดครับ

ระบบการทำงานภายนอกห้อง

เมื่อภายในห้องสั่งให้ชะลอการทำงานในระหว่างนี้ภายนอกห้องหรือส่วนของคอมเพรสเซอร์จะบริหารงานของตัวเองไประหว่างรอรับคำสั่ง

1.ปรับความดันน้ำยาภายในคอมเพรสเซอร์โดยคอมจะทำงานแต่รอบไม่สูงอัดฉีดสารทำความเย็นเข้าไปเรื่อยๆแต่ไม่มากจึงทำให้มีความเย็นสม่ำเสมอ หากความร้อนในห้องเพิ่มขึ้นมากคอมเพรสเซอร์ก็จะอัดฉีดสารทำความเย็นมากขึ้นครับ ซึ่งคอมเพรสเซอร์สำหรับนี้จะเป็นคอมเพรสเซอร์แบบ 3เฟส สามารถปรับความเร็วได้เช่นกันครับ.

………………………………………………

………………………………………………..

2.ปรับความดันน้ำยาโดยใช้วาวแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือฝรั่งเรียกว่า Electronic Expansion Valve อิเล็กทรอนิกส์ เอ็กแพนชั่น วาว ซึ่งวาวตัวนี้จะทำหน้าที่จ่ายน้ำยาแอร์อย่างเหมาะสมกับการทำงานของคอมเพรสเซอร์และตัวฉีดน้ำยาให้มีสถานะเป็นไอที่อยู่ในคอล์ยเย็น ให้น้ำยาไหลเวียนคงที่ไม่มากและไม่น้อยเกินไป การทำงานของคอมเพรสเซอร์ก็ไม่หนักจึงทำให้ประหยัดไฟครับ.

……………………………………………..

……………………………………………..

3.ตรวจความร้อนของแผงระบายความร้อนพัดลมที่เป่าคอล์ยร้อนตามปรกติระบบเก่าจะหมุนที่รอบเท่าเดิมกินไฟเท่าเดิม แต่ระบบอินเวอร์เตอร์จะตรวจสอบความร้อนหากร้อนมากก็จะหมุนเร็วหากร้อนน้อยก็จะหมุนช้าจึงทำให้กินไฟน้อยครับ ซึ่งพัดลมสำหรับคอล์ยร้อนเป็นมอเตอร์แบบแม่เหล็กไม่มีแปลงถ่านหรือเรียกย่อว่าBLDC(Brushless DC mortor)การทำงานจะปรับความเร็วรอบได้ตลอดครับ.

……………………………………………

……………………………………………

4.ตรวจสอบความร้อนนอกห้อง ปรกติแอร์ระบบเก่าไม่มีการตรวจสอบความร้อนนอกห้องจะร้อนมากหรือน้อยกูทำงานอย่างเดียว ส่วนระบบอินเวอร์เตอร์จะมีเงื่อนไขต่างๆเข้ามาสัมพันธ์กันมากมายจนช่างปวดหัว การตรวจสอบอุณหภูมินอกห้องเพื่อเป็นข้อเปรียบเทียบเพื่อการทำงานของพัดลมคอล์ยร้อนทำงานถูกต้องอย่างแม่นยำบางครั้งคอล์ยร้อนความร้อนไม่มากพัดลมจึงไม่จำเป็นต้องทำงาน คืออากาศข้างนอกอาจะร้อนมึงก็ร้อนไป แต่คอล์ยร้อนกูไม่ร้อนพัดลมก็ไม่ทำงานหรือทำงานน้อยลง(อย่ามาหลอกกันเสียให้ยากเฟ้ย..) แต่ถ้าระบบเสียมาช่างปวดหัวแน่ๆ

…………………………………………..

…………………………………………..

5.ตรวจอุณหภูมิความร้อนสถานะของน้ำยาแอร์ ที่ออกจากคอมเพรสเซอร์ก่อนเข้าคอลย์ร้อนเพื่ออัดฉีดจากคอมเพรสเซอร์สถานะแก๊สแรงดันสูงไปยังคอล์ยร้อนระบายความร้อนและให้เปลี่ยนสถานะแก๊สเป็นของเหลวแรงดันต่ำผ่านตัวฉีดหรือเรียกว่าแค๊ปทิ้วในคอยเย็นในห้อง พัดลมในคอล์ยเย็นก็พัดเอาความเย็นออกไปและหมุนเวียนเอาความร้อนในห้องเข้ามาครับ.

…………………………………………..

…………………………………………..

การทำงานของแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์นอกห้อง(ชุดคอมเพรสเซอร์)

แอร์ระบบอินเวอร์เตอร์นี้จำเป็นต้องใช้สมองกลมาควบคุมดังนั้นต้องมีวงจรอิเล็กทรอนิกส์มาเกี่ยวข้องครับ ช่างแอร์ที่ไม่มีความชำนาญไม่ศึกษาเพิ่มเติมในอนาคตก็จะลำบากครับ แต่อย่างไรก็ตามแต่ละยี่ห้อเขามีตรางโค๊ด (Error Code)ซึ่งเมื่อการทำงานของแอร์ขัดข้องก็จะแสดงผลที่แผ่นวงจรควบคุมอาจจะแสดงด้วยตัวเลขหรือการกระพริบของไฟ ทำให้ช่างพอที่จะรู้บริเวณที่เสียได้โดยง่าย หรือสอบถามบริษัทเกี่ยวกับอาการได้ง่ายขึ้นครับ.

………………………………………..

……………………………………….

ตามรูปแผงวงจรก็ไม่ต่างจากวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ประกอบด้วยหน่วยประมวลผลกลาง(CPU)ภาคตรวจสอบ ภาคขับมอเตอร์ ภาคจ่ายไฟ ซึ่งหากเราแบ่งการศึกษาออกเป็นส่วนๆแล้วจะเข้าในการทำงานมากขึ้นครับ และเมื่อเกิดปัญหามาเรารู้จุดที่จะต้องตรวจซ่อมครับ ไม่ใช่เอะอะ อะไรก็เปลี่ยนเปลี่ยนบอร์ด เปลี่ยนอย่างเดียวเบิกเงินลูกค้าไปแทบจะซื้อแอร์ใหม่ได้ก็มีครับ บางรายซ่อมไม่ได้ก็ทิ้งงานไปก็มีครับ.

ส่วนที่ 1 ตามรูปเป็นหัวใจสำคัญในการสั่งการต่างให้คอมเพรสเซอร์ทำงานหรือพัดลมทำงานหรือวาวปิดเปิดน้ำยา และยังรับข้อมูลทั้งจากในห้องจากตัวเซ็นเซอร์ตรวจสอบต่างๆมาประมวลผลไว้ที่นี่ครับ โดยปรกติเสียยากถ้าไม่ถูกฟ้าผ่าและบนแผ่นวงจรยังเคลือบเรซินกันความชื้นและละอองน้ำไว้อีกครับ.

ส่วนที่ 2 ตามรูปเป็นไอซีสำหรับขับพัดลมคอล์ยร้อนครับ หากพัดลมไม่หมุนก็ตรวจสอบสัญญาณที่นี่ครับ

ส่วนที่ 3 ตามรูปเป็นโมดูลขับคอมเพรสเซอร์ ซึ่งเป็นมอเตอร์แบบ 3 เฟสครับ สามารถปรับความเร็วได้คอมเพรสเซอร์ทำงานตลอดแต่ไม่กินไฟมากครับเพราะเดินอัดน้ำยาไปเรื่อยๆ

ส่วนที่ 4 ตามรูปเป็นส่วนของการแปลงไฟจากไฟฟ้าในบ้านให้เป็นไฟกระแสตรงแบบแบตเตอรรี่ แรงดันที่ได้อยู่ประมาณ300-350โวลท์ครับ จากการที่แอร์ทำงานด้วยไฟดีซีแรงดันสูงหากนำมาใช้กับโซล่าเซลโดยตรงก็จะกินกระแสน้อยลง ซึ่งช่างบ้านนอกต้องทดลองต่อไปครับ.

……………………………………………

…………………………………………..

ในภาคจ่ายไฟนี้จะมีหม้อแปลงขดเดียวทำหน้าที่เป็นโช๊คเหนี่ยวนำไฟฟ้าให้เกิดความยืดหยุ่นการกระชากของไฟไฟตกไฟเกินเป็นการป้องกันแบบง่ายๆไม่ซับซ้อนครับ.

ส่วนที่ 5 ตามรูปเป็นส่วนป้องกันจากฟ้าผ่าและคลื่นรบกวนที่จะเข้ามาจากไฟฟ้าครับเราต่อไฟ220โวลท์เข้าที่นี่โดยตรง

ส่วนที่ 6 ตามรูปเป็นส่วนสื่อสารกันระหว่างภายในห้องกับภายนอกห้องโดยภายสายไฟฟ้าที่เดินเข้าหากันใช้สายไฟเพียงเส้นเดียวครับ การเชื่อมต่อสายไฟต้องระมัดระวังห้ามผิดเด็ดขาด

…………………………………………………………………………..

………………………………………………………………………………..

แผนผังวงจรไฟฟ้าแสดงการต่อสายไฟไปยังจุดต่างๆ

การทำงานของระบบโดยทั่วไป

เมื่อเราจ่ายไฟเข้าเครื่องพัดลมคอล์ยเย็นจะทำงาน ตรวจสอบระบบต่างได้ด้วยรีโมทซึ่งรีโมทนี้มีความสำคัญมากหากชำรุดไปการสั่งงานบางอย่างอาจทำไม่ได้ครับ เมื่อเวลาผ่านไป3-5นาทีพัดลมคอล์ยร้อนก็ค่อยหมุนและแรงขึ้น ความเย็นในห้องค่อยๆเย็นขึ้นตามลำดับครับ

สำหรับการกินกระแสไฟแอร์รุ่นนี้เท่าที่ทดลองมามี 2 ขนาดคือ 9800 Btu จะกินเต็มที่ที่ 3 แอมป์ และขนาด 12000ฺ Btu จะกินไฟเต็มที่ ที่ 7 แอมป์ครับ หลังจากความเย็นในห้องมีมากขึ้นการกินไฟก็จะลดลง ในตอนกลางคืนเหลือไม่ถึง 1 แอมป์ครับ ซึ่งประหยัดไฟมาก

เนื่องจากช่างโหน่งไม่ใช่ช่างแอร์ไม่มีความรู้ด้านแอร์มาก่อนอาศัยการทดลองเท่านั้นครับ หากในบทความผิดพลาดตามหลักวิชาการไปก็ต้องขออภัยท่านผู้รู้ด้วยครับ คงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับมือใหม่พอคำทางได้โดยไม่เสียเวลามากครับ.

ในตอนต่อไปจะอธิบายระบบในห้องคอล์ยเย็นและการใช้งานร่วมกับโซล่าเซลระบบไฮบริดครับ