เรื่องทั้งหมดโดย kajhonphol

การโปรแกรมไอซีatmega328

การโปรแกรมไอซีatmega328

เปิดโปรแกรมArduino1.0.1 โหลดข้อมูลเข้าในโปรแกรมกดโหลดโปรแกรมเข้าในไอซี

…………………………………………………

…………………………………………………

ในรูปข้างต้นเปิดโปรแกรมตัวอย่างที่มีในArduino1.0.1เป็นโปรแกรมไฟกระพริบ โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ทดสอบง่ายที่สุด ขา13ของไอซีต่อLEDผ่านรีซิตเตอร์1Kลงไฟลบ(GND)

ในบทความที่กล่าวมาเป็นเทคนิคต่างๆที่ช่างโหน่งได้ทดลองทำดูแล้วสำเร็จจึงนำมาเผยแพร่สำหรับมือใใหม่ที่เริ่มเล่นไอซีตระกูลนี้ครับ ต่อไปเป็นเทคนิคการนำไอซีมาต่อการทำงานโดยตรง(StandAlone)ทั้งขาแบบตะขาบ(DIP)และขาแบบชิพ32ขา(TQFP)มีความยากและง่ายต่างกันครับ.

การนำไอซีไปใช้งาน(Standalone)

โครงสร้างภายในของไอซีแบบต่างๆมีการออกแบบต่างกันครับเพราะฉะนั้นการออกแบบแผ่นวงจรและการนำตัวไอซีที่เราโปรแกรมแล้วไปใช้งานหรือที่ฝรั่งเรียกว่า standalone ลงในแผ่นวงจรต้องมีเทคนิคที่แตกต่างกันครับ ก่อนอื่นเราต้องรู้จักขาของไอซีแต่ละแบบแล้วนำมาออกแบบครับ.

…………………………………………………

………………………………………………..

ในรูปเป็นขาแบบตะขาบ(DIP)และขาแบบชิพ(TQFO) จำนวนและตำแหน่งขาต่างกันครับ การต่อพื้นฐานตามรูปข้างต้นยกเว้นขาAref ไม่ต้องต่อแต่อาจจะใช้Cค่า0.1ไมโครต่อลงไฟลบไว้เพื่อลดการรบกวนจากภายนอกครับ.

การออกแบบวงจร

โครงสร้างภายในที่แตกต่างกัน เมื่อเราออกแบบแผ่นวงจรจะพบปัญหามากมาย ทดลองในตัวเขียนโปรแกรมก็ผ่านแต่พอเอามาลงปริ้นไม่ผ่าน ปัญหาเหล่านี้สำหรับไอซีตระกูลนี้คือคลื่นรบกวนและสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำ การออกแบบต้องมีไฟลบหรือGnd ต้องมีพื้นที่ล้อมรอบขาทั้งหมด และขาที่ไม่ได้ใช้งานออกแบบปริ้นห่างจากชิพประมาณ2เซ็นแล้วลงกราวด์จะช่วยลดการรบกวนได้ครับ โดยเฉพาะการออกแบบสำหรับชิพแบบTQFPครับ.

…………………………………………………

…………………………………………………

ตัวอย่างการออกแบบสำหรับชิพTQFP 32ขา จะมีบางขาที่ต่อร่วมกันจะสังเกตุว่ากราวด์(Gnd)จะมีพื้นที่มากแต่การนำไปลงแผ่นปริ้นยังต้องระวังคลื่นแม่เหล็กเหนี่ยวนำโดยเฉพาะการต่อไฟไปเลี้ยงวงจรด้วยครับ.

เนื้องจากชิพ32ขาจะราคาถูกกว่าเพราะการนำไปใช้งานยากกว่าสำหรับมือใหม่และไอซีตระกูลนี้โครงสร้างภายในไม่มีการป้องกันการรบกวน จึงทำให้คนไม่นิยมใช้ราคาจึงถูก แต่หากเราหาวิธีและทดสอบแล้วปัญหาต่างๆจะถูกแก้ ทำให้ต้นทุนการผลิตถูกลงและการลอกเลียนแบบทำได้ยากขึ้นครับ.

ส่วนการออกแบบไอซีแบบขาตะขาบไม่ค่อยมีปัญหาอะไรแต่ราคาค่อนข้างสูงครับ แต่เลือกไม่ได้ครับเพราะเราไม่สามารถทำแผ่นปริ้นที่มีขนาดเล็กได้ครับ.

การอ่านข้อมูลที่เขียนบนไอซีและการป้องกันCopy

ในบทความข้างต้นเราไม่สามารถเข้าถึงหน่วยความจำในไอซีได้โดยเห็นข้อมูลภายในทั้งหมด ซึ่งบางครั้งโค้ดที่เขาให้มาอาจมีการป้องกันการก๊อปใส่ค่าที่ผิดๆมาให้ หากเราใช้โปรแกรมที่สามารถเขียนข้อมูลที่เป็นภาษาเครื่อง(HexFiles)และอ่านภาษาเครื่อง(HexFiles)ออกมาเก็บไว้ได้ เราก็สามารถบันทึงลงไอซีตัวใหม่ได้ บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อสำรองข้อมูลไอซีเก็บไว้หากไอซีตัวที่ทำงานเกิดความเสียหายขึ้นจะได้ใช้ไอซีตัวใหม่เปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วครับ ไม่ได้แนะนำให้ก๊อปเพื่อประโยชน์ทางการค้าครับ แต่หากไอซีใส่รหัสไว้ก็เสียใจด้วยครับ.

………………………………………………..

…………………………………………………

โปรแกรมที่ช่างโหน่งใช้คือKhazama หาโหลดตามเน็ตได้ครับ เมื่อได้โปรแกรมมาแล้วเราจะเชื่อมต่อกับไอซีได้อย่างไร ในท้องตลาดมีอุปกรณ์ตัวนี้ขายอยู่มากมายครับเขาเรียกกันว่าUSBASP ราคาไม่เกินร้อยบาทครับ.

……………………………………………………..

…………………………………………………

ตัวเชื่อมต่อตัวนี้ต่อเข้าทางUSBของคอมพิวเตอร์เลยครับ สายที่ต่อออกทั้งหมดมี6เส้นครับ

…………………………………………………

…………………………………………………

ไอซีแบบตะขาบ(DIP)

Miso—pin18 ต่อเข้าขา18

Mosi—pin17 ต่อเข้าขา17

Sck—pin19 ต่อเข้าขา19

Res—pin1  ต่อเข้าขา1

Vtg–pin7,20 ต่อเข้าขา7และ20

Gnd–pin8,22 ต่อเข้าขา8และ22

ไอซีแบบชิพ(TQFP)32ขา

Miso—pin16 ต่อเข้าขา16

Mosi—pin15 ต่อเข้าขา15

Sck—pin19 ต่อเข้าขา19

Res—pin29  ต่อเข้าขา29

Vtg–pin4,6,18 ต่อเข้าขา4และ6และ18

Gnd–pin3,5,21 ต่อเข้าขา3และ5และ21

การโปรแกรมและการใช้งาน

เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาขั้นตอนแรกเราต้องเลือกเบอร์ไอซีที่เราใช้งานอยู่ในที่นี้ช่างโหน่งใชAtmega328

……………………………………………..

……………………………………………..

ต่อไปโหลดโปรแกรมที่จะเขียนลงไปในไอซีครับ โดยไฟล์ที่ใช้นี้ต้องเป็นไฟล์ภาษาเครื่องหรือHexfiles

……………………………………………..

…………………………………………….

เราจะเอาHexFiles(เฮ็กไฟล์)นี้มาจากใหนครับ ในโปรแกรมของArduino ก็เป็นนามสกุลINOจะแปลงเป็นนามสกุลHexได้อย่างไรครับ ในโปรแกรมอาดุยโน่ที่เขียนลงไปในเครื่องต้องเป็นภาษาเครื่องเท่านั้นครับ(HexFiles)ซึ่งโปรแกรมเขาไม่ได้แสดงออกมาให้เราเห็นเขาทำสำเร็จสะดวกสำหรับการใช้งานครับแต่หากเราต้องการHexFilesมีวิธีดังนี้ครับ ช่างโหน่งใช้ระบบวินโด้XPอยู่นะครับหากใครใช้ระบบอื่นอยู่ก็หาที่เก็บHexFilesตามนี้ครับ.

………………………………………………..

…………………………………………………

เข้าไปที่Start—Run แล้วพิมพ์%temp% เราก็จะเข้าไปถึงสถานที่เก็บHexFilesเมื่ออาดุยโน่แปล(compiles)ก่อนที่จะเขียนลงไอซีครับ แต่เมื่ออาดุยโน่เขียนเสร็จแล้วไฟล์ที่เก็บไว้ในtempก็จะถูกลบไปโดยอัตโนมัตเราจะไม่ให้ลบได้อย่างไรงานนี้ต้องไปกำหนดค่าที่โปรแกรมอาดุยโน่ครับ.

…………………………………………………

…………………………………………………

เปิดโปรแกรมอาดุยโน่ขึ้นมาเข้าไปที่Preferences กดเครื่องหมายถูกตามรูปแล้วกดOKด้านล่างครับ เมื่อเรากดแปล(compiles)เราจะปรากฏเห็นHexFilesอยู่ในสถานที่ที่กล่าวมาในข้างต้นครับ.

…………………………………………………

………………………………………………..

เราได้HexFilesแล้วก็ก๊อปไปเก็บไว้ที่แฟ้มอื่นเพื่อสะดวกต่อการหาไปเขียนครับในที่นี้ช่างโหน่งก๊อปไปที่ฮาร์ดดิส ไดร์Cครับ.

…………………………………………….

……………………………………………..

เมื่อโหลดได้แล้วก็กดAuto Programeครับ.

………………………………………..

………………………………………..

โปรแกรมก็จะเขียนจนเสร็จครับ หากขึ้นเออเร่อ(Error)มาก็ตรวจเช็คการต่อสายและอุปกรณ์ครับ.

การโหลดข้อมูลในไอซีมาเก็บไว้

หากในตัวไอซีนั้นไม่มีการล๊อครหัสไว้เราก็สามารถโหลดเอาข้อมูลมาเก็บไว้แต่ข้อมูลนี้เป็นภาษาเครื่องนะครับ(HexFiles)เราสามารถสำรองข้อมูลในไอซีตัวนั้นเก็บไว้เพื่อเขียนในตัวใหม่หากตัวเดิมเสียหายไปครับ.

……………………………………………..

………………………………………………

การใส่รหัสเพื่อป้องกันการก๊อบ(Copy)

การป้องกันการCopyมีไว้ในโปรแกรมสำหรับไมโครคอนโทลเลอร์ทุกตัวครับ ก็คงเป็นความคิดของใครของมันหากไปจดลิขสิทธิไว้ก็จะมีค่าใช้จ่ายมากถึงอย่างไรมันก็แอบละเมิดอีกอยู่ดีครับ ทางที่ดีใส่รหัสไว้ก็ยังดีกว่าไม่ใส่ครับ ไม่ใช้ไม่มีทางถอดรหัสได้แต่ก็ยากหน่อยหรือไอซีอาจเสียหายไปเลยก็มีครับ.

…………………………………………………

…………………………………………………

ใส่รหัสเข้าไปแล้วกดSave ถ่ายรูปจำไว้ด้วยนะครับเดี๋ยวจะลืม เมื่อเสร็จแล้วเราไม่สามารถโหลดข้อมมูลออกมาได้ครับ

ไมโครคอนโทรลเลอร์ arduino

ไมโครคอนโทรลเลอร์ arduino

ช่างบ้านนอกอย่างเราในแต่ละวันหาอะไรทำไม่เคยว่าง อยู่กับบ้านอยู่กับตัวเองก็ประหยัดและมีความสุขดีครับ ในสมัยก่อนเคยคิดหาไมโครคอนโทลเลอร์ที่จะมาใช้งานก็มีแต่ของค่ายPIC ที่ง่ายที่สุดในขณะนั้นคือเบอร์16F84 ราคาก็ไม่แพงซึ่งมีโค้ด(Source Code)คือโปรแกรมที่ต้องใส่ลงในตัวไอซีค่อนข้างแพร่หลาย ส่วนอีกค่ายหนึ่งในตระกูลAVR 80c51 โค้ดก็ใช้ภาษาโปรแกรมที่เรียกว่าภาษาC เป็นภาษาเขียนโปรแกรมที่ง่ายและเขียนโปรแกรมต่างต่างๆใให้เราได้ใช้งานมากมายครับ แต่ค่ายAvrในขณะนั้นยังไม่มีไอซีขนาดเล็กเช่นตระกลูPIC และคนที่เริ่มเรียนการเขียนโปรแกรมหันมาหาไมโครคอนโทลเลอร์ตระกูลPicกันมากเพราะมีโค้ดเฉพาะของเขาเองซึ่งมีคำสั่งไม่กี่ตัวครับ.

แต่ในปัจุบันไอซีตระกูลAVRได้พัฒนาการโปรแกรมที่สามารถโปรแกรมลงบนตัวไอซีง่ายขึ้น ที่สำคัญคือโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาจากภาษาที่เราใช้กันเช่นภาษาC เป็นโปรแกรมขนาดเล็กฟรีหาโหลดได้ง่ายกว่าแต่ก่อนมากครับและข้อดีอีกประการหนึ่งเป็นโค้ดที่เปิดเผยกันอย่างแพร่หลาย คนที่เก่งภาษาCอยู่แล้วจึงหันมาเล่นไอซีตระกูลAVRกันมากขึ้นอย่างรวดเร็วครับ.

การโปรแกรมลงไอซี

ในแต่ละตระกูลของไมโครคอนโทลเลอร์ มีโปรแกรมที่จะแปลภาษาแล้วเขียนลงไปในไอซีซึ่งโปรแกรมแปลภาษาที่เราเขียนเป็นภาษาเครื่องฝรั่งเรียกว่าการคอมพาย(compile) เหตุที่เราต้องแปลภาษาเป็นภาษาครื่องเพราะไอซีมันรู้จักแต่รหัส0กับ1 มันไม่รู้จักภาษาที่เราเขียนหรอกครับ จึงเป็นความสะดวกสบายสำหรับคนใช้งานครับ แต่ในตระกูลPICมีโปรแกรมที่เขียนหรือโค้ดมากมายและโปรแกรมที่ใช้แปลก็มากมายหลายคนก็สับสนว่าจะใช้โปรแกรมใหนดี ผิดกับตระกูลAVR โปรแกรมคอมพายหรือแปลภาษามีที่นิยมมากคือแปลภาษาC และที่สำคัญคือเป็นโปรแกรมที่เปิดเผยมากหรือที่ฝรั่งเรียกกันว่าโอเพนซ๊อต(OpenSource)เราหาดูและศึกษากันได้ง่ายครับ.

อะไรคืออาดุยโน่(Arduino)

อาดุยโน่คืออะไร ชื่อก็แปลกๆเป็นไอซีตระกูลใหม่หรือ ซึ่งไอซีตัวนี้ก็คือไอซีตระกูลAVRนั้นเองครับ มีคนคิดการโปรแกรมที่ง่ายโดยการเก็บตัวโหลดโปรแกรมเก็บข้อมูลไว้ในตัวไอซีเป็นสะพานถ่ายทอดข้อมูลลงบนหน่วยความจำในตัวไอซีโดยมีโปแกรมบนคอมพิวเตอร์เขียนแล้วโปรแกรมได้ทันที่และสามารถโปรแกรมได้หลายครั้งครับเขียนเสร็จแล้วทดลองการทำงานหากไม่ได้ตามต้องการก็แก้ไขแล้วเขียนทับลงไปใหม่ซึ่งง่ายและรวดเร็ว ทำให้คนที่ชอบไมโครคอนโทลเลอร์หันมาใช้งานไอซีตระกูลนี้กันอย่างมากและรวดเร็วมากจนราคาถูกลง ที่สำคัญคือคนคิดค้นไม่ได้หวงค่าความคิดใครจะเลียนแบบนำไปผลิตก็ตามสบาย ประเทศจีนได้โอกาสนำไปผลิตลอกแบบกันมากมายซึ่งผลก็คือของราคาถูกลงทำให้ช่างบ้านนอกอย่างเราได้เรียนรู้ง่ายขึ้นครับ.

การโปรแกรมไอซีตระกูลAVR

ช่างโหน่งเองก็ไม่ได้เรียนและจบมาจากใหนอาศัยเรียนรู้จากเน็ตค้นหาข้อมูลต่างๆและทำความเข้าใจ ที่สำคัญที่สุดทดลองด้วยตัวเองครับ มีข้อมูลมากมายลองทำตามแล้วสำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้างแต่อย่างไรก็ไม่ยากสำหรับผู้เริ่มต้นบ้านนอกอย่างเราครับ ขอให้อ่านภาษาอังกฤษได้บ้างก็ยังดีครับการโปรแกรมไอซีตัวนี้มีอุปกรณ์ที่มีขายในบ้านเรามากมายครับและราคาถูกด้วยครับ เราต้องมีวิธีและเครื่องมือดังนี้ครับ.

โปรแกรมที่ใช้เขียนคำสั่ง

ในตระกูลAVRที่ได้พัฒนามาเป็นอาดุยโน่มีโปรแกรมที่แจกฟรีคือarduino1.0.1หรือเวอร์ชั่นอื่นๆเพื่อนำมาใช้งานในการเขียนคำสั่งและโปรแกรมไอซีครับ.

หน้าตาเป็นแบบนี้ครับ โปรแกรมไม่ใหญ่ลูกเล่นไม่เยอะแต่เข้าใจง่ายครับและแจกฟรีจึงทำให้มีคนนิยมกันมากเมื่อมีคนใช้มากข้อมูลก็มากครับหลากหลายแนวความคิดและการทดลองมากมาย ทำให้เรามีความรู้และความเข้าใจมากขึ้นซึ่งในที่สุดไอซีตระกูลPICก็ต้องยอมแพ้คลื่นลูกใหม่ที่มาแรงมากครับ.

การเตรียมโปรแกรมสำหรับใช้งาน

โปรแกรมที่เราได้มาอาจใช้งานได้กับโค้ดง่ายๆพื้นฐานทั่วไปได้โดยไม่มีปัญหา แต่ถ้าเป็นโค้ดที่มีความสลับซับซ้อนกันมากเราต้องมีตัวช่วยครับซึ่งตัวช่วยนี้ฝรั่งเขาเรียกว่าไลบรารี่(library) ซึ่งตัวช่วยนี้จะเขียนข้อมูลต่างๆสำหรับโค้ดที่เราจะเขียนการทำงานต่างๆจะย่อไว้เก็บไว้ในส่วนที่เก็บโปรแกรมครับ ซึ่งถ้าโปรแกรมแปลแล้วไม่รู้ให้ไปถามหาข้อมูลตรงนี้ครับ ดังนี้เมื่อเราแปล(คอมพาย)ไม่ผ่านเราต้องเก็บตัวช่วยนี้เข้าไว้ในส่วนที่เก็บโปรแกรมซึ่งในระบบวินโด้จะเก็บไว้ที่Program Filesครับ.

เมื่อเราแปลไม่ผ่านเราต้องหาโหลดข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาเก็บไว้ในนี้ครับ เช่นเราเขียนการควบคุมมอเตอร์การคือการสร้างความถี่ปรับขึ้นลงเราต้องเกี่ยวกับความถี่ซึ่งก็มีโปรแกรมสำหรับความถี่ที่เขียนรายละเอียดและการทำงานเก็บอยู่ในแฟ้มPWMเราต้องหามาเก็บไว้ก่อนที่จะแปล(คอมพาย)ครับ

การแปลหรือcompile เป็การตรวจสอบข้อมูลที่เขียนว่าเข้าหลักเกณฑ์ของโปรแกรมหรือไม่ก่อนที่เราจะส่งโปรแกรมเข้าไปในไอซีครับ โดยในโปรแกรมาอาดุยโน่จะเป็นเครื่องหมายถูกครับ ซึ่งถ้าแปลไม่ผ่านก็จะขึ้เออเร่อ(Error)ด้านล่างครับ

เราอ่านแล้วจะรู้สาเหตุว่าเราต้องแก้ไขที่จุดใหนครับ ซึ่งการใช้งานโปรแกรมก็ไม่ยากเกินไปครับต้องทดลองทำไปจากโปรแกรมที่ง่ายๆก่อนแล้วจะรู้วิธีการทำงานครับ.

ขั้นตอนการโปรแกรมไอซี

การโปรแกรมไอซีก็มีอยู่หลายวิธีครับอาจจะโปรแกรมภาษาเครื่องหรือที่เรียกว่าเฮ็กไฟล์(Hex Files)ลงไปโดยตรงหรือโปรแกรมผ่านโปรแกรมอาดุยโน่ครับ ในที่นี้ช่างโหน่งจะแนะนำวิธีโปรแกรมผ่านอาดุยโน่1.0.1ครับ.

เมื่อเราทดลองแปลภาษาที่เราเขียนผ่านแล้วเราจะเอาลงไปในไอซีได้อย่างไร ปัจจุบันการโปรแกรมพัฒนาโดยนำตัวถ่ายทอดข้อมูลหรือสะพานเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ลงไปในไอซีหรือที่เรียกว่าบู๊ตโหลดเดอร์(Boot Loader) ปรกติไอซีที่มาจากโรงงานจะไม่มีตัวถ่ายทอดนี้อยู่ภายในเราต้องเอาตัวถ่ายทอดหรือที่เรียกว่าอับโหลด(Up Load)นี้เก็บเข้าไว้ในไอซีเสียก่อนครับซึ่งก็ไม่ยากและก็ไม่ง่ายครับไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หรือมือเก่า ช่างโหน่งเองเป็นมือกลางเก่ากลางใหม่ก็ยังปวดหัวเลยครับกว่าจะจับจุดได้.

การติดตั้งตัวถ่ายทอดในไอซีใหม่(เปิดบริสุทธิ)

การที่จะเปิดบริสุทธิไอซีก็ไม่ยากเราก็ใช้บอร์ดอาดุยโน่ที่มีขายทั่วไปมาเป็นตัวเขียนอัดโปรแกรมลงไปครับ

ในที่นี้ช่างโหน่งในบอร์ของUNOมีชิพแบบTQFP 32 ขา ตัวเล็กราคาถูกกว่าแบบขาตะขาบครับช่างบ้านนอกทุนน้อยจะศึกษาอะไรก็ลำบากหน่อยครับ เมื่อได้มาแล้วก็หาวิธีต่อสายซึ่งมีมากมายอยู่ในเน็ตครับ.

ตามรูปการต่อสายเราจะใช้ทั้งหมด6เส้นครับ คือสายไฟเลี้ยงตัวไอซีสองเส้น สายไฟโปรแกรมสี่เส้นครับ และตัวไอซีใหม่ที่จะถูกเปิดบริสุทธิเราต้องต่อสัญญาณนาฬิกาให้ดวยครับ รายละเอียดและข้อมูลขาต่างๆหาดูในเน็ตครับ.

ใช้บอร์ดเป็นเครื่องมือเขียนตัวถ่ายทอด(Boot Loader Board)

ขั่นตอนนี้สำคัญครับและทำยากกว่าการโปรแกรมอย่างอื่นครับ ก่อนอื่นเราต้องเตรียมอุปกรณ์ต่อสายตามรูปให้เรียบร้อยก่อนครับ การต่อสายสำคัญที่สุดจะสำเร็จหรือไม่อยู่ตรงนี้ด้วยครับ

1.ต่อสายไฟถูกต้อง สายโปรแกรมถูกต้อง ต่อสัญญาณนาฬิกาถูกต้อง

2.การต่อสัญญาณนาฬิกาก็สำคัญครับอุปกรณ์ทีกำหนดความถี่ก็มีผลเช่นกันครับ เราควรต่อสายให้สั้นที่สุดใกล้กับไอซีมากที่สุดครับ ส่วนความถีให้ใช้ความถี่สูงในกาเขียนไว้ดีที่สุดครับเช่น16-20Mhz ในงานนี้ช่างโหน่งใช้ 16Mhzครับ โดยไม่ต้องคำนึงว่าไอซีเบอร์นี้จะใช้ความถี่เท่าไหร่ในการทำงานครับ.

3.ไฟที่ใช้เลี้ยงไอซีที่เปิดบริสุทธิควรแยกไฟต่างหากใช้แรงดันไม่เกิน5โวลท์ครับ.

ขั่นตอนเปิดบริสุทธิ(ติดตั้งBootloader)

1.เปิดโปรแกรมarduino1.0.1โปรแกรมไฟล์ลงไปที่บอร์ด

กดUpLoad ลงไปที่บอร์ดเพื่อใช้บอร์ดเป็นตัวโปรแกรมข้อมูลส่วนที่ทำหน้าที่เป็นสะพานเขียนโปรแกรมลงไปในไอซี(Bootloader)โดยเลือกการโปรแกรมแบบParallel

เหตุที่เลือกตัวนี้ช่างโหน่งเองก็ไม่ทราบเหตุผลแต่ลองทำตามดูสำเร็จครับ เมื่อทำบอร์ดเป็นตัวโปรแกรมเสร็จแล้วเลือกเบอร์ไอซีที่เราจะโปรแกรมครับ ในที่นี้ช่างโหน่งทดลองสองเบอร์คือAtmega328และ8ครับ ส่วนเบอร์อื่นๆก็หลักการไม่ต่างกันครับ

ถ้าเป็นเบอร์328 ก็เลือกไปที่Arduino Uno

ถ้าเป็นAtmega8 ก็เลือกไปที่ล่างสุดครับ ส่วนเบอร์อื่นๆทดลองดูตามนี้ครับ

หลังจากเลือกเรียบร้อยแล้วก็กด Burn Bootloader ขั้นตอนนี้ต้องรอคอยครับ หากสำเร็จไม่มีขึ้นเออเร่อ(Error)ตัวสีส้มก็ผ่านครับ แต่บางครั้งไม่ผ่านขึ้นข้อความต่างๆให้ตรวจดูตามนี้ครับ

1.การต่อสายถูกต้องหรือไม่ การลงโปรแกรมสามารถลงใหม่ได้เรื่อยๆครับถึงแม้ว่าจะเคยลงBootloaderมาแล้ว

2.เลือกเบอร์ไอซีถูกต้องหรือไม่ หากเขียนเบอร์ไอซีที่ต่างกันให้ปิดโปรแกรมแล้วเปิดใหม่หรือไม่แน่ใจปิดแล้วเปิดคอมใหม่

3.ไอซีที่โปรแกรมมีปัญหาครับลองเอาตัวอื่นๆหรือตัวใหม่มาทดลองก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าทำตามขั้นตอนของเราถูกต้องครับ

เมื่อสร้างสะพานที่เป็นตัวนำโปรแกรมที่เราเขียนสำเร็จแล้วต่อไปเป็นโปรแกรมที่เราเขียนลงไปในไอซีเพื่อใช้งานครับ

ตัวโปรแกรมข้อมูลลงไปเพื่อใช้งาน

เครื่องมือที่จะโปรแกรมหรือเรียกว่าอับโหลดข้อมูลลงในไอซีมีมากมายหลายวิธีครับแต่ที่ช่างโหน่งใช้คือเสียบจากUSBของคอมพิวเตอร์ลงไปที่ตัวไอซีโดยตรงครับ หรือที่เรียกว่าUSB TO TTL

ตัวนี้ราคาไม่เกินร้อยบาทครับในเมืองไทยมีขายมากมาย ที่สำคัญคือการต่อสายเข้าไปไอซีครับ มีจุดสำคัญอยู่บ้างครับ

การต่อสายไฟ

1.DTR–Capacitor0.1Mfd(Mila)–Reset จากDTR ต่อผ่านคาปาซิตเตอร์แบบไมล่าค่า0.1ไมโครแล้วต่อเข้าขา1รีเซ็ต

2.Rx–pin3 Atmega จากRx ต่อสลับกันเข้าขา3 Tx ของไอซี

3.Tx–pin2 Atmega จากTx ต่อสลับกันเข้าขา3 Rx ของไอซี

4.Vcc–+5v จากVcc ต่อเข้าขา7ของไอซี

5.Gnd–0v จากGnd ต่อเข้าขา8ของไอซี

อ่านต่อ

อินเวอร์เตอร์ใช้งานอย่างไรให้ทน

ใช้งานอย่างไรให้ทน

ของราคาถูกใช้ทนก็มีอยู่ที่การใช้งานครับ เราใช้งานตามใจเราไม่ได้แต่เราต้องดูคุณภาพและราคาของอินเวอร์เตอร์ครับ ของดีราคาถูกก็มี ของแพงคุณภาพไม่ดีก็มีครับ จะรู้ได้อย่างไรว่าทนทานและหน้าด้านได้แค่ใหน? กำำหนดไว้ให้ใช้12โวลท์ก็ไม่ควรเกิน15โวลท์ กำหนดไว้ที่1000วัตต์ก็ไม่ควรเกิน800วัตต์ ควรจะเผื่อใจไว้สักนิดหนึงนะครับ ไม่ใช่1000วัตต์ก็ใช่1000วัตต์ ใช้งานสักครึ่งหนึ่งก็พอเพียงแล้วครับ อายุการใช้งานก็ยาวนานขึ้น ของถูกหรือของแพงมีหลักการเดียวกันครับ.

ข้อควรระวังในการใช้งาน

1.ต่อขั่วไฟให้ถูก อย่าเดาหรือใช้ความเคยชิน แบตบางลูกขั่วบวกอยู่ซ้าย บางลูกขั่วบวกอยู่ขวา ความเคยชินต่อโดยไม่ดูขั่ว ลูกเมียบ่นไม่ไ้ดดูทีวีแถมพัดลมไม่มีอีกเหตุเพราะพ่อบ้านต่อผิดขั่ว ระวังครับ.

2.ใช้งานมานานแล้วได้ผลดี แต่วันนี้เกิดอยากลองว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าตัวนี้ใช้ได้หรือไม่ แอบทดลองไม่บอกเมีย ผลปรากฏว่าพังไม่เป็นท่า เมียกลับมาบอกไม่รู้อยู่ดีๆก็ใช้ไม่ได้พังโดยไม่รู้สาเหตุ ผลไฟดับทั้งคืน เมียบอกให้นอนนอกห้องก็มีครับ.

3.ตกเย็นมาก็เปิดเครื่อง เช้ามาก็ปิดเครื่อง แต่ไม่เคยดูแลอินเวอร์เตอรฺ์ มดแมลง จิ่งจกคือภัยสำหรับอินเวอร์เตอร์ ดูแลหน่อยครับ ใช้งานเขาก็ต้องดูแลเขาด้วยครับ.

4.เมืองพลอยู่จังหวัดขอนแก่นแต่เมืองพอไม่รู้มีหรือไม่ครับ รู้แต่ว่ามีไฟ220โวลท์ออกมาก็เสียบตะบันหันแหลก ไม่เคยประมาณการใช้ไฟ เสียบๆๆๆๆอย่างเดียว บางครั้งมีเสียงร้องจากเครื่องแปลงไฟ(ปีดๆๆๆๆ)ก็ยังไม่หยุดไม่ฟังดันใช้งานต่อไป ผลก็คือพังแล้วจะให้ฉันไปโทษใครหละครับท่าน?

5.สุดท้ายหลักการใช้งานก็ไม่ต่างกันครับ ใช้งานเมียมากเมียก็บ่น เครื่องจักรก็เหมือนกันครับ ทุกอย่างต้องมีความพอดี เกินความพอดีก็เป็นปัญหาเช่นกันครับ จะโทษใครก็ต้องโทษคนใช้งานครับ.

สรุป

1.อ่านคู่มือการใช้งานก่อนใช้งาน

2.อย่าเลือกราคาถูกเลือกการรับประกัน

3.หาข้อมูลมากๆก่อนตัดสินใจครับ

4.ของนอกของในดีไม่แพ้กันแต่ต้องดูที่การใช้งานเหมาะสมกับเรา อย่าเอาราคาเป็นหลักแต่ดูคุณสมบัติที่ทนสุดๆที่สินค้าอื่นไม่มีครับ.

พลังงานทดแทนเราจะเลือกอะไรดีสำหรับชาวบ้านอย่างเรา

พลังงานทดแทนเราจะเลือกอะไรดีสำหรับชาวบ้านอย่างเรา

พลังงานเริ่มที่จะหายากและหมดไปในที่สุดดังนั้นมนุษย์จึงคิดหาพลังงานทดแทนมาแทนที่พลังงานที่เคยใช้อยู่ ต่างมีความคิดที่แตกต่างกันและผลิตความฝันให้เป็นความจริง แต่ยิ่งคิดค้นผลประโยชน์ก็เป็นกิเลสตามตัวมาติดๆ ชาวบ้านอย่างเราจะมีโอกาสได้ใช้หรือไม่ก็ไม่รู้ครับ แต่ในความเป็นจริงจะต้องถูกเปิดเผยออกมาอย่างแน่นอนว่าในอนาคตจะดีหรือไม่ดีครับ โซล่าเซลเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีแพร่หลายและเข้าใจง่าย การใช้งานจึงแพร่หลายและไม่มีความลับอะไร นับวันเวลาผ่านไปราคายิ่งถูกลง แต่ถึงกระนั้นคนยังคิดค้นต่อไปกับพลังานทดแทนที่จะนำมาเป็นพลังงานที่ยั่งยืนต่อไป ไฮโดเจนที่แยกได้ออกมาจากน้ำจุดไฟติดแยกเองได้ ฝรั่งก็คิดรูปแบบต่างๆช่างโหน่งก็ติดตามมาหลายรูปแบบฮือฮากันกับการคิดค้นใหม่ๆแต่ไม่สามารถอธิบายได้ถึงการทำงานการผลิตและแหล่งซื้อ มีแต่ขายหนังสือบทความแต่ชาวบ้านอย่างเราจะนำมาใช้โดยทั่วไปทำไม่ได้และไม่มีโิอกาสที่จะทำได้ รถเติมน้ำแทนน้ำมัน ใช้ไฮโดเจนมาผลิตไฟฟ้า มากมายหลายความคิดวิจัยกันไปต่างๆนาๆโชว์กันไปมากมายแต่ผลสรุปยังไม่สามรถนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายได้ แล้วจะมีประโยชน์อะไรหละครับ?

เพราะฉะนั้นไม่ต้องเพ้อฝันอะไรกันมากครับ เราหาพลังงานทดแทนที่ใกล้ตัวเราและเอาพลังงานที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์มีไฟใช้เป็นดีที่สุดครับ คนที่คิดก็คิดไป แต่เราต้องกินต้องใช้จ่าย เป็นเรื่องของอนาคตครับแต่ที่รู้ๆเมื่อมีผลประโยชน์เข้ามาความรู้ที่จะเปิดเผยให้ชาวบ้านรับรู้ไม่มีแน่นอนครับ มีน้ำตกใช้พลังงานจากน้ำ มีวัวควายหมูเป็ดไก่ใช้พลังงานจากก๊าซชีวภาพ มีลมใช้กังหันลม มีแสงแดดใช้โซล่าเซล มีคลื่นทะเลใช้พลังงานจากคลื่น สรุปเราใช้สิ่งที่ใกล้ๆตัวดีกว่าฝันไปไกลครับ ทำให้ชีวิตไม่เดือดร้อนช่างโหน่งว่าจะมีความสุขมากกว่าที่จะฝันไกลเกินไปจริงไหมครับ.

…………………………………..

…………………………………..

เซลผลิตไฟฟ้าโดยใช้ก๊าซไฮโดเจน ถ้าดีจริงน่าจะมีขายเหมือนโซล่าเซลนะครับ

PFC คืออะไร

บทความนี้อธิบายแบบชาวบ้านเพื่อความรู้ถึงกำลังไฟฟ้า (power factor correction)

ฝรั่งเขาเรียกว่า”กำลังปัจจัยถูกต้อง”แปลตรงตัวก็ตามนี้ครับ ขยายความหมายแบบไทยๆน่าจะหมายความว่า”กำลังงานได้มาจากปัจจัยที่ถูกต้อง”

อะไรคือปัจจัยที่ถูกต้อง(Factor Correction)

ถ้าในเรื่องของไฟฟ้าก็ต้องมีเรื่องแรงดันกับกระแสใช่ไหมครับ โดยทั่วไปเราเข้าใจว่ามีไฟฟ้าก็ใช้งานได้แล้ว ท่านเคยสังเกตุไหมครับว่าแบตเตอรี่บางครั้งเราวัดไฟได้12โวลท์ก็ดูเหมือนมีไฟอยู่แต่อินเวอร์เตอร์ไม่สามารถทำงานได้ทั้งนี้เพราะกระแสไม่พอนั่นเองครับ นี่คือที่มาของคำว่าPower Factor(อ่านว่าเพาเวอร์แฟคเตอร์)หรือตัวย่อPFC เราจะเห็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ราคาแพงจะติดตั้งวงจรนี้ด้วยครับ.

แรงดันกับกระแสต้องจูงมือกันแบบใกล้ชิด

ปรกติแรงดันจะไปก่อนกระแสเราต่องปรับให้แรงดันกับกระแสต้องจูงมือกับไปแบบใกล้ชิดจึงจะได้กำลังมากเปรียบเสมือนตอนรักกันใหม่ๆนะครับ จูงมือกันกอดกันแน่นแต่เมื่ออยู่กันไปนานๆแล้วต่างคนก็ต่างไปไม่ปรองดองกันก็จะไม่เกิดความสุขใช่ไหมครับ ไฟฟ้าก็เช่นกันหากแรงดันกับกระแสไม่ไปใกล้เคียงกันกำลังงานที่ได้ก็ไม่เต็มที่เครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะกินไฟมากไช่ไหมครับ.

 

 

ตามรูปจะเห็นว่ากำลังงานสูงสุดนี้อยู่ที่90องศา หากกระแสและแรงดันมาอยู่ใกล้กันมากที่สุดก็จะได้กำลังงานสูงสุดครับ

จะทำอย่าไร?

ทำอย่างไรหละช่างโหน่ง ช่างโหน่งเองก็ไม่ได้เรียนรู้มากจากใหนก็เรียนมาจากเน็ตนี่หละครับ พอดีไปทำแอร์โซล่าเซลมาไปเห็นวงจรอันหนึ่งอยู่ภายในแผงวงจรของแอร์ก็เลยเกิดความสงสัยพอแกะวงจรออกมาดูพบว่ามีวงจรทำให้ไฟฟ้าทำงานได้กำลังเต็มที่(PFC)โดยใช้ขดลวดเหนี่ยวนำ(คอล์ย)ควบคุมให้แรงดันกับกระแสไปด้วยกันอย่างแนบแน่น แล้วคำว่าแนบแน่นมีค่าวัดหรือไม่

 

 

รูปข้างบนจะเห็นวงจรควบคุมการทำงานเพาเวอร์แฟคเตอร์ในแอร์อินเวอร์เตอร์โดยใช้คอล์ยเหนี่ยวนำเพื่อควบคุมไฟดีซีแรงดันสูงทำงานได้กำลังงานเต็มที่ครับ

ค่าวัดความแนบแน่นมีค่าเท่าไหร่?(PF=?)

ฝรั่งเขากำหนดค่าไว้ที่ 1 ทำไมต้องเป็น 1 อันนี้เขาดูจากกราฟที่แสดงผลบนจอเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วต้องให้ทั้งสองเส้นมีตำแหน่งใกล้เคียงกันที่สุดครับ แต่ในความเป็นจริงแล้วจะมีความคาดเคลื่อนของอุปกรณ์เราจะทำได้เต็มที่ที่ 0.8-0.9 ก็ถือว่าใช้ได้แล้วครับ.

 

 

รูปข้างบนจะกำหนดเข็มของมิเตอร์ไว้ตรงกลาง เมื่อเราใช้ไฟฟ้าเข็มของมิเตอร์จะแสดงให้เห็นว่าตอนนี้เราได้กำลังงานเต็มที่หรือไม่ครับ หากไม่เต็มที่เราควรจะแก้ไขอย่างไร ส่วนสูตรการคำนวนหาดูในอินเตอร์เน็ตครับจะไม่ขอกล่าวถึง

ใช้อุปกรณ์อะไรเพื่อแก้ไขให้แรงดันกับกระแสปรองดองกัน?

งานปรองดองนี้ไม่ต้องใช้กำลังมาบังคับนะครับเราใช้อุปกรณ์แบบง่ายๆมีอยู่หลายชนิดแต่ในที่นี้ช่างโหน่งจะขอกล่าวถึงอุปกรณ์ที่ชาวบ้านเราเข้าใจกันง่ายๆครับ.

สำหรับไฟดีซีแรงดันสูง(HVDC)

สำหรับไฟดีซีแรงดันสูงที่เราต่อใช้งานกับมอเตอร์สามเฟสเพื่อสูบน้ำ ชาวบ้านเช่นเราก็จะต่อกันโดยตรงไม่ได้มีวงจรควบคุมอะไรใช่ไหมครับ แต่หากเรานำไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆเช่นแอร์หรืออินเวอร์เตอร์ไฮโวลท์เราจำเป็นต้องมีวงจรนี้ควบคุมครับ วงจรที่นิยมสำหรับไฟดีซีแรงดันสูงเขาจะใช้ขดลวดเหนี่ยวนำกันมาก เป็นวงจรอิเลคทรอนิกส์คอยควบคุมกระแสและแรงดันให้ไปด้วยกันแบบปรองดองและแนบแน่นครับ.

 

 

ตามวงจรจะเห็นชุดควบคุมควมถี่่ที่ควบคุมแรงดันกับกระแสให้ไปด้วยกันโดยผ่านคอล์ยมีค่า47ไมโครเฮนรี่ ปิดและเปิดกระแสด้วยมอสเฟสครับ.

วงจรนี้ฝรั่งเขาเรียกว่าActive Power Factor Correction (แอคทีพเพาเวอร์แฟคเตอร์)

สำหรับไฟกระแสสลับ(AC)

ไฟฟ้าที่เราใช้งานหากมีการควบคุมกำลังงานตรงนี้การทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าของเราทำงานได้เต็มที่ก็จะทำเราได้งานที่ดีและประหยัดไฟครับ

สำหรับไฟกระแสสลับที่นิยมกันมากคือใช้คอนเดนเซอร์แบบกระแสสลับ(ไม่มีขั่ว)หรือที่เรียกกันว่าคาปาซิตเตอร์ครับ.

 

 

คาปาซิตเตอร์ขนาดใหญ่สำหรับโรงงานอุสาหกรรม แต่สำหรับบ้านเราใช้ขนาดเล็ก20ไมโครฟารัด400โวลท์ก็พอครับ การต่อง่ายมากครับเรานำไปต่อเข้าทั้งสองสายไฟเอซีเส้นใหนก็ได้นะครับ แต่มีข้อแม้ว่าเราต้องต่อขณะมีโหลดนะครับหากไม่มีโหลดตัวคาปาซิตเตอร์จะเป็นโหลดเองมิเตอร์ไฟก็จะหมุนเช่นกันครับ.

 

 

ในรูปชุดสวิทต่อคาปาซิตเตอร์A B C D จะถูกควบคุมด้วยไมโครคอนโทลเลอร์ ซึ่งตัวควบคุมนี้จะตรวจสอบแรงดันและกระแส จาก CT และ PT ซึ่งเป็นขดลวดแล้วนำไปประมวลผลครับ หากค่าPFต่ำกว่า 1 คาปาซิตเตอร์ก็จะเชื่อมต่อไปทีละตัวจนกว่าจะได้ค่าPFใกล้เคียงกับ 1 ครับ ในโรงงานอุตสาหกรรมจะมีตู้ควมคุมเช่นนี้ด้วยครับ.

ต่อง่ายๆแบบชาวบ้าน

เราต่อใช้งานง่ายๆโดยใช้มือควบคุมครับ.

 

 

ตามรูปเมื่อเราเปิดมอเตอร์ให้ทำงานแล้วแอมป์มิเตอร์จะบอกค่ากระแสที่มอเตอร์นี้ใช้ไป แต่เมื่อเราสับสวิทต่อคาปาซิตเตอร์แล้วจะเห็นว่าค่าของแอมป์มิเตอร์จะลดลง นั่นแสดงว่าเราสามารถควบคุมกำลังงาน(PFC)ได้แล้วครับค่าไฟก็จะลดลงใช่ไหมครับ แต่หากเป็นมอเตอร์หลายตัวทำงานพร้อมกันเราควรวัดกระแสที่สายไฟหลักที่เข้ามาและทำการต่อคาปาซิตเตอร์เข้าไปทีละตัวดูว่ากระแสลดลงหรือไม่ หากไม่ลดก็แสดงว่าได้กำลังไฟเต็มที่แล้วหากต่อคาปาซิตเตอร์มากเกินไปก็จะการเป็นโหลดไปครับ

คาปาซิตเตอร์จะระเบิดหรือไม่

ข้อสำคัญเราต้องดูแรงดันไม่ต่ำกว่า400โวลท์ครับ ส่วนค่ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเงินในกระเป๋าของท่านครับ เราเป็นวิศวะกะก็กะเอาทดลองเอาว่าจะใช้ค่าเท่าไหร่ และต่อขั่วใหนก็ได้ครับเวลาไปซื้อบอกเอาไปใช้กับมอเตอร์ครับ

ได้ผลดีกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์

ช่างโหน่งบอกว่าใส่คาปาซิตเตอร์เข้าไป แต่เปิดกาต้มน้ำหม้อหุงข้าวแล้วกระแสไม่เห็นลงเลย การลดกระแสนั้นจะดีกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็นขดลวดครับ ฝรั่งกำหนดขดลวดเหนี่ยวนำเป็น L กำหนดตัวเก็บประจุว่า C การควบคุมค่าความถี่ที่เหมาะสมให้กับขดลวดเราต้องใช้ตัวเก็บประจุมาใช้งานครับ ดังนั้นหม้อหุงข้าวไม่มีขดลวดเหนี่ยวนำการนำตัวเก็บประจุมาต่อจึงไม่มีผลกับกระแสไฟครับ แต่หากเป็นตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องสูบน้ำใช้ได้ดีครับ.

สรุปว่า

ค่าPFCหรือเพาเวอร์แฟคเตอร์นั้นหากเราควบคุมได้ เราจะได้กำลังไฟที่สูงสุดเครื่องไฟฟ้าทำงานได้ดี หากเป็นไฟบ้านก็จะช่วยลดค่าไฟสำหรับเราได้ครับ

สำหรับท่านที่ใช้อินเวอร์เตอร์แบบหม้อแปลงเมื่อใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์เมื่อเราต่อคาปาซิตเตอร์เข้าไปจะสังเกตุเห็นว่ากระแสลดลงแสดงว่าการกินไฟลดลงแต่เครื่องใช้ไฟฟ้ายังทำงานได้เหมือนเดิมครับ.

ไฟดีซีแรงดันสูงโดยตรงมีผลเสียกับเครื่องไฟฟ้าบางชนิด

ใช้ไฟดีซีแรงดันสูงโดยตรงมีผลเสียกับเครื่องไฟฟ้าบางชนิด

การต่อแผงอนุกรมหรีอต่อแบตเตอรี่โดยตรงเพื่อให้ได้ไฟดีซีแรงดันสูงถึง220โวลท์แล้วนำมาใช้กับเครื่องใช้ไฟฟัา จะมีผลเสียกับสะพานไฟหรือสวิทไฟ เหตุผลก็คือจะเกิดการอาร์คกันขึ้นเช่นเดียวกับฟ้าผ่า ทั้งนี้ไฟกระแสตรงจะไม่มีการตัดเหมือนไฟสลับซึ่งไฟกระแสสลับจะสลับการทำงานในช่วงหนึงทำให้วงจรขาดออกจากกันเองแต่ไฟกระแสตรงหากแรงดันสูงหากระยะห่างของสะพานไฟห่างกันไม่มากหรือขาดออกจากกันไม่เร็วพอจะทำให้เกิดการอาร์คกันได้ครับ

Electrostatics, Metallux Resistors control electrostatic charges

………………………………

ดังนั้นมักจะพบและได้ยินบ่อยๆกับนักทดลองวิศวะกะแบบชาวบ้านของเราว่าเวลาต่อสว่านไฟฟ้าโดยตรงกับไฟดีซีแรงดันสูงแล้วสวิทของสว่านจะพังหรือต่อหม้อหุงข้าว กาต้มน้ำ เครื่องทำน้ำอุ่นเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้จะพังตรงสวิทครับ ทั้งนี้เพราะเกิดการอาร์คกันขึ้นระหว่างขั่วขณะที่วงจรขาดจากกัน

อุปกรณ์ใดที่สามารถต่อโดยตรงจากไฟดีซีแรงดันสูงได้บ้าง?

อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่อได้เช่นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีหม้อแปลงเป็นแบบสวืทชิ่ง เช่นหม้อแปลงประจุแบตโทรศัพท์ ที่วี หลอดไฟแอลอีดี หลอดตะเกัยบ ฯ

ซึ่งภายในอุปกรณ์เหล่านี้จะมีวงจะแปลงกระแสไฟอีก จึงสามารถใช้โดยตรงได้ครับ แต่หากจำเป็นที่ต้องการใช้จริงๆแล้วให้เปิดสวิทไว้ตลอดแล้วต่อสะพานไฟข้างนอกเพื่อปิดเปิดแทนจะทนกว่าครับ.

ซ่อมแผงโซล่าเซลแบบกระจก

ซ่อมแผงโซล่าเซลแบบกระจก

หรือที่ฝรั่งเรียกว่าแบบอะมอร์ฟัส ในสมัยก่อนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในสวนไม่มีไฟฟ้าใช้ ทางการจึงมีโครงการแจกแผงทั่วประเทศ แต่เมื่อนานไปขั่วที่ต่อไปเกิดชำรุด ไม่ว่าจะถูกฟ้าผ่าหรือไดโอดภายในช๊อต จึงไม่มีไฟออกมา เมื่อไม่มีประโยชน์ก็ปล่อยทิ้งกัน ช่างโหน่งจึงเข้าไปช่วยเหลือพ่อแม่พี่น้องที่มีใช้กันอยู่ โดยนำแผงมาซ่อมใหม่ ใช้วิธีตัดกระจกที่ประกบกันด้านข้างออกแล้วเชื่อมต่อขั่วไฟใหม่ ซึ่งขัวไฟของแผงอะมอร์ฟัสนี้จะเป็นแถบโลหะยาวมาจากด้านล่างครับก่อนติดกาวลองวัดไฟดูจะมีไฟ แสดงว่าการซ่อมเสร็จสมบูรณ์

งานนี้ต้องอาศัยฝีมือพอสมควร แต่ค่าตอบแทนก็คุ้มครับ อุปกรณ์ก็มี ที่ตัดกระจก กาวอีพ๊อกซี่ชนิดแห้งช้า3ตัน สายไฟอ่อนขนาด2.5มิล และสำคัญที่สุดคือตะกั่วแท่งสำหรับบัดกรี สุดท้ายคือเครื่องเป่าลมร้อน ปกติรับซ่อมแผงละ500บาทครับ ลองทดลองดู หรือท่านอาจจะตัดส่วนที่แตกออกและนำส่วนที่ดีมาใช้งาน เป็นการนำเอาของทิ้งแล้วมาใช้ใหม่

ผ่าเครื่องปั่นไฟจีน ใช้มอเตอร์BLDCประจุแบตสำรองสำหรับรถไฟฟ้า

ผ่าเครื่องปั่นไฟจีน ใช้มอเตอร์BLDCประจุแบต

แบตเตอรี่ยังจำเป็นสำหรับเก็บพลังงานไว้ใช้สำหรับผลิตพลังงานต่างๆ เช่นแสงสว่าง ระบบแอร์ รถไฟฟ้า ฯ การประจุแบตนอกจากพลังงานทางธรรมชาติแล้ว ยังไม่พ้นที่จะต้องใช้เครื่องยนต์มาประจุแบตซึ่งยังคงต้องใช้น้ำมันหรือก๊าซ ช่างโหน่งได้เครื่องนี้มาจากลูกค้าเพื่อทำชุดควบคุมใส่ เนื่องจากผู้ขายไม่ให้ชุดควบคุมมาด้วยด้วยเหตุผลทางการค้าหรืออะไรก็แล้วแต่ ช่างโหน่งเห็นเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่ใช้พลังงานทดแทนอยู่ เอาไว้ใช้ยามฉุกเฉินเมื่่อพลังงานไม่พอครับ.

……………………………………………

……………………………………………..

หลักการทำงาน

การทำงานไม่ต่างจากเครื่องปั่นไฟทั่วๆไป แต่เครื่องนี้จะใช้มอเตอร์ทำหน้าที่เป็นไดสตาร์ทและปั่นไฟกลับออกมาใช้งานครับ ลักษณะเด่นของมอเตอร์BLDCนี้ จะใช้แม่เหล็กถาวรความเข้มสูงตัดผ่านขดลวดที่พันเป็นแบบ3เฟสมีมุมหมุนสลับกันที่60องศาหรือ120องศา ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ากระแสสลับออกมาครับ ในเครื่องนี้ออกแบบใช้ไฟที่72โวลท์เพื่อปรจุแบตขนาด72โวลท์สำหรับรถไฟฟ้าครับ

ไฟที่ป้อนเข้าตอนสตาร์ทเป็นไฟDC 72โวลท์ โดยผ่านชุดควบคุมภายในเป็นชุดขับมอเตอร์และควบคุมความเร็วรอบของเครื่องยนต์ทำให้ไฟที่ออกมาคงที่ครับ.

…………………………………………………

…………………………………………………

จากภาพข้างบนจะเห็นมอเฟสขับมอเตอร์อยู่3ชุด คือชุดสายสีเหลือง สีเขียวและสีฟ้า และสายของมอเตอร์ยังต่อเข้ากับไดโอดบริดแบบสามเฟสแปลงไฟกลับออกมาเป็นไฟดีซี72โวลท์ครับ.

………………………………………………..

………………………………………………..

จากภาพข้างบนจะเห็นบริดไดโอดขนาดใหญ่แปลงไฟกลับออกมาเป็นไฟดีซีครับ

……………………………………………….

……………………………………………..

การควบคุมความเร็วของเครื่องยนต์ใช้มอเตอร์ขนาดเล็กปิดและเปิดวาวที่คาบูเรเตอร์เพื่อเร่งหรือลดรอบเครื่องยนต์ให้ไฟออกมาคงที่โดยใช้ชุดควบคุมและตรวจสอบแรงดันที่อยู่ในชุดขับมอเตอร์ครับ.

………………………………………………

………………………………………………

นับว่าเป็นไอเดียที่น่าสนใจนะครับ เนื่องจากเป็นเครื่องยนต์ขนาดเล็กและเสียงเงียบหากนำมาใสในรถไฟฟ้าขนาดเล็กเพื่อประจุแบตฉุกเฉินคงเป็นความคิดที่ดีอีกทางหนึ่งครับ.

สำหรับชาวโซล่าเซลเราอาจใช้แนวความคิดนี้ดัดแปลงเครื่องปั่นไฟที่เรามีอยู่หรือซื้อเครื่องปั่นไฟราคาถูกมาพันลวดใหม่ให้แรงดันที่ออกมาเพียงพอที่จะประจุแบต 12โวลท์หรือ 24โวลท์ โดยไม่ต้องผ่านหม้อแปลงให้มีการสูญเสียพลังงานเพิ่มขึ้นเอาไว้ใช้ยามฉุกเฉินเช่นหน้าฝนหรือต้องการใช้ไฟมากในการก่อสร้าง ซึ่งเราไม่ต้องไปยุ่งในระบบเดิมเพียงแต่เรารักษาแรงดันและกระแสในแบตให้คงที่ก็พอแล้วครับ.

หากมีเวลาในโอกาศต่อไปช่างโหน่งจะทำขึ้นมาทดลองใช้งานเพื่อเป็นแนวทางและความรู้สำหรับชาวบ้านต่อไปครับ.

ระบบกริดกรูโปรดระวังไฟฟ้ารั่วไปที่แผง

ใช้ระบบกริดกรูโปรดระวังไฟฟ้ารั่วไปที่แผง

การต่อไฟฟ้าไปใช้ร่วมกันกับแผง มีข้อดีตรงที่เป็นไฟดีซีด้วยกันใช้เชื่อมต่อกันได้เพียงให้ขั่วตรงกันก็เข้ากันได้ครับ เมื่อไฟจากแผงไม่พอไฟฟ้าก็จะเข้ามาแทน ซึ่งระบบก็ไม่ยุ่งยากเพียงใช้ไดโอดเป็นตัวขั่นกลาง ป้องกันไม่ให้ไฟไหลย้อนกลับไปยังแหล่งจ่ายไฟอื่นๆ แต่ข้อเสียคือ ไฟฟ้าที่ผ่านไดโอดถึงแม้จะออกเป็นไฟดีซีแต่หากเราไปจับหรือแผงโซล่าเซลรั่ว เช่นแผงรุ่นน้ำท่วมจะทำให้เกิดอันตรายจากไฟฟ้าดูดได้ครับ ดังนั้นหากใช้ระบบนี้ควรติดตั้งคัทเอ้ากันไฟฟ้าดูดด้วยครับ หลายท่านมือใหม่อาจยังไม่รู้อาจเกิดอันตรายกับท่านหรือครอบครัวท่านได้ครับ.

…………………………………………………

…………………………………………………

ด้วยความปารถนาดีจากช่างบ้านนอกครับ.

ผ่าแอร์อินเวอร์เตอร์ไดกิ้น

ผ่าแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์ ไดกิ้น ตอนที่1

แอร์หรือเครื่องปรับอากาศมีบทบาทในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้แล้ว เพราะความร้อนของโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งใช้แอร์ลมร้อนที่ออกมาภายนอกก็ยิ่งทำให้บริเวณนั้นร้อนกว่าปรกติ เพราะฉะนั้นบริษัทที่ผลิตแอร์ขายจึงต้องพัฒนาเพื่อช่วยกันลดความร้อนของโลกลงในขณะที่เปิดแอร์ ไม่ว่าจะเกี่ยวกันน้ำยาหรือสารทำความเย็นของแอร์ หรือระบบการทำงานของแอร์ ซึ่งช่างโหน่งเห็นว่ามีประโยชน์และอยากเปลี่ยนความคิดกับท่านที่คิดว่าแอร์ระบบนี้เสียง่ายและซ่อมยากครับ.

ทำไมต้องผ่าแอร์รุ่นนี้(วะ)

แอร์รุ่นอื่นก็มีมากมายทำไมต้องเอารุ่นนี้หรือได้เงินจ้างมาให้เขียน เหตุผลครับเดิมมีลูกค้าให้ติดตั้งแอร์รุ่นนี้กับระบบโซล่าเซลซึ่งเราจำเป็นต้องศึกษาว่าจะใช้งานอย่างไรกับโซล่าเซล หากเขาเอารุ่นอื่นยี่ห้ออื่นมาให้ก็คงว่าไปตามนั้นครับ โดยส่วนตัวก็ไม่ได้เชียร์ใคร เมื่อได้มาแล้วก็ต้องศึกษาระบบให้เข้าใจ เมื่อทำงานร่วมกับโซล่าเซลแล้วจะทำงานได้มีประสิทธิ์ภาพยิ่งขึ้นครับ.

ระบบการทำงานในแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์

ระบบอินเวอร์เตอร์คืออะไรครับ ระบบอินเวอร์เตอร์อธิบายแบบช่างบ้านนอกเข้าใจง่ายๆก็คือเป็นระบบจัดการการทำงานของแอร์ทั้งระบบการทำงานทั้งหมดมีเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปรไปได้ตามสถาณะการณ์ต่างๆไม่จำกัดเหมือนแอร์ธรรมดาครับ กล่าวคือตั้งแต่ระบบภายในห้องจนถึงนอกห้องการทำงานจะสัมพันธ์กันทั้งหมด เพราะฉะนั้นการควบคุมหรือสมองกลมีทั้งในห้องและนอกห้องครับ ด้วยเหตุนี้หากเสียหายมาช่างบ้านนอกอย่างเราคงซ่อมไมได้จึงไม่แนะนำให้ติดตั้ง แต่สำหรับช่างบ้านนอกอย่างช่างโหน่งหากอยากรู้ก็ต้องรู้ให้ได้ครับพังเป็นพังจนเมียหนีไปหลายคนแล้วครับ(555)เพราะรื้ออย่างเดียวจนบ้านไม่มีที่เก็บรกรุ่งรังประสาช่าง แต่จัยมันรักก็ต้องลุยครับ.

ระบบการทำงานภายในห้อง

คอล์ยเย็นเป็นภาษาชาวบ้านเรียกกัน คือส่วนที่ทำให้ลมเย็นพัดออกมาและนำอากาศร้อนภายในห้องดูดมาผ่านคอล์ยเย็นนำความเย็นออกไปหมุนเวียนกันอยู่อย่างนี้จนกว่าเงื่อนไขที่ตั้งไว้คืออุณหภูมิของห้องได้ตามต้องการ เช่นที่21องศา ระบบก็จะหยุดการทำงานผลิตความเย็น ข้อแตกต่างกับระบบเก่าคือเมื่อความเย็นได้ตามต้องการคอมเพรสเซอร์ภายนอกห้องจะหยุดการทำงานทั้งหมดและจะเริ่มใหม่เมื่อภายในห้องสั่งงานมา เมื่อเริ่มทำงานใหม่คอมเพรสทำงานที่กำลังงานเท่าเดิมแต่อาจทำไม่นานเพราะความเย็นภายในห้องมีบ้างแล้ว แต่ตอนที่เริ่มทำงานจะกินไฟมากทุกครั้งครับ.

ส่วนการทำงานของระบบอินเวอร์เตอร์ตามที่กล่าวข้างต้นระบบจะทำงานตามเงื่อนไขต่างๆเช่นเมื่อเราตั้งไว้ที่21องศาเมื่อความเย็นภายในห้องได้แล้วจะสั่งงานไปยังภายนอกห้องชุดคอล์ยร้อนหรือคอมเพรสเซอร์ก็จะชะลอการทำงานเพื่อรอรับคำสั่งต่อไปซึ่งแตกต่างกับแอร์ระบบเก่าจะหยุดการทำงานทั้งหมดครับ

ระบบการทำงานภายนอกห้อง

เมื่อภายในห้องสั่งให้ชะลอการทำงานในระหว่างนี้ภายนอกห้องหรือส่วนของคอมเพรสเซอร์จะบริหารงานของตัวเองไประหว่างรอรับคำสั่ง

1.ปรับความดันน้ำยาภายในคอมเพรสเซอร์โดยคอมจะทำงานแต่รอบไม่สูงอัดฉีดสารทำความเย็นเข้าไปเรื่อยๆแต่ไม่มากจึงทำให้มีความเย็นสม่ำเสมอ หากความร้อนในห้องเพิ่มขึ้นมากคอมเพรสเซอร์ก็จะอัดฉีดสารทำความเย็นมากขึ้นครับ ซึ่งคอมเพรสเซอร์สำหรับนี้จะเป็นคอมเพรสเซอร์แบบ 3เฟส สามารถปรับความเร็วได้เช่นกันครับ.

………………………………………………

………………………………………………..

2.ปรับความดันน้ำยาโดยใช้วาวแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือฝรั่งเรียกว่า Electronic Expansion Valve อิเล็กทรอนิกส์ เอ็กแพนชั่น วาว ซึ่งวาวตัวนี้จะทำหน้าที่จ่ายน้ำยาแอร์อย่างเหมาะสมกับการทำงานของคอมเพรสเซอร์และตัวฉีดน้ำยาให้มีสถานะเป็นไอที่อยู่ในคอล์ยเย็น ให้น้ำยาไหลเวียนคงที่ไม่มากและไม่น้อยเกินไป การทำงานของคอมเพรสเซอร์ก็ไม่หนักจึงทำให้ประหยัดไฟครับ.

……………………………………………..

……………………………………………..

3.ตรวจความร้อนของแผงระบายความร้อนพัดลมที่เป่าคอล์ยร้อนตามปรกติระบบเก่าจะหมุนที่รอบเท่าเดิมกินไฟเท่าเดิม แต่ระบบอินเวอร์เตอร์จะตรวจสอบความร้อนหากร้อนมากก็จะหมุนเร็วหากร้อนน้อยก็จะหมุนช้าจึงทำให้กินไฟน้อยครับ ซึ่งพัดลมสำหรับคอล์ยร้อนเป็นมอเตอร์แบบแม่เหล็กไม่มีแปลงถ่านหรือเรียกย่อว่าBLDC(Brushless DC mortor)การทำงานจะปรับความเร็วรอบได้ตลอดครับ.

……………………………………………

……………………………………………

4.ตรวจสอบความร้อนนอกห้อง ปรกติแอร์ระบบเก่าไม่มีการตรวจสอบความร้อนนอกห้องจะร้อนมากหรือน้อยกูทำงานอย่างเดียว ส่วนระบบอินเวอร์เตอร์จะมีเงื่อนไขต่างๆเข้ามาสัมพันธ์กันมากมายจนช่างปวดหัว การตรวจสอบอุณหภูมินอกห้องเพื่อเป็นข้อเปรียบเทียบเพื่อการทำงานของพัดลมคอล์ยร้อนทำงานถูกต้องอย่างแม่นยำบางครั้งคอล์ยร้อนความร้อนไม่มากพัดลมจึงไม่จำเป็นต้องทำงาน คืออากาศข้างนอกอาจะร้อนมึงก็ร้อนไป แต่คอล์ยร้อนกูไม่ร้อนพัดลมก็ไม่ทำงานหรือทำงานน้อยลง(อย่ามาหลอกกันเสียให้ยากเฟ้ย..) แต่ถ้าระบบเสียมาช่างปวดหัวแน่ๆ

…………………………………………..

…………………………………………..

5.ตรวจอุณหภูมิความร้อนสถานะของน้ำยาแอร์ ที่ออกจากคอมเพรสเซอร์ก่อนเข้าคอลย์ร้อนเพื่ออัดฉีดจากคอมเพรสเซอร์สถานะแก๊สแรงดันสูงไปยังคอล์ยร้อนระบายความร้อนและให้เปลี่ยนสถานะแก๊สเป็นของเหลวแรงดันต่ำผ่านตัวฉีดหรือเรียกว่าแค๊ปทิ้วในคอยเย็นในห้อง พัดลมในคอล์ยเย็นก็พัดเอาความเย็นออกไปและหมุนเวียนเอาความร้อนในห้องเข้ามาครับ.

…………………………………………..

…………………………………………..

การทำงานของแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์นอกห้อง(ชุดคอมเพรสเซอร์)

แอร์ระบบอินเวอร์เตอร์นี้จำเป็นต้องใช้สมองกลมาควบคุมดังนั้นต้องมีวงจรอิเล็กทรอนิกส์มาเกี่ยวข้องครับ ช่างแอร์ที่ไม่มีความชำนาญไม่ศึกษาเพิ่มเติมในอนาคตก็จะลำบากครับ แต่อย่างไรก็ตามแต่ละยี่ห้อเขามีตรางโค๊ด (Error Code)ซึ่งเมื่อการทำงานของแอร์ขัดข้องก็จะแสดงผลที่แผ่นวงจรควบคุมอาจจะแสดงด้วยตัวเลขหรือการกระพริบของไฟ ทำให้ช่างพอที่จะรู้บริเวณที่เสียได้โดยง่าย หรือสอบถามบริษัทเกี่ยวกับอาการได้ง่ายขึ้นครับ.

………………………………………..

……………………………………….

ตามรูปแผงวงจรก็ไม่ต่างจากวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ประกอบด้วยหน่วยประมวลผลกลาง(CPU)ภาคตรวจสอบ ภาคขับมอเตอร์ ภาคจ่ายไฟ ซึ่งหากเราแบ่งการศึกษาออกเป็นส่วนๆแล้วจะเข้าในการทำงานมากขึ้นครับ และเมื่อเกิดปัญหามาเรารู้จุดที่จะต้องตรวจซ่อมครับ ไม่ใช่เอะอะ อะไรก็เปลี่ยนเปลี่ยนบอร์ด เปลี่ยนอย่างเดียวเบิกเงินลูกค้าไปแทบจะซื้อแอร์ใหม่ได้ก็มีครับ บางรายซ่อมไม่ได้ก็ทิ้งงานไปก็มีครับ.

ส่วนที่ 1 ตามรูปเป็นหัวใจสำคัญในการสั่งการต่างให้คอมเพรสเซอร์ทำงานหรือพัดลมทำงานหรือวาวปิดเปิดน้ำยา และยังรับข้อมูลทั้งจากในห้องจากตัวเซ็นเซอร์ตรวจสอบต่างๆมาประมวลผลไว้ที่นี่ครับ โดยปรกติเสียยากถ้าไม่ถูกฟ้าผ่าและบนแผ่นวงจรยังเคลือบเรซินกันความชื้นและละอองน้ำไว้อีกครับ.

ส่วนที่ 2 ตามรูปเป็นไอซีสำหรับขับพัดลมคอล์ยร้อนครับ หากพัดลมไม่หมุนก็ตรวจสอบสัญญาณที่นี่ครับ

ส่วนที่ 3 ตามรูปเป็นโมดูลขับคอมเพรสเซอร์ ซึ่งเป็นมอเตอร์แบบ 3 เฟสครับ สามารถปรับความเร็วได้คอมเพรสเซอร์ทำงานตลอดแต่ไม่กินไฟมากครับเพราะเดินอัดน้ำยาไปเรื่อยๆ

ส่วนที่ 4 ตามรูปเป็นส่วนของการแปลงไฟจากไฟฟ้าในบ้านให้เป็นไฟกระแสตรงแบบแบตเตอรรี่ แรงดันที่ได้อยู่ประมาณ300-350โวลท์ครับ จากการที่แอร์ทำงานด้วยไฟดีซีแรงดันสูงหากนำมาใช้กับโซล่าเซลโดยตรงก็จะกินกระแสน้อยลง ซึ่งช่างบ้านนอกต้องทดลองต่อไปครับ.

……………………………………………

…………………………………………..

ในภาคจ่ายไฟนี้จะมีหม้อแปลงขดเดียวทำหน้าที่เป็นโช๊คเหนี่ยวนำไฟฟ้าให้เกิดความยืดหยุ่นการกระชากของไฟไฟตกไฟเกินเป็นการป้องกันแบบง่ายๆไม่ซับซ้อนครับ.

ส่วนที่ 5 ตามรูปเป็นส่วนป้องกันจากฟ้าผ่าและคลื่นรบกวนที่จะเข้ามาจากไฟฟ้าครับเราต่อไฟ220โวลท์เข้าที่นี่โดยตรง

ส่วนที่ 6 ตามรูปเป็นส่วนสื่อสารกันระหว่างภายในห้องกับภายนอกห้องโดยภายสายไฟฟ้าที่เดินเข้าหากันใช้สายไฟเพียงเส้นเดียวครับ การเชื่อมต่อสายไฟต้องระมัดระวังห้ามผิดเด็ดขาด

…………………………………………………………………………..

………………………………………………………………………………..

แผนผังวงจรไฟฟ้าแสดงการต่อสายไฟไปยังจุดต่างๆ

การทำงานของระบบโดยทั่วไป

เมื่อเราจ่ายไฟเข้าเครื่องพัดลมคอล์ยเย็นจะทำงาน ตรวจสอบระบบต่างได้ด้วยรีโมทซึ่งรีโมทนี้มีความสำคัญมากหากชำรุดไปการสั่งงานบางอย่างอาจทำไม่ได้ครับ เมื่อเวลาผ่านไป3-5นาทีพัดลมคอล์ยร้อนก็ค่อยหมุนและแรงขึ้น ความเย็นในห้องค่อยๆเย็นขึ้นตามลำดับครับ

สำหรับการกินกระแสไฟแอร์รุ่นนี้เท่าที่ทดลองมามี 2 ขนาดคือ 9800 Btu จะกินเต็มที่ที่ 3 แอมป์ และขนาด 12000ฺ Btu จะกินไฟเต็มที่ ที่ 7 แอมป์ครับ หลังจากความเย็นในห้องมีมากขึ้นการกินไฟก็จะลดลง ในตอนกลางคืนเหลือไม่ถึง 1 แอมป์ครับ ซึ่งประหยัดไฟมาก

เนื่องจากช่างโหน่งไม่ใช่ช่างแอร์ไม่มีความรู้ด้านแอร์มาก่อนอาศัยการทดลองเท่านั้นครับ หากในบทความผิดพลาดตามหลักวิชาการไปก็ต้องขออภัยท่านผู้รู้ด้วยครับ คงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับมือใหม่พอคำทางได้โดยไม่เสียเวลามากครับ.

ในตอนต่อไปจะอธิบายระบบในห้องคอล์ยเย็นและการใช้งานร่วมกับโซล่าเซลระบบไฮบริดครับ